Digiqole ad

กองทุน ววน. โดย บพข. จับมือ รฟท. มรภ.ลำปาง เปิดเส้นทางรถไฟท่องเที่ยวสายเหนือส่วนขยาย มุ่งยกระดับและสร้างรายได้จังหวัดเมืองรอง

 กองทุน ววน. โดย บพข. จับมือ รฟท. มรภ.ลำปาง เปิดเส้นทางรถไฟท่องเที่ยวสายเหนือส่วนขยาย มุ่งยกระดับและสร้างรายได้จังหวัดเมืองรอง
Social sharing

Digiqole ad

กองทุน ววน. โดย บพ. จับมือ รฟท. มรภ.ลำปาง เปิดเส้นทางรถไฟท่องเที่ยวสายเหนือส่วนขยาย มุ่งยกระดับและสร้างรายได้จังหวัดเมืองรอง

เมื่อวันที่ 8-9 มิถุนายน 2566, กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) โดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานคณะกรรมส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จัดพิธีเปิดการเดินรถไฟท่องเที่ยวรอบปฐมฤกษ์เชิงพาณิชย์และการทดสอบสินค้า และบริการทางการท่องเที่ยว ตามแผนงานวิจัยการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บนเส้นทางรถไฟสายเหนือส่วนขยาย (เชียงใหม่ – ลำปาง ไปยังพิษณุโลก) ปี 2566 โดยรถไฟขบวนพิเศษ Lanna Modernization 954 ที่ได้นำเอาประวัติศาสตร์การสร้างรถไฟสายเหนือมาเป็นจุดเชื่อมโยงการจัดเส้นทาง เป็นการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยวอื่น ๆ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของการท่องเที่ยวแบบใหม่ โดยให้รถไฟเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเดินทางท่องเที่ยวที่ทำให้เกิดการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์และสร้างมูลค่าเพิ่ม เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วยการท่องเที่ยวรถไฟสายวัฒนธรรม ท่องเที่ยวธรรมชาติวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของท้องถิ่น

โอกาสนี้ ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว. และประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข. กล่าวว่า โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยรถไฟในครั้งนี้ นับเป็นการดำเนินการรถไฟท่องเที่ยวส่วนต่อขยายจากเส้นเดิมที่เชื่อมต่อระหว่าง จ.เชียงใหม่ – ลำพูน – ลำปาง เชื่อมต่อขยายมายัง จ.พิษณุโลก ซึ่งได้รับความร่วมมือจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และหน่วยงานภาคีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยทางมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางได้ดำเนินการวิจัยและออกแบบเส้นทางร่วมกับ รฟท. โดยในระยะแรก มีจำนวนทั้งหมด 4 โปรแกรมการท่องเที่ยว ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีมาก เนื่องด้วยตลอดเส้นทางนั้น เต็มไปด้วยเสน่ห์และความงดงามให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชมธรรมชาติตลอดทั้งเส้นทาง รวมทั้งการเสริฟอาหารทองถิ่นระหว่างโดยสารบนขบวนรถไฟ อีกด้วย

โดยทาง บพข. และ สกสว.หวังว่าจะเป็นการพัฒนาโครงการดังกล่าว ให้เป็นต้นแบบของการดำเนินงาน ที่ช่วยยกระดับอุสาหกรรมสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจในชุมชน พร้อมทั้งกระตุ้นและเพิ่มโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เดินทางไปยังจังหวัดเมืองรอง ให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยในพื้นที่ สร้างเม็ดเงินจากการท่องเที่ยว นำไปสู่การก่อเกิดรายได้แก่ชุมชนในอนาคตอย่างมั่นคง และยั่งยืน” ผศ.สุภาวดี กล่าวเสริม

นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่าทางการรถไฟมีความยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการเปิดเดินรถไฟท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอีกมิติหนึ่งของทางรถไฟ ที่นอกเหนือจากการขนส่งผู้โดยสาร และขนส่งสินค้าแล้ว ก็ยังเป็นการนำเที่ยวแบบครบวงจร เพื่อเพิ่มมูลการขนส่งทางรถไฟ กระตุ้นให้เกิดเศรษฐกิจขยายตัวของตามภูมิภาคที่ขบวนรถไฟนำเที่ยวผ่านพร้อมทั้งขอเชิญชวนประชาชนมาท่องเที่ยวในเส้นทางสายเหนือนี้ เพราะเป็นการท่องเที่ยวแบบครบวงจร รวมถึงเส้นทางท่องเที่ยวสายอีสานและสายใต้ ที่คาดว่าจะเปิดให้บริการในเร็ว ๆ นี้

