Digiqole ad

ความสำเร็จมีให้คนที่ไม่หยุดนิ่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. จับมือบจก.กสิกร แล็บส์ ลุยสร้างบัณฑิตคุณภาพส่งต่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ต่อยอดโครงการ K-Engineering WiL for WIN

 ความสำเร็จมีให้คนที่ไม่หยุดนิ่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. จับมือบจก.กสิกร แล็บส์  ลุยสร้างบัณฑิตคุณภาพส่งต่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ต่อยอดโครงการ K-Engineering WiL for WIN
Social sharing

Digiqole ad

ความสำเร็จมีให้คนี่ไม่หยุดนิ่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. จับมือบจก.กสิกร แล็บส์  ลุยสร้างบัณฑิตคุณภาพส่งต่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ต่อยอดโครงการ K-Engineering WiL for WIN

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล)โดยรองศาสตราจารย์ ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นตัวแทนในการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับนายเรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ในนามบริษัท กสิกร แล็บส์ จำกัด เพื่อร่วมสร้างบัณฑิตใหม่และกำลังคนที่มีศักยภาพสูงบูรณาการความร่วมมือในการจัดการศึกษาร่วมกัน นอกจากนั้นแล้วยังมีการลงบันทึกข้อตกลงความร่วมมือต่อยอด โครงการหลักสูตร KMITL School of Engineering Work-integrated Learning (WiL) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล., ศาสตราจารย์ ดร.อุมา สีบุญเรือง รองคณบดีอาวุโสฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล., ดร.ทัดพงศ์ พงษ์ถาวรกมล Managing Director KBTG Labs และดร.เจริญชัย บวรธรรมรัตน์ Senior Principal Visionary Architech บริษัท กสิกร แล็บส์ จำกัด ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ด้วย

รศ ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า “สจล. มีนโยบายการศึกษาแบบเรียนรู้ทฤษฎีและเน้นการลงมือปฏิบัติจริง เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางด้านการศึกษาตามนโยบาย Global Learning และ Global Citizen ที่ให้ทุกคณะและวิทยาลัยผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะและศักยภาพสูง ตอบโจทย์ความต้องการของสถานประกอบการและผู้ใช้บัณฑิต โครงการ K-Engineering WiL เป็นหนึ่งในการ disrupt ทางการศึกษาและมุ่งสู่ความเป็น Global and Practical Engineer อย่างแท้จริง ซึ่งความร่วมมือกับกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ในนามบริษัท กสิกร แล็ปส์ จำกัด องค์กรด้านเทคโนโลยีในเครือธนาคารกสิกรไทย จึงเป็นการร่วมมือเพื่อเชื่อมโยงภาคการศึกษากับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน พัฒนาจัดระบบการจัดการเรียนรู้สู่ทักษะการทำงานจริงเพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน นับเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุและเปิดโอกาสในการที่จะพัฒนาการเรียนรู้ชีวิตทางด้านอาชีพที่มาจากประสบการณ์การปฏิบัติงานจริงก่อนสำเร็จการศึกษา เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตต่อไป

รองศาสตราจารย์ ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า “จากเจตนารมณ์ที่สอดคล้องกับพันธกิจของกลุ่ม บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) สู่ความร่วมมือผ่านโครงการ K-Engineering Work-integrated Learning (WiL)และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่รุดหน้าแบบก้าวกระโดด  คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. มีความพร้อมในการพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนให้ทันต่อสถานการณ์โลก ตามแนวนโยบายการเรียนการสอน แบบ The Land of Skills and Opportunities พัฒนาศักยภาพของนักศึกษาทางด้านความรู้และทักษะในการนำไปประกอบวิชาชีพได้ มีการส่งเสริม Multi-skills ทั้ง Hard skills และ Soft skills

โครงการ K-Engineering Work-integrated Learning (WiL)” เป็นการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการ ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ควบคู่กับการทำงานในสถานประกอบการ เพื่อยกระดับคุณภาพและศักยภาพนักศึกษาของสถาบันฯ ให้มีความรู้ความสามารถ รวมถึงทักษะต่างๆ ที่จำเป็นในการทำงาน นักศึกษาที่เข้าร่วมในโครงการนี้ จะได้เรียนรู้พร้อมกับทำงานจริงกับบริษัท ได้รับทราบและแก้ปัญหาจริงจากหน้างานเพื่อนำมาสะสมความรู้และพัฒนาทักษะ ลักษณะการเรียนการสอนของ K-Engineering WiL จะผสมผสานรูปแบบต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาได้ทำงานจริงเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี โดยสถานประกอบการจะสนับสนุนทรัพยากรบุคคลเป็นผู้ให้ความรู้ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติกับนักเรียน และเป็นวัดประเมินผลร่วมกับอาจารย์ของ สจล. และด้านค่าตอบแทนสวัสดิการต่างๆ โดยหลักสูตรนำร่องภายใต้โครงการนี้ประกอบไปด้วย หลักสูตรวิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ และหลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์”

รองศาสตราจารย์ ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล ยังกล่าวอีกว่า “ความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. และ บริษัท กสิกร แล็ปส์ จำกัด ในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือที่ช่วยกันผลักดันให้เกิดการผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มีความพร้อมส่งต่อภาคอุตสาหกรรม นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประทศ

สำหรับผู้ที่สนใจหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ งานวิชาการปริญญาตรีคณะวิศวกรรมศาสตร์  

โทร. 02-329-8301 ต่อ 201 หรือ 082-986-1356, 084-143-5693, 063-902-7127

Facebook – Undergraduate Academic Affairs, KMITL

E-mail: ug_eng@kmitl.ac.th

หรือ

ศูนย์พัฒนศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. (K-Engineering Extension School)

โทร. 02-329-8301 ต่อ 211

Facebook: kees1330

E-mail: kees_eng@kmitl.ac.th

Line official: @kees.eng

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post