Digiqole ad

“กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ” ขึ้นเหนือ พาของดีเมืองรถม้า บุกตลาดโลก ด้วย FTA

 “กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ” ขึ้นเหนือ พาของดีเมืองรถม้า บุกตลาดโลก ด้วย FTA
Social sharing

Digiqole ad

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ลงพื้นที่ลำปาง แนะเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการในพื้นที่ เร่งใช้ประโยชน์จาก FTA สร้างแต้มต่อทางการค้า ขยายตลาดส่งออก พร้อมชี้แนวทางพัฒนาศักยภาพและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของดีในพื้นที่ทั้งสินค้ากาแฟ และผลิตภัณฑ์จากใบบัว

นางสาวบุณิกา แจ่มใส รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจาก นางสาวโชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ดำเนินโครงการพัฒนาความพร้อมทางการค้าของสหกรณ์ไทยสู่การค้าเสรี (ร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์) เมื่อวันที่ 12 – 14 มิถุนายน 2567 ลงพื้นที่จังหวัดลำปาง จัดงานสัมมนาและพบหารือกับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ผู้ผลิตสินค้าศักยภาพกาแฟและผลิตภัณฑ์จากใบบัว พร้อมนำทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าระหว่างประเทศและนักการตลาด ชี้ช่องโอกาสทางการค้าในตลาดการค้าเสรีและใช้ FTA เป็นเครื่องมือยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มตลาดใหม่ จากการที่ไทยจัดทำ FTA จำนวน 15 ฉบับ กับ 19 ประเทศที่ได้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีนำเข้าศุลกากรให้กับสินค้าส่วนใหญ่ของไทยแล้ว และเป็นไปตามนโยบายของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายภูมิธรรม เวชยชัย) มุ่งมั่นที่จะส่งเสริม พัฒนา และยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการ SME ซึ่งเป็นกลไกสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าของไทย โดยมีเป้าหมายผลักดันธุรกิจ SME ให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นร้อยละ 40 ต่อ GDP ภายในปี 2570 และให้ความสำคัญกับนโยบายเรื่องการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก FTA 15 ฉบับ และสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้สามารถปรับตัวและเตรียมความพร้อมให้สอดรับกับกรอบกติกาการค้าใหม่ของโลก พร้อมกับนำผลการเจรจาไปสื่อสารกับเกษตรกรและผู้ประกอบการ เพื่อขยายตลาดต่างประเทศ

นางสาวบุณิกา แจ้งว่า การลงพื้นที่ในจังหวัดลำปางครั้งนี้ กรมฯได้จัดสัมมนาให้กับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ ณ บริษัท ฮิมคอฟฟี่บีน (ไทยแลนด์) จำกัด อำเภอเมืองปาน ผู้ผลิตสินค้ากาแฟอาราบิก้าแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยปลูกกาแฟอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกแจ้ซ้อน และใช้น้ำจากบ่อน้ำร้อนแจ้ซ้อน ทำให้กาแฟมีรสชาติโดดเด่นเฉพาะตัว มีรสชาติเข้ม นุ่มละมุน และเป็น single origin และแปรรูปกาแฟด้วย Process ต่าง ๆ และผลิตกาแฟตามความต้องการของผู้บริโภค โดยกรมให้คำแนะนำเรื่อง การขึ้นทะเบียนสินค้า GI ของกาแฟสายน้ำแร่ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โอกาสทางการค้าในตลาดอาเซียนโดยใช้ประโยชน์จาก FTA และแนวทางการสร้างมูลค่าสินค้ากาแฟ เช่น การทำกาแฟ specialty การบริหารจัดการพื้นที่ปลูกกาแฟเพื่อเพิ่มผลผลิตโดยแนะนำให้ปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้าที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง ที่จะรองรับการบริโภคกาแฟที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งภายในประเทศและตลาดโลก และการเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อไป

นอกจากนี้ กรมฯยังได้จัดงานสัมมนาและพบหารือกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ศิรดา อำเภอเกาะคา ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ จากใบบัวหลวงและวัสดุจากธรรมชาติอื่น ๆ อาทิ ใบไผ่ ใบไม้ ฟางข้าว ผลิตเป็นสินค้าคือ กล่องบรรจุภัณฑ์ ของใช้บนโต๊ะทำงาน โต๊ะอาหาร ของประดับตกแต่งบ้าน และกระเป๋าหนังแฟชั่นต่าง ๆ และแผ่นหนังจากใบบัวหลวง รวมทั้งรับผลิตสินค้าตามสั่ง และ OEM ที่มีการทำธุรกิจผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม และใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสร้างผลิตผลงานโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ในด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ การใช้สีธรรมชาติ และความคงทนและความยืดหยุ่นของสินค้า มีการส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน ขณะนี้ มุ่งการเจาะตลาดผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ Gen Y และกลุ่มคนวัยทำงาน โดยกรมได้แนะนำเรื่องการใช้ประโยชน์จาก FTA แนวโน้มการเติบโตของสินค้า BCG ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดโลก และการวางตำแหน่งสินค้าในตลาด

“การลงพื้นที่ครั้งนี้ พบว่า จังหวัดลำปางมีสินค้าที่มีศักยภาพ และมีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น สะท้อน Soft Power ของไทย สามารถเจาะตลาดผู้บริโภคยุคใหม่ และตอบรับกับเทรนด์การค้าเสรี มีความพร้อมในการส่งออกไปประเทศคู่ค้าที่ไทยมี FTA ด้วย อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเน้นการยกระดับการผลิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน การสร้างแบรนด์ และการแปรรูปสินค้าที่หลากหลายเพื่อลดความเสี่ยงตลาด การทำธุรกิจเศรษฐกิจโมเดล BCG ที่ใส่ใจเรื่องการรักษ์สิ่งแวดล้อมและการเติบโตที่ยั่งยืน เพื่อเข้าสู่ตลาดในระยะยาว” นางสาวบุณิกา เสริม

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post