Digiqole ad

โปรตีนและวิตามินดีที่คุณได้รับในแต่ละวัน เพียงพอต่อการสร้างภูมิคุ้มกันแล้วหรือยัง?

 โปรตีนและวิตามินดีที่คุณได้รับในแต่ละวัน เพียงพอต่อการสร้างภูมิคุ้มกันแล้วหรือยัง?
Social sharing

Digiqole ad

ตัวเลขอายุที่เพิ่มมากขึ้น มักตามมาด้วยปัญหาสุขภาพที่มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเข้าสู่ช่วงวัย 40 ปีขึ้นไป หลายคนมักมีปัญหาเกี่ยวกับการดูดซึมสารอาหารของร่างกายที่ลดลง โดยเฉพาะโปรตีน รวมไปถึงการได้รับวิตามินดี อย่างเพียงพออีกด้วย ซึ่งสารอาหารทั้ง 2 ชนิดนี้มีความสำคัญและจำเป็นต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย (Immune system) โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในขณะนี้ การมีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงจึงมีความสำคัญอย่างมาก ที่จะช่วยให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคและไวรัสต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โปรตีน (Protein) เป็นสารอาหารหลักที่คอยทำหน้าที่สร้างเสริมและซ่อมแซมเนื้อเยื่อและเซลล์ร่างกายที่เสื่อม โดยเฉพาะเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน หากไม่ได้รับโปรตีนในปริมาณที่เพียงพอ ร่างกายจะมีประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันที่ลดลง ไม่เพียงพอต่อการต้านทานการติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ เราจึงมีความต้องการโปรตีนที่เพิ่มมากขึ้น ในช่วงเวลาที่ต้องสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค เชื้อไวรัสต่าง ๆ  รวมไปถึงช่วงการฟื้นฟูร่างกายจากอาการเจ็บป่วยต่างๆ แต่ในขณะเดียวกัน อายุที่เพิ่มมากขึ้น ก็ส่งผลต่อทั้งการย่อยและการดูดซึมโปรตีนของร่างกาย ดังนั้น คนในวัยผู้ใหญ่จึงควรบริโภคโปรตีนเพิ่มมากขึ้น เพื่อรักษาสุขภาพที่ดี หายจากอาการเจ็บป่วยได้ไวขึ้น รวมไปถึงรักษามวลกล้ามเนื้อและการทำงานของกล้ามเนื้อให้เป็นปกติอีกด้วย

ปริมาณการบริโภคโปรตีนที่เหมาะสมในแต่ละวันสำหรับคนวัยผู้ใหญ่นั้น ควรอยู่ที่ 1.0-1.2 กรัม ต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม (เช่น น้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม เราควรได้รับโปรตีน 60-72 กรัมต่อวัน)[1] แต่ปัญหาการบริโภคโปรตีนที่ไม่เพียงพอในวัยผู้ใหญ่นั้น มักพบได้บ่อยขึ้นในยุคปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การลดการบริโภคเนื้อสัตว์ การงดรับประทานอาหารเช้า และจากผลวิจัยในปัจจุบัน พบว่า การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัส โควิด-19 ยิ่งส่งผลให้หลายคนหันมาออกกำลังกายกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งการออกกำลังที่มากขึ้นกว่าเดิมนั้น ทำให้ร่างกายต้องการโปรตีนเพิ่มมากขึ้นถึง 40% จากปริมาณเดิมต่อวัน เพื่อใช้ในการซ่อมแซมกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย แต่เนื่องจากร่างกายสามารถย่อยและดูดซึมโปรตีนได้อย่างจำกัดในแต่ละครั้ง ดังนั้น เราจึงควรจัดสรรการบริโภคโปรตีนให้เหมาะสมในแต่ละมื้อ เพราะการรับประทานในมื้อใดมื้อหนึ่งมากเกินไปนั้น อาจทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์ไม่เต็มที่นั่นเอง

