Digiqole ad

กองทุนสื่อฯ เปิดผลการสื่อสารทางออนไลน์ของสังคมไทยตลอดปี 2566

 กองทุนสื่อฯ เปิดผลการสื่อสารทางออนไลน์ของสังคมไทยตลอดปี 2566
Social sharing

Digiqole ad

จากผลศึกษาการสื่อสารทางออนไลน์ของสังคมไทยตลอดปี 2566  กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์  เพื่อระดมบทวิเคราะห์และข้อเสนอจากผู้คร่ำหวอดในงานการวิเคราะห์ข้อมูล  ผู้บริหารแพลตฟอร์มยอดนิยม สื่อออนไลน์ที่เป็นที่รู้จัก นักขับเคลื่อนวาระทางสังคม และนักวิชาการจากโครงการ Thai Media Lab  หัวข้อ ทำอย่างไร ?  การสื่อสารออนไลน์จึงมีบทบาทในการขับเคลื่อนทางสังคม ภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ คุณกล้า ตั้งสุวรรณ  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด   คุณสุนิตย์ เชรษฐา  ผู้อำนวยการสถาบัน Change Fusion คุณอรพิณ ยิ่งยงพัฒนา  บรรณาธิการบริหารไทยรัฐออนไลน์ คุณชนิดา คล้ายพันธ์  หัวหน้าฝ่ายนโยบายสาธารณะ TikTok ประเทศไทย อาจารย์อภิสิทธิ์ ศุภกิจเจริญ   นักวิชาการกลุ่ม Thai Media Lab รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง   เข้าร่วมงาน  ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ๒ ชั้น ๕ โรงแรมเอส ๓๑ สุขุมวิท

ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวเปิดงานสัมมนา พร้อมนำเสนอว่าการสัมมนาวันนี้เป็นงานต่อเนื่องจากการศึกษาการสื่อสารทางออนไลน์ของสังคมไทยตลอดปี 2566 โดย Media Alert กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ Wisesight  โดยใช้เครื่องมือ ZocialEye สำรวจประเด็นที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม 2566 บน 5 แพลตฟอร์มออนไลน์ ได้แก่ Facebook, X, Instagram, YouTube และ TikTok เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการสื่อสาร และความสนใจใน Social ซึ่งจะเห็นได้ว่าการสื่อสารออนไลน์ในปัจจุบัน มีผู้ส่งสารเป็นจำนวนมาก ซึ่งด้วยผู้บริโภคข่าวสารมีโอกาสที่จะเป็นผู้ผลิตสื่อ หรือ ผู้ส่งสารเองได้ เช่นเดียวกันกับสื่อมวลชน Influencer องค์กรภาครัฐ และเอกชน ซึ่งงานการศึกษานี้ทำให้เห็นจุดเปลี่ยนของทิศทางการสื่อสารบนโลกออนไลน์ในประเทศไทย ที่ปัจจุบันคนไทยบริโภคสื่อออนไลน์วันละหลายชั่วโมง ที่มากกว่าสื่อโทรทัศน์ โดยกลุ่มผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียทั่วไปเป็นผู้สร้างปฏิสัมพันธ์ หรือ Engagement สูงสุด จึงน่าจะมีบทบาทที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ ของสังคม ไม่ว่าจะเป็นประเด็นการเมือง  สื่อ สิ่งบันเทิง  กีฬา เทศกาล และอื่นๆ

ในวันนี้วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้าน ข้อมูล แพลตฟอร์ม องค์กรสื่อ นักวิชาการ จะร่วมกันพูดคุยพร้อมวิเคราะห์ วิจารณ์ ทิศทางต่าง ๆ ของการสื่อสารบนโลกออนไลน์ เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนสื่อและสังคม อันเป็นเจตนารมณ์ของ Media Alert ซึ่งมุ่งสะท้อนปรากฎการณ์ในสังคม ผ่านการศึกษาวิจัยด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะประเด็นในวันนี้ที่เป็นการชี้ชวนให้เห็นว่าการสื่อสารออนไลน์จะมีบทบาทในการขับเคลื่อนสังคมอย่างไร รวมถึงทำอย่างไรให้พื้นที่ออนไลน์เป็นพื้นที่ปลอดภัย ที่เด็ก เยาวชน และกลุ่มผู้ด้อยโอกาสได้รับผลประโยชน์จากการสื่อสาร”

