Digiqole ad

เรื่องจากปก : ไซยาไนด์ภัยฟีเวอร์….”เมื่อไซยาไนด์ ยังไม่ซาโยนาระ” (อีบุ๊กวันที่ 5-11 พ.ค.66)

 เรื่องจากปก : ไซยาไนด์ภัยฟีเวอร์….”เมื่อไซยาไนด์  ยังไม่ซาโยนาระ” (อีบุ๊กวันที่ 5-11 พ.ค.66)
Social sharing

Digiqole ad

            กลายเป็นมหากาพย์ระดับชาติที่ทั่วโลกให้ความสนใจ สำหรับคดีสาวแอมถูกกล่าวหาว่า วางยาไซยาไนด์ ที่ยกให้เป็นหนึ่งใน “ราชาแห่งสารพิษ”  กระทั่งมีผู้คนล้มตายไปกว่า 20 ชีวิต คดีนี้กำลังอยู่ในช่วงหน้าสิ่วหน้าขวาน มาดูกันว่าสังคมโดยรอบตัวเรามีเหตุการณ์อะไรใหม่ ๆเกิดขึ้นกันบ้าง

            เกิดโรคใหม่ “ไซยานิค”

            “ไซยานิค” คำ ๆนี้ฟังดูแปลก ๆ แต่สำหรับบางกลุ่มคนต่างทราบดีว่าคือ โรคที่เกิดใหม่ล่าสุด แต่ไม่ใช่ประกาศโดยหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขหรือการแพทย์แต่อย่างใด ซึ่งชาวโซเชี่ยลมีเดียจะทราบกันนี้คือ โรคหวาดระแวงสารพิษอันตราย “ไซยาไนด์” เป็นการนำคำว่า “ไซยาไนด์” มาผสมกับคำว่า “แพนิค” = “ไซยานิค”

            พญ.พรทิพย์ ศรีโสภิต จิตแพทย์ผู้ชำนาญการด้านจิตเวชศาสตร์ ระบุว่า         โดยปกติแพนิค (Panic Disorder) คือ โรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง หรือเรียกว่า โรคตื่นตระหนก ผู้ที่เป็นมักมีความรู้สึกกลัว ตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก แบบไม่คาดคิดมาก่อน และเกิดขึ้นซ้ำ ๆ จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน และมีความกังวลว่าจะเป็นขึ้นมาอีก

เช่นกรณีคดียาไซยาไนด์ ทำให้เกิดการเตือนกันว่า “อย่าไปแพนิค ต้องมีสติเข้าไว้” บางคนไม่กล้าที่จะออกไปรับประทานอาหารกับใคร ๆ นอกบ้าน แม้แต่คนสนิทก็ตามที รวมถึงบรรดาเครื่องดื่มต่าง ๆ ไม่กล้าสั่งซื้อผ่านแกรบฟู้ดหรือไลน์แมน ทำเอาทั้งคนขายคนส่งขายรายได้ไปเลย และหากแม้ว่ามีใครซื้อมาฝาก หัวตีนเด็ดขาดอย่างไรก็ไม่ดื่ม เนื่องจากกลัวว่าจะมีผู้ไม่หวังดีแอบใส่สารไซยาไนด์

พญ.พรทิพย์ ศรีโสภิต  กล่าวด้วยว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิค จะมีอาการที่เรียกว่า panic attack” โดยเกิดขึ้นซ้ำ ๆ อย่างคาดการณ์ไม่ได้ และมีอาการอื่น ๆ ต่อเนื่องจากอาการเหล่านั้น เป็นเวลานานกว่า 1 เดือน (หรือมากกว่า) ดังต่อไปนี้ 1.กังวลว่าจะเกิดอาการขึ้นอีกอยู่ตลอดเวลา 2.กังวลว่าอาจเกิดโรคร้ายแรงหรือกังวลเกี่ยวกับผลติดตามมา (เช่น คุมตัวเองไม่ได้ เป็นโรคหัวใจ เป็นบ้า เป็นต้น) 3. พฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน เช่น ไม่กล้าอยู่คนเดียว เพราะกลัวจะเกิดอาการขึ้น หรือไม่กล้าใช้ชีวิตประจำวันตามปกติที่เคยทำเป็นประจำ สำหับการรักษาโรคแพนิคนั้นควรต้องรักษาทั้งสองด้านควบคู่กันไป  โดยการศึกษาวิจัยพบว่าการรักษาด้วยยาควบคู่ไปกับการรักษาทางด้านจิตใจ เป็นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด

 