อีกหนึ่งสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายมากในช่วงนี้ ก็คือ วิตามินดี (Vitamin D) ซึ่งเป็นวิตามินที่พบได้ในอาหารบางประเภท เช่น ปลาที่มีไขมันสูง ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาดีน เห็ดหอม ไข่แดง น้ำมันตับปลา เป็นต้น อีกทั้งร่างกายเรายังสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้เองที่บริเวณใต้ชั้นผิวหนังจากรังสี UVB ในแสงแดด โดยเฉพาะในตอนเช้า ปัจจุบันพบว่า วิตามินดียังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในการสร้างและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย โดยมีข้อมูลจากการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ BMJ Nutrition, Prevention & Health[2],[3] ปี 2021 พบว่า กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยที่รับประทานวิตามินดีเสริมเป็นประจำนั้น ลดความเสี่ยงการจากติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (จากการวินิจฉัยด้วยวิธีตรวจมาตรฐาน RT PCR test) ได้ถึง 9%[4] นอกจากนี้แล้ว การรับประทานวิตามินดีเสริมยังพบว่า ลดโอกาสเสี่ยงการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจได้อีกด้วย[5],[6]

อย่างไรก็ตาม ด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตของคนไทยในยุคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พนักงานออฟฟิศ และคนที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง มักจะไม่ค่อยถูกแสงแดด จึงส่งผลให้ได้รับวิตามินดีที่ไม่เพียงพอ โดยมีรายงานการวิจัย พบว่า คนกรุงเทพฯ มากถึง 18% ที่มีระดับวิตามินดีในเลือดน้อยกว่า 20 นาโนกรัม/มิลลิลิตร (20 ng/mL) ซึ่งถือเป็นระดับที่ขาดวิตามิดี (Vitamin D deficiency) 71.4% ที่มีภาวะพร่องวิตามินดี (Vitamin D insufficiency) เป็นต้น  ส่วนภาพรวมคนไทย พบว่า กว่า 45% ของประชากรไทยมีภาวะพร่องวิตามินดี[7],[8] นอกจากปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพ อายุที่เพิ่มมากขึ้น (Aging process) ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ความสามารถในการสังเคราะห์วิตามินดีในชั้นผิวหนังลดน้อยลง ดังนั้น ในกลุ่มคนวัยผู้ใหญ่ขึ้นไปจึงมีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินดีมากกว่าคนในวัยหนุ่มสาวนั่นเอง

นายแพทย์ เสฏฐวุฒิ งามเมธิชัยวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขา เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสาธารณสุขศาสตร์  และ เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ

“ในสถานการณ์ปัจจุบัน เราควรให้ความสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เริ่มต้นด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้ดี ลดความเครียด และใส่ใจปริมาณสารอาหารที่ได้รับให้เพียงพอ โดยเฉพาะอาหารในกลุ่มโปรตีนและวิตามินดีซึ่งสำคัญมาก เพราะมีผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกันของคนในวัย 40 ปีขึ้นไป ดังนั้น เราจึงควรใส่ใจการเลือกอาหารที่มีโปรตีนสูง คุณภาพดี ในการรับประทานทุกวัน แต่บางครั้งนั้น อาหารที่มีโปรตีนสูงอาจมาพร้อมปริมาณแป้ง น้ำตาล หรือไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากเกินไป รวมถึงมีแคลอรี่ที่สูงเกินความต้องการของร่างกาย ดังนั้น การเลือกนมถั่วเหลืองสูตรโปรตีนสูงและวิตามินสูง จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์คนรักสุขภาพยุคใหม่ อย่างไรก็ตาม เราควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ปริมาณเหมาะสมกับสุขภาพ ช่วงวัยของเราเอง หมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ และออกมาสัมผัสแสงแดดบ้างเป็นครั้งคราวโดยเฉพาะช่วงเวลาเช้าของวัน เพื่อให้ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นวิตามินที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงตามที่กล่าวมาข้างต้น และเพื่อให้เรามีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงในทุกระบบนั่นเอง” นายแพทย์ เสฏฐวุฒิ งามเมธิชัยวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขา เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสาธารณสุขศาสตร์  และ เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ กล่าว

สามารถเข้าไปคำนวณปริมาณโปรตีนที่คุณได้รับในแต่ละวันว่าเพียงพอหรือไม่ ที่นี่

[1] Thai RDI. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ.2563. 2020 https://www.thaidietetics.org/?p=6120
[2] Calder PC. Nutrition and immunity: lessons for COVID-19. Nutr Diabetes. 2021 Jun 23;11(1):19.
[3] Calder PC. Nutrition, immunity and COVID-19. BMJ Nutr Prev Health. 2020;3:e000085.
[4] Louca P, Murray B, Klaser K, et al. Modest effects of dietary supplements during the COVID-19 pandemic: insights from 445 850 users of the COVID-19 Symptom Study app. BMJ Nutr Prev Health. 2021;4(1):149-157. Published 2021 Apr 19. doi:10.1136/bmjnph-2021-000250
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8061565/
[5] Bergman P, et al. Vitamin D and Respiratory Tract Infections: A Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials. PLoS ONE, 2013; 8(6): e65835. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0065835
[6] Martineau AR, et al. Vitamin D supplementation to prevent acute respiratory infections: individual participant data meta-analysis. Health Technol Assess. 2019 Jan;23(2):1-44. doi: 10.3310/hta23020. PMID: 30675873; PMCID: PMC6369419. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30675873/
[7] Chailurkit L, Aekplakorn W, Ongphiphadhanakul B. Regional variation and determinants of vitamin D status in sunshine-abundant Thailand. BMC Public Health 2011;11:853.
[8] Siwamogsatham O, Ongphiphadhanakul B, Tangpricha V. Vitamin D deficiency in Thailand. J Clin Transl Endocrinol. 2014;2(1):48–49. Published 2014 Oct 29. doi:10.1016/j.jcte.2014.10.004

เกี่ยวกับ ดานอน

ดานอนเป็นบริษัทด้านอาหารและเครื่องดื่มชั้นนำระดับโลก โดยมุ่งมั่นที่จะส่งมอบสุขภาพที่ดีด้วยอาหารให้กับผู้คนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ บริษัททำธุรกิจในหมวดที่เติบโตอย่างรวดเร็วและเน้นด้านสุขภาพใน 3 ส่วนหลักด้วยกัน ได้แก่ผลิตภัณฑ์นมที่จำเป็นและอาหารจากพืช น้ำดื่ม และโภชนาการสำหรับความต้องการเฉพาะ

ดานอนหวังที่จะสร้างแรงบันดาลใจในการรับประทานอาหารและดื่มน้ำในรูปแบบที่ดีต่อสุขภาพและยั่งยืนมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของบริษัทได้แก่ ‘One Planet. One Health’ ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าที่ว่า สุขภาพของผู้คนและสภาวะของโลกเชื่อมโยงถึงกันและกัน

เพื่อทำให้วิสัยทัศน์นี้เป็นจริงและสร้างคุณค่าที่มากกว่า ยั่งยืนกว่า และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าแก่ผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ดานอนได้กำหนดเป้าหมายในปี 2030 ซึ่งเป็นชุดเป้าหมายแบบบูรณาการ 9 ประการ และปูทางเพื่อเป็นบริษัทแห่งแรกที่ได้รับสถานะ “Enterprise a Mission” ในประเทศฝรั่งเศส นอกจากนั้น ดานอนยังให้คำมั่นสัญญา ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบ และมีความครอบคลุม ซึ่งสอดคล้องกับ Sustainable Development Goal (SDGs) ของสหประชาชาติ

ภายในปี 2025 ดานอนมุ่งมั่นที่จะเป็นหนึ่งในบริษัทข้ามชาติที่ได้รับการรับรองในฐานะ B Corp™

ดานอนมีพนักงานกว่า 100,000 คน และมีผลิตภัณฑ์วางจำหน่ายในกว่า 120 ประเทศ ดานอนทำรายได้กว่า สองหมื่นสามพันหกร้อยล้านยูโรในปี 2020

ทั้งนี้ ดานอนมีแบรนด์ชั้นนำระดับอินเตอร์ในเครือหลากหลายแบรนด์ (เช่น Actimel, Activia, Alpro, Aptamil, Danette, Danio, Danonino, Evian, Nutricia, Nutrilon, Volvic เป็นต้น) รวมถึงแบรนด์ในท้องถิ่นและระดับภูมิภาค (เช่น Dumex, AQUA, Blédina, Cow & Gate, Horizon, Mizone, Oikos, Prostokvashino, Silk เป็นต้น)

Facebook Comments


Social sharing

Related post