สำหรับผลการศึกษาเรื่อง “การสื่อสารออนไลน์ของสังคมไทยในปี 66” โดย Media Alert และ Wisesight พบว่า 10 ประเด็นการสื่อสารที่มียอด Engagement สูงสุดในโลกออนไลน์ในปี 66 เป็นประเด็นทางการเมืองมากถึง 9 ใน 10 อันดับ ในขณะที่ผลการการสำรวจประเด็นที่โลกออนไลน์มีการสื่อสารสร้าง Engagement สูงสุด 10 อันดับแรกในแต่ละเดือน จากเดือนมกราคม – ธันวาคม รวมทั้งหมด 120 ประเด็น  พบว่า เป็นเนื้อหาการเมือง 58.02% สื่อ สิ่งบันเทิง 28.68% เทศกาล 4.59% อาชญากรรม 4.03% กีฬา 1.57% เทคโนโลยี 1.07% การขับเคลื่อนทางสังคม 0.82% สัตว์ 0.57% สิ่งแวดล้อม 0.35% ศาสนา ความเชื่อ 0.16% คมนาคม 0.06% การศึกษา 0.04% และ แฟชั่น 0.04%

เมื่อพิจารณาแพลตฟอร์มพบว่า TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถสร้าง Engagement ได้มากที่สุด (50%) ตามด้วย Facebook (23%), X หรือ Twitter (13%), Instagram (11%) และ YouTube (3%) ในด้านผู้สื่อสาร พบว่า กลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป คือกลุ่มที่มีสัดส่วนในการสร้าง Engagement มากที่สุดถึง 50% หรือครึ่งหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ทั้งหมด  รองลงมาได้แก่ สื่อ สำนักข่าว (25%) ผู้มีอิทธิพลทางสื่อสังคมออนไลน์ (23%) ภาคการเมือง แบรนด์ และภาครัฐ (2%) ตามลำดับ

“กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เล็งเห็นถึงความสำคัญในการหาทางออก หาแนวทางเพื่อทำให้ประเด็นในการขับเคลื่อนสังคมเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เราเห็นความสำคัญของสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ การสื่อสารออนไลน์สามารถที่จะขับเคลื่อน สะท้อนนโยบายต่าง ๆ สามารถผลักดันการแก้ไขประเด็นต่าง ๆ ในสังคม ไม่ว่าจะเป็น ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ด้านมลภาวะ สุขภาพ ความเสี่ยงบนโลกออนไลน์  ทั้งนี้ ทีมงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ Media Alert จะรับข้อเสนอและโจทย์ในวันนี้ ไปผลักดันให้เกิดความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับต่าง ๆ เพื่อกระตุ้น และสนับสนุนให้เกิดเนื้อหาสื่อ ทั้งการสื่อสารที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยอาศัยชุดข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องจากหน่วยงานผ่านความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ ต่อไป

สำหรับงานสัมมนาประจำปี Media Alert “ทำอย่างไร? การสื่อสารออนไลน์จึงมีบทบาทในการขับเคลื่อนทางสังคม” จัดขึ้นเพื่อรับฟังความเห็น ข้อเสนอแนะจากวิทยากรทุกท่านต่อผลการศึกษาการสื่อสารทางออนไลน์ของสังคมไทยตลอดปี 2566 โดย Media Alert กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย)  ซึ่งกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จะนำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในวันนี้ ไปใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างนิเวศสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ และเพื่อให้การสื่อสารออนไลน์ มีบทบาทสำคัญในการสร้างพลเมืองเพื่อร่วมขับเคลื่อนทางสังคม

Facebook Comments


Social sharing

Related post