Digiqole ad

“เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง กล่าวในการเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ต่อสภาผู้แทนราษฎร

 “เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง กล่าวในการเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ต่อสภาผู้แทนราษฎร
Social sharing

Digiqole ad
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง กล่าวในการเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ต่อสภาผู้แทนราษฎรโดยมีหลักการและเหตุผล ดังนี้
.
หลักการและเหตุผล
.
ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นจำนวนไม่เกิน 3,480,000,000,000 บาท สำหรับใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลตามที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา
.
รัฐบาลได้ดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจและฐานะทางการเงินการคลังของประเทศ ตลอดจนแนวทางการพัฒนาประเทศตามแผนและเป้าหมายต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์และประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม
.
ภาวะเศรษฐกิจทั่วไป
.
ภาวะเศรษฐกิจ 2566: คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยร้อยละ 1.4 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ร้อยละ 1.0 ต่อ GDP (ตามแถลงภาวะเศรษฐกิจของสภาพัฒน์ ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566) โดยหลายหน่วยงานได้มีการปรับประมาณการลง
.
เป้าหมายการขยายตัวนี้ มีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน แต่ยังมีข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลต่อการส่งออกและภาคอุตสาหกรรม รวมถึงภาระหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่ยังสูง ความเสี่ยงจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งต่อภาคการเกษตร
.
ภาวะเศรษฐกิจ 2567: คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.7 – 3.7 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 1.7-2.7 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.5 ต่อ GDP (สภาพัฒน์)
.
ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การขยายตัวของภาคการส่งออก การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการท่องเที่ยว แต่ยังมีข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยง อาทิ การลดลงของแรงขับเคลื่อนด้านการคลัง ภาระหนี้สินภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจยังสูง ปัญหาภัยแล้งต่อภาคการเกษตร การชะลตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์
.
ความสัมพันธ์ของงบประมาณรายจ่ายและแผนการพัฒนาประเทศ
.
ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้นผ่านการดำเนินนโยบายที่จะครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ทั้งระยะเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาระยะสั้น และนโยบายระยะกลางและยาว เพื่อเสริมขีดความสามารถในการเจริญเติบโตของประเทศ
.
ด้านเศรษฐกิจ
.
– สร้างอุปสงค์ (Demand) และขยายอุปทาน (Supply) รวมถึงพัฒนาขีดความสามารถในภาคอุตสาหกรรม
– ยกระดับการท่องเที่ยว สนับสนุนการพัฒนา Soft Power ของประเทศในระยะยาว
– ลดค่าใช้จ่ายประชาชน ลดต้นทุนอุตสาหกรรม อาทิ การแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบ การลดราคาพลังงาน การปรับโครงสร้างพลังงานให้เหมาะสม
– เปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ สร้างงานมูลค่าสูง
– ลงทุนด้านคมนาคมให้ครอบคลุมทุกความต้องการ
– พัฒนาการบริหารจัดการให้ดีขึ้นผ่านการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
– ลงทุนเรื่องน้ำที่ครอบคลุมทั้งระบบ ในภาคการผลิต การเกษตร อุตสาหกรรม
– ดูแลทรัพยากรธรรมชาติป่า ทะเล อากาศ ป้องกันภัยธรรมชาติ อากาศจะต้องสะอาด
.
ด้านสังคมและความมั่นคง
.
– ประชาชนสุขภาพดี พัฒนาระบบ 30 บาทรักษาทุกโรคให้ดียิ่งขึ้น
– ดูแลรักษาผู้ติดยาเสพติด สกัดกั้น ยึดทรัพย์ผู้ค้า
– สร้างความเสมอภาคทางสังคม คนทุกกลุ่ม/อัตลักษณ์ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย
– ดูแลความมั่นคงของประชาชนทั้งกายภาพ ไซเบอร์ ภัยพิบัติ
– พัฒนากองทัพให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น ระบบการเกณฑ์ทหารจะเปลี่ยนเป็นแบบสมัครใจทำให้สถาบันทหารมีความเป็นมืออาชีพ
– พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่สร้างประโยชน์ให้ประชาชน เป็นการดำเนินนโยบายแบบ “การต่างประเทศที่กินได้”
– พัฒนาศักยภาพคนไทย การศึกษาเข้าถึงได้ มีคุณภาพ ทันสมัย ครอบคลุมไปถึงระดับวิชาชีพ
.
ด้านการเมืองการปกครอง
.
– จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แก้ไขจุดด้อยของฉบับที่ผ่านมา บนหลักการที่เป็นไปได้มากที่สุดและไม่สร้างความขัดแย้ง
– บริการจากราชการที่เร็วและสะดวกมากขึ้น พัฒนารัฐบาลดิจิทัล (E-government)
– สร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม
.
นโยบายการคลังและความสัมพันธ์ระหว่างรายรับและงบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้ง
.
ภายใต้สภาการณ์ทางเศรษฐกิจดังกล่าว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินนโยบายขาดดุล เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้ต่อเนื่อง โดยประมาณการการจัดเก็บรายได้ รวมสุทธิ 2,912,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 จากปีก่อน และหักการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 125,800 ล้านบาท
.
รายได้สุทธิที่สามารถนำมาจัดสรรเป็นรายจ่ายของรัฐบาล จำนวน 2,787,000 ล้านบาท และมีเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 693,000 ล้านบาท รวมเป็นรายรับ จำนวน 3,480,000 ล้านบาท
.
จากการเพิ่มขึ้นของประมาณการรายได้ รัฐบาลกู้ชดเชยการขาดดุลงบลดลงจากปีงบประมาณที่ผ่านมาและสามารถตั้งงบประมาณชำระคืนต้นเงินกู้ การชดใช้เงินคงคลัง และการตั้งงบประมาณรายจ่ายลงทุนที่เพิ่มขึ้นได้
.
ฐานะการคลัง
.
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2566 มีจำนวน 11,125,428.1 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62.1 ของ GDP ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 70
.
หนี้สาธารณะที่เป็นข้อผูกพันของรัฐบาล ซึ่งเกิดจากการกู้ยืมเงินโดยตรง และการค้ำประกันเงินกู้โดยรัฐบาล มีจำนวนทั้งสิ้น 10,537,912.7 ล้านบาท
.
ปัจจุบันฐานะเงินคงคลัง ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 297,093.6 ล้านบาท โดยรัฐบาลจะบริหารเงินคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และบริหารรายรับและรายจ่ายของรัฐให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
.
ฐานะและนโยบายการเงิน
.
อัตราดอกเบี้ย: คณะกรรมการนโยบายการเงิน ได้มีมติปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.5% ต่อปี ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน
.
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2566: อยู่ที่ระดับต่ำที่ร้อยละ 0.5 ในไตรมาสที่ 3 น้อยกว่าประเทศในภูมิภาคเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยลดลงมาจากที่อยู่ในระดับที่สูงในปีก่อนหน้า ซึ่งสะท้อนจากสภาพเศรษฐกิจที่มีการชะลอตัวลง
.
เงินสำรองระหว่างประเทศ: มูลค่าเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 มีจำนวน 211,750.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 2.74 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง
.
สาระสำคัญของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
.
วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 3,480,000 ล้านบาท จำแนกเป็น
.
– รายจ่ายประจำ จำนวน 2,532,826.9 ล้านบาท (ร้อยละ 72.😎
– รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 118,361.1 ล้านบาท (ร้อยละ 3.4)
– รายจ่ายลงทุน จำนวน 717,722.2 ล้านบาท (ร้อยละ 20.6)
– รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 118,320.0 ล้านบาท (ร้อยละ 3.4)
.
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำแนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ
.
ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้กำหนดไว้จำนวน 6 ยุทธศาสตร์ และ 1 รายการ ซึ่งเป็นรายการดำเนินการภาครัฐ จำนวน 564,041.2 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยมิได้คาดหมายสำหรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น การบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ และชดใช้เงินคงคลัง
.
สำหรับงบประมาณ 6 ยุทธศาสตร์ รายละเอียดการดำเนินงานที่สำคัญสรุปดังต่อไปนี้ >>>
ที่มา : เพจพรรคเพื่อไทย
Facebook Comments


Social sharing

Related post