ด้าน ผศ.ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์ หัวหน้าแผนงานวิจัย ดร.ปัณณทัต กัลยา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พร้อมทีมคณะนักวิจัย เปิดเผยว่า จากผลการดำเนินงานตามแผนโครงการวิจัยการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยรถไฟบนเส้นทางยุคสมัยแห่งล้านนา ที่ได้รับทุนวิจัยจาก บพข. ในปีงบประมาณ 2564 ที่มีการทดลองการเดินรถไฟท่องเที่ยวรอบปฐมฤกษ์ใน 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว สื่อมวลชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เป็นอย่างมาก เนื่องจากผลการทดลองเดินรถไฟส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของชุมชน และผู้ประกอบการในพื้นที่ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว

สำหรับการเชื่อมโยงธุรกิจในภาคเหนือแผนงานวิจัยนี้ ประกอบด้วย 2 โครงการย่อย ได้แก่ 1) โครงการการพัฒนารูปแบบเส้นทาง กิจกรรมและผลิตภัณฑ์บริการของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนเส้นทางรถไฟสายเหนือส่วนขยาย และ 2) โครงการการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนเส้นทางการท่องเที่ยวโดยรถไฟสายเหนือส่วนต่อขยาย ที่มุ่งเน้นการพัฒนารูปแบบการเชื่อมโยงเส้นทางส่วนขยาย และการพัฒนาโมเดลการบริหารจัดการเพื่อยกระดับและเชื่อมโยงเส้นทางส่วนขยายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยรถไฟสายเหนือ ด้วยรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ในลักษณะของการบูรณาการศาสตร์ทางวิชาการและการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภายนอก อาทิ การรถไฟแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก ผู้ประกอบการ ชุมชนในพื้นที่ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในด้านการท่องเที่ยว

โดยในวันแรก ขบวนรถไฟเริ่มออกจากสถานีรถไฟเชียงใหม่ มุ่งหน้าสู่สถานีรถไฟลำพูน เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้โดยสารรถรางเข้าชมเมืองลำพูน เข้าร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จับจ่ายใช้สอยผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก
จ.ลำพูน ก่อนจะออกเดินทางไปยัง “สะพานขาวทาชมภู” ที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญและเป็นเหมือนอนุสรณ์ของการสร้างทางรถไฟสายเหนือจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ “ปากอุโมงค์ถ้ำขุนตาล” ส่วนสำคัญของสายเหนือ ทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างเชียงใหม่และกรุงเทพฯ ก่อนออกเดินทางสู่สถานีรถไฟลำปาง สถานีปลายทางของกิจกรรมในวันแรก และเส้นทางในวันที่สอง เริ่มจากสถานีรถไฟลำปาง มุ่งหน้าไปยังสถานีรถไฟบ้านปิน และสถานีรถไฟปางต้นผึ้ง ให้นักท่องเที่ยวได้ชมของดีของที่ระลึกในชุมชน อาทิ ผ้ามัดย้อม ผลิตภัณฑ์ OTOP อาหารท้องถิ่น ก่อนออกเดินทางสู่จุดหมายปลายทางในครั้งนี้ ที่สถานีรถไฟพิษณุโลก

นอกจากนี้ ทางทีมคณะวิจัยได้เตรียมขยายผลไปในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งจะเป็นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โดยมีจุดเริ่มต้นที่หาดใหญ่ มุ่งเน้นในเส้นทางระหว่างอ่าวไทยสู่อันดามัน และเตรียมขยายผลในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งอยู่ระหว่างการวางแผนความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ โดยคาดว่าจะเป็นเส้นทางจาก จ.ขอนแก่น ไปสู่เวียงจันทน์ ก่อนจะเชื่อมต่อระหว่างภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคอีสาน เพื่อให้เป็น Gateway รถไฟการท่องเที่ยวสายยาวในอนาคต อีกด้วย

 

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post