Digiqole ad

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน

 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน
Social sharing
Digiqole ad

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน
ของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล
ผู้วิจัย นางรุณี ห่อทอง
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยนกแล
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล และวัตถุประสงค์เฉพาะ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและแนวการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล ประกอบด้วย 3 ขั้นย่อยดังนี้ ขั้นที่ 1.1 การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแลโดยการสังเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นที่ 1.2 การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแลโดยการศึกษาโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นที่ 1.3 การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแลโดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 2.1 การยกร่างรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล ขั้นที่ 2.2 การตรวจสอบรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแลกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านห้วยนกแล จำนวน 26 คน ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2563 ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล แหล่งข้อมูล ได้แก่ งานวิชาการของโรงเรียนบ้านห้วยนกแลเพื่อรวบรวมคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากงานวิชาการในปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบบันทึกร้อยละของการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล พบว่า ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2) ปัจจัยการบริหาร 3) กระบวนการบริหาร และ 4) ผลลัพธ์ และแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้ของแต่ละองค์ประกอบ
2. รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 2 ปัจจัยการบริหาร ประกอบด้วย 1)คณะกรรมการบริหาร 2) คุณลักษณะผู้บริหารและครูผู้สอน องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการบริหาร ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน ขั้นตอนที่ 2 การจัดองค์กร ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 4 การกำกับติดตาม ขั้นตอนที่ 5การปรับปรุงพัฒนา และองค์ประกอบที่ 4 ผลลัพธ์ ประกอบด้วย 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 2) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 3) ความพึงพอใจของครู ผลการตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล พบว่า ครูผู้สอนมีความเห็นว่าสามารถปฏิบัติตามรูปแบบได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล พบว่า ผลการเปรียบเทียบร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยนกแล ทุกกลุ่มสาระวิชา ในปีการศึกษา 2563 สูงกว่าในปีการศึกษา 2562 และผลการเปรียบเทียบร้อยละของผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยนกแล พบว่า ผลการเปรียบเทียบร้อยละของผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทุกข้อในปีการศึกษา 2563 สูงกว่าในปีการศึกษา 2562 ส่วนการประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการนำรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแลไปใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ

Facebook Comments

Related post