Digiqole ad

กรรมวาทีวัดสามพระยา

 กรรมวาทีวัดสามพระยา
Social sharing

Digiqole ad

มี2คำที่ต้องพูดถึง
กรรมวาที คำหนึ่ง”กรรมวาท”พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่31 ท่านให้ความหมายว่า ผู้ประกาศหลักกรรม ผู้ถือหลักกรรม เช่นยืนยันว่ากรรมคือการกระทำมี และมีผลจริง ว่าแต่ละคนมีกรรมเป็นของตน และเป็นไปตามกรรมนั้น ว่าการกระทำเป็นเครื่องตัดสิน ดี เลว สูง ทราม(ไม่ใช่ชาติกำเนิดตัดสิน) ว่าการกระทำเป็นเหตุปัจจัยให้สำเร็จ(ไม่ใช่อ้อนวอน ดลบรรดาลหรือแล้วแต่โชค);เป็นต้น;หลักแห่งกรรม,การถือหลักกรรม,;พระพุทธเจ้าตรัสเรียกพระองค์เอง(องฺติก20|577|369)ว่าทรงเป็นกรรมวาท(ถือหลักกฎแห่งการกระทำ’กิริยวาท( ถือหลักอันให้กระทำ) และวิริยวาท(ถือหลักความเพียร).…ฯ

ส่วนอีกคำ คือวัดสามพระยา จะหมายความเอาว่า ท่านอดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา พระพรหมดิลก(เอื้อ หาสธมฺโม ป.๙) ดำรงตำแหน่งเมื่อ2539-2561 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า คืนสมณศักดิ์ในพระราชทินนามเดิมและสมณศักดิ์เดิม ที่พระพรหมดิลิก เมื่อวันที่17มีนาคม2566 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ18มีนาคม2566
นับวันถูกถอดสมณศักดิ์ วันที่29 พฤษภาคม2561 ในข้อหาเงินทอนวัด จะย่างเข้า5ปี จึงได้รับพิสูจน์บริสุทธิจากศาล
เวลาขาดครองผ้าไตรและอัฐบริขารของท่านเจ้าคุณ กินเวลาน้อยกว่า การถูกถอดถอนสมศักดิ์พระพิมลธรรม(อาจ อาสโภ ป.๘) อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุ โดยมีพระธรรมปัญญาบดี(ฟื้น ชุตินฺธโร ป.๙) หรือสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา 2481-2539 เป็นประธานอำนวยการถอดจีวร จนอดีตเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุกทม.ต้องไปจำพรรษา ที่สันติปาลาราม5ปี ในข้อหาการเมืองและข้อหาเป็นหลัก
ทั้งเจ้าคุณพิมลธรรม และท่านเจ้าคุณพระพรหมดิลก มีศีลป้องกันตัวท่าน ที่สำคัญคือการไม่เปล่งวาจาลาสิกขา!

ถ้าท่านใดได้อ่านพระราชกฤษฎีกาคืนสมณศักดิ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา ว่า…”บัดนี้คดีถึงที่สุดแล้ว โดยพฤติการถือได้ว่า ไม่ใช่ความผิดอุกฉกรรจ์ หรือความผิดร้ายแรง หรือเป็นผู้ร้าย ประกอบกับไม่มีการกล่าวคำลาสิกขา และไม่มีการดำเนินการให้สละสมณเพศ ทั้งปรากฏข้อเท็จจริงว่า ระหว่างถูกคุมขัง ยังคงดำรงตนอย่างภิกษุตลอดระหว่างคุมขัง…ฯ

เชิญมาอ่านบางตอน คำพิพากษาศาลทหารกรุงเทพฯ กรณีพระพิมลธรรมว่า”…ตามที่ศาลได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงตามฟ้องและกล่าวหามาหลายข้อหลายประเด็น มีสาระบ้างไม่มีสารบ้าง…การจับกุมคุมขังจำเลยครั้งนี้ …พระธรรมโกศาจารย์ถึงกับกล่าวว่า”คิดได้อย่างเดียว เกิดขึ้นเพราะความอิจฉาริษยากันในวงการสงฆ์ หรือมิฉะนั้นก็เป็นกรรมเก่าของจำเลย เท่านั้นเอง…”

“…ดังนั้น ศาลจึงขอให้จำเลยระลึกว่า เป็นคราวเคราะห์หรือกรรมเก่าของจำเลยเอง หรือมิฉะนั้นก็เป็นการสร้างบาปกรรมของคนมีกิเลส มิใช่ความผิดของผู้ใด แต่เป็นความผิดของสังสารวัฏเอง ศาลนี้รู้สึกสลดใจและเห็นใจจำเลย แต่เชื่อว่าจำเลยซึ่งอบรมอยู่ในพระศาสนาามานาน คงซาบซึ้งดีในอุเบกขาญาณที่ว่า สัตว์ทั้งปวงมีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมใดไว้ดีหรือชั่วก็ตาม ก็จะเป็นกรรมทายาทรับผลกรรมนั้น และคงจะตั้งอยู่ในคุณธรรม อันเป็นลักษณะบัณฑิต ในพระศาสนาสืบไป”
ได้สติ มีคติอย่างใด ตามกรรมแต่ละท่านน่ะครับ

Facebook Comments


Social sharing

Related post