วงการอาหาร-เครื่องดื่มโอดครวญ

อย่างที่กล่าวไปแล้วในเบื้องต้น ทำให้ผู้คนตื่นตระหนกไม่กล้าที่ทานอะไรซีซั้วอีกต่อไป โดยฉพาะการสั่งอาหารและเครื่องดื่มผ่านระบบออนไลน์และโทรศัพท์มือถือ ที่ให้พนักงานขี่มอเตอร์ไซค์วิ่งมาส่ง เช่น แกร็บฟู้ด,ไลน์แมน,แพนด้า แม้ว่าจะไม่ใช่เป็นศัตรูคู่อริกับคนทำ แต่ก็ทำให้รู้ว่าไม่ปลอดภัย หากเจอพวกโรคจิตคิดเลียนแบบจะเกิดอะไรขึ้น ไม้แรกจากคนทำไม่เป็นไร แต่พวกไม้สองที่นำอาหารหรือเครื่องดื่มมาส่งนะสิเป็นเรื่องใหญ่เลยทีเดียว

ทั้งผู้ประกอบและพนักงานส่งอาหารและเครื่องดื่มต่างโอดครวญว่าช่วงนี้ยอดขายตก รายได้ลดลง เพราะเหตุจากคดีไซยาไนด์ ยอมรับว่า ลูกค้าบางรายจี้ใจดำว่า “ใส่สารไซยาไนด์มาด้วยเปล่า” “หรือไม่เอาสารไซยาไนด์นะ” เป็นต้น

เงินกู้นอกระบบ-วงแชร์ระส่ำระสาย

คดียาไซยาไนด์ยังผลกระทบไปยัง “วงการเงินกู้นอกระบบ” ฉบับชาวบ้าน คือ เฉพาะกลุ่มคนรู้จักกันปล่อยเงินกู้ ไม่ใช่พวกหมวกกันน็อกที่ตามทวงหนี้ (ดอกมหาโหด) โดยเฉพาะผู้ปล่อยเงินกู้ ไม่กล้าที่จะรับของกินหรือออกไปกินอะไรกับลูกหนี้ แม้แต่มีคนส่งของกินมาให้ผ่านเคอร์รี่ หรือพนักงานรับส่งของ อีกทั้งไม่กล้าปล่อยเงินกู้ บางรายถุงกับยกเลิกรายใหม่ ๆ ไปเลยก็มี เพราะกลัวถูกวางยาชนิดดังกล่าวล้างหนี้

ทางด้านวงแชร์ที่นิยมเล่นกันในกลุ่มคนสนิท ไม่ถึงขั้นระดับใหญ่เงินเป็นล้าน ๆ เท้าแชร์หรือหัวหน้าวงแชร์ ปิดช่องทางในการให้ลูกแชร์หลังไมค์มาของยืมเงินที่ได้เป็นมือหรืองวดแรก (เท้าแชร์จะได้เป็นคนแรก โดยไม่ต้องเสียดอก) ด้านลูกแชร์ไม่ยอมน้อยหน้าหากตนเองเปียแชร์ได้ก็ไม่ให้เพื่อนในวงแชร์หรือบุคคลข้างนอกที่รู้ว่าเปียแชร์ได้ยืมเช่นกัน  สาเหตุจากกลัวถูกวางยาเหมือนในคดีตัวอย่าง

รวมทั้งเจ้ามือหวยใต้ดินก็ไม่กล้ามีปัญหากับลูกหนี้ พยายามหาวิธีประนีประนอมในกรณีลูกหนี้มีปัญหาไม่จ่ายเงิน กลัวฤทธิ์ไซยาไนด์ไม่วันใดก็วันหนึ่งต้องถึงตัวแน่  ๆ

ชาวโซเชี่ยลมีเดียแห่แชร์ข้อมูล

นอกจากชาวโซเชี่ยลมีเดีย โดยเฉพาะผู้ใช้แอพ “ไลน์” ที่มีไลน์กลุ่มต่าง ๆ มากมาย ที่ผู้ใช้บางคนมีกลุ่มมากกว่า 20 กลุ่ม ที่โดยปกติจะเป็นการส่งรูปดอกไม้สีประจำวันและข้อคิดคำคมต่าง ๆนานาแล้ว ยังมีการแชร์ข้อมูลที่เป็นประโชน์ เตือนภัย ป้องกัน รู้เท่าทันเรื่อง “สารพิษไซยาไนด์” กันสุดคึกคัด หลายคนได้ข้อมูลซ้ำ ๆ เพราะอยู่หลายกลุ่ม อาทิ

            อันตรายจาก Cyanide

Cyanide สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายวิธี ในเบื้องต้นอาจทำให้เกิดอาการ เช่น ระคายเคืองบริเวณที่สัมผัสอย่างