Digiqole ad

‘เศรษฐา’ นายกรัฐมนตรี หารือ ‘สเตฟาน บุทซ์’ ผู้บริหาร DKSH Holding AG

 ‘เศรษฐา’ นายกรัฐมนตรี หารือ ‘สเตฟาน บุทซ์’ ผู้บริหาร DKSH Holding AG
Social sharing

Digiqole ad
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พบหารือกับนายสเตฟาน บุทซ์ (Stefan Butz) ผู้บริหารบริษัท DKSH Holding AG บริษัทให้คำปรึกษาและแนะนำการทำธุรกิจ เช่น การขยายตลาด การวางแผนธุรกิจ การกระจายสินค้า การบริการหลังการขาย และมีการนำสินค้าอุปโภค บริโภค เข้ามาจำหน่ายในไทยหลายประเภท แสวงหาความร่วมมือด้านการจำหน่ายยาและเวชภัณฑ์ ชักชวนบริษัทร่วมดึงดูดให้โรงงานย้ายมาตั้งฐานการผลิตในไทย พร้อมดึงบริษัทร่วมลงทุนโครงการแลนด์บริดจ์ ส่งเสริมไทยเป็นศูนย์กลางด้านการค้าและการขนส่งในภูมิภาค
.
1. นายกรัฐมนตรีและผู้บริหารบริษัท DKSH ได้หารือเกี่ยวกับปัญหาการจำหน่ายยาและเวชภัณฑ์ของบริษัท จากสถานการณ์ที่มีโรคระบาดใหม่เกิดขึ้น บริษัทต้องเจอกับกระบวนการและระยะเวลานานในการเข้ามาจัดจำหน่ายในไทย เพราะกระบวนการอนุมัติมีความเข้มงวด แม้ยาเหล่านี้จะผ่าน FTA ที่สวิตเซอร์แลนด์และยุโรปมาแล้ว โดยรัฐบาลจะรับไปแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อบริษัทและต่อประชาชนชาวไทยที่ต้องกรใช้ยาและเวชภัณฑ์ในการรักษาโรค หากยาเข้ามาเร็วเราก็จะสามารถดูแลรักษาคนไทยให้เร็วขึ้นได้
.
2. นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า บริษัทนี้ถือเป็นกองเชียร์สำคัญของไทย โดยตนเองต้องการให้ย้ายโรงงานมาอยู่ในประเทศ เช่น โรงงานผลิตนีเวีย ซึ่งเป็นครีมบำรุงผิวที่ประสบความสำเร็จมากในไทย ทางบริษัทจะไปพูดคุยและเชื้อเชิญ รวมถึงนายกรัฐมนตรีพร้อมยินดีไปพูดคุยหากสนใจที่จากเปิดฐานการผลิต จุดประสงค์ใหญ่ของเราคือ การดึงดูดให้บริษัทใหญ่ย้ายฐานการผลิตในไทย อย่างเช่นเรื่องยา เรามั่นใจว่าเรามีบุคลากรพร้อม มีมาตรการภาษี พร้อมชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีในเมืองไทย
.
3. บริษัทให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และเสนอให้ไทยใช้ E-document มากขึ้นจากการที่บริษัทพบว่าโรงงานในไทยใช้กระดาษจำนวนมาก โดยนายกรัฐมนตรียืนยันว่าไทยกำลังดำเนินการเรื่องนี้อยู่ อีกทั้ง บริษัทยังจะส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในการขนส่งสินค้า ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทยที่ยืนยันจะส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มการติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้าให้เพิ่มมากขึ้น
.
4. นอกจากนี้ บริษัทยังมีความเชี่ยวชาญทางด้านโลจิสติกส์ นายกรัฐมนตรีได้นำเสนอว่าไทยมีโครงการแลนด์บริดจ์ที่บริษัทสามารถเข้ามีส่วนร่วมได้ โดยโครงการนี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย และบริษัทจะได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้ด้วย ในโอกาสนี้ บริษัทยืนยันและมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของไทย รวมทั้งพร้อมที่จะเชิญชวนบริษัทพันธมิตรมาร่วมลงทุนในไทยมากขึ้น
.
5. ทั้งนี้ DKSH เข้ามาประกอบธุรกิจในไทยตั้งแต่ปี 2449 (ค.ศ.1906) โดยเป็นหนึ่งในองค์กรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศในด้านยอดขาย และไทยนับเป็นประเทศที่มีการดำเนินกิจการที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่ม DKSH สามารถสร้างรายได้ 1 ใน 3 ของรายได้รวมของบริษัททั่วโลก มีความเข้าใจในการทำธุกิจในไทย และมีการจ้างงานผู้หญิงคิดเป็นสัดส่วนจำนวนมาก ไทยจึงเป็นตลาดสำคัญของบริษัท
.
Facebook Comments


Social sharing

Related post