Digiqole ad

ค่าไฟถูกหน่วยละ 3 บาทต้นๆ เป็นไปได้ ถ้าหยุดสร้างหนี้-แก้ปัญหาที่โครงสร้าง รัฐบาลทำได้ทันที แต่เมื่อไรจะทำ?

 ค่าไฟถูกหน่วยละ 3 บาทต้นๆ เป็นไปได้ ถ้าหยุดสร้างหนี้-แก้ปัญหาที่โครงสร้าง รัฐบาลทำได้ทันที แต่เมื่อไรจะทำ?
Social sharing

Digiqole ad
เห็นจะจริงที่ว่าค่าไฟ ‘ลดหน้าหนาว ขึ้นหน้าร้อน’ หลังคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติเมื่อ 29 พ.ย. เห็นชอบให้ปรับค่าเอฟที สำหรับงวดเดือน ม.ค. – เม.ย. 2567 เพิ่มขึ้นเป็น 69.07 สตางค์ต่อหน่วย จะทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวมพุ่งจาก 3.99 บาทต่อหน่วย ไปอยู่ที่ 4.68 บาทต่อหน่วย
.
ทั้งที่เมื่อ 9 พ.ย. ที่ผ่านมา เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เพิ่งแถลงผลงาน 60 วันของรัฐบาล บอกว่าทันทีที่เป็นรัฐบาล ลดค่าไฟได้ 46 สตางค์ต่อหน่วย แต่ถ้ามกราคมปีหน้า ค่าไฟขึ้นตามมติ กกพ. ที่ 69 สตางค์ต่อหน่วย นั่นเท่ากับค่าไฟจะขึ้น มากกว่าที่รัฐบาลเคยประกาศลดเสียอีก
.
หลายคนเกิดคำถามตามมา ว่าทำไมอยู่ดีๆ ค่าไฟถึงขึ้นไปอย่างก้าวกระโดดขนาดนี้ ทั้งที่จริงแล้ว ต้นทุนค่าไฟของต้นปีหน้าอยู่ที่แค่ 4.04 บาท เท่านั้น ส่วนเกิน 64 สตางค์มาจากไหน?? 🧐
Supachot Chaiyasat – ศุภโชติ ไชยสัจ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อธิบายเรื่องนี้ในการแถลง Policy Watch ว่าต้องย้อนกลับไปถึงมาตรการที่รัฐบาลในอดีตเคยใช้ในการลดค่าไฟ ซึ่งวิธีหลักๆ คือให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้แบกภาระต้นทุนค่าไฟฟ้าไว้ก่อน รัฐบาลเศรษฐาก็ใช้วิธีเดียวกัน ทำให้ปัจจุบันภาระหนี้ที่ กฟผ. แบกไว้มีมูลค่าสูงถึง 95,777 ล้านบาท!!
.
ทาง กฟผ. ก็เองแสดงความกังวลต่อมติที่ให้ยืดหนี้ก้อนนี้ออกไป เพราะย่อมสร้างต้นทุนให้ กฟผ. อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ขาดสภาพคล่อง กระทบต่อความน่าเชื่อถือในการชำระหนี้ ส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ย ต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อค่าไฟในอนาคตของประชาชนแน่นอน
.
แต่รัฐบาลหรือ กฟผ. เองเลือกที่จะขึ้นค่าไฟของประชาชน เพื่อเอาเงินมาจ่ายหนี้ก้อนที่แบกอยู่ พูดง่ายๆ คือ กฟผ. มีหน้าที่แบกหนี้ไว้ชั่วคราวเท่านั้น รอการเก็บเงินจากประชาชนมาจ่ายหนี้ทีหลัง 😓
.
มีการคำนวณว่าหากจะต้องใช้หนี้ก้อนนี้ รัฐบาลจะทำได้อย่างไร ไม่กี่วันก่อนหน้าที่จะประกาศอัตรา 4.68 บาทต่อหน่วย ทาง กกพ. ประกาศรับฟังความคิดเห็นเรื่องค่าไฟ สำหรับเดือน ม.ค. 2567 โดยแบ่งเป็น 3 กรณี
.
📍กรณีที่ 1 ถ้าต้องการให้ กฟผ. ชำระหนี้ที่แบกอยู่ภายใน 4 เดือน ค่าไฟที่ควรเป็นจะสูงถึง 5.95 บาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้นกว่า 50% จากระดับ 3.99 บาทต่อหน่วยในปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นกรณีที่เลวร้ายที่สุด
📍กรณีที่ 2 คือให้ กฟผ. จ่ายคืนภาระหนี้ภายใน 1 ปี ค่าไฟเพิ่มขึ้นเป็น 4.93 บาทต่อหน่วย
📍กรณีที่ 3 อนุญาตให้ กฟผ. ยืดระยะเวลาการจ่ายหนี้ออกไปเป็น 2 ปี ค่าไฟจะอยู่ที่ 4.68 บาทต่อหน่วย
จึงถือว่าโชคดีที่ทาง กกพ. มีมติเลือกกรณีที่ 3 ที่กระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด แต่จะเห็นได้ว่ามาตรการการยืดหนี้ที่รัฐบาลใช้นั้น หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องขึ้นค่าไฟของพี่น้องประชาชนอย่างก้าวกระโดดในทีเดียวเมื่อหมดโปรโมชัน
.
ทั้งนี้ อัตราที่เคาะกันออกมา 4.68 บาทต่อหน่วย จัดอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก นายกฯ เศรษฐาก็เพิ่งมีท่าทีขึงขังต้องการลดค่าไฟให้ต่ำกว่านี้ แต่ก็ต้องถามกลับไปที่นายกฯ เองว่าจะทำอย่างไร เพราะหากใช้มาตรการแบกหนี้ยืดหนี้แบบเดิมอีก ก้อนหนี้ที่สุดท้ายประชาชนต้องจ่ายก็จะใหญ่ขึ้นอีก
.
😯 มีการคำนวณว่า หากตรึงค่าไฟในช่วงเดือน ม.ค.-เม.ย. 2567 ไว้เท่าเดิมที่ 3.99 บาท มูลค่าหนี้จะเพิ่มสูงขึ้นไปถึง 140,000 ล้านบาท และสุดท้ายเมื่อหมดโปรโมชัน เราอาจจะเห็นประชาชนต้องจ่ายค่าไฟ 6 บาทต่อหน่วยก็เป็นได้😲
.
มาถึงตรงนี้ อาจเกิดคำถามว่าก้าวไกลตั้งข้อสังเกตเยอะแยะ แล้วก้าวไกลมีข้อเสนออะไร?
.
ข้อเสนอของเรา “หยุดสร้างหนี้ แก้ที่โครงสร้าง วางแผนอนาคต” ด้วยการ (1) ปรับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ (2) แก้ไขสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (3) หยุดเซ็นสัญญาโรงไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น
.
ศุภโชติมั่นใจว่า หากรัฐบาลนำไปศึกษาต่อและทำอย่างจริงจัง เราอาจได้เห็นค่าไฟที่สะท้อนความเป็นจริงและเป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่อัตรา 3 บาทต้นๆ ต่อหน่วย ก็เป็นได้
.
อ่านต่อ! ข้อเสนอแบบละเอียดๆ ของศุภโชติและพรรคก้าวไกลจากแต่ละภาพ⚡
ที่มา : เพจพรรคก้าวไกล
Facebook Comments


Social sharing

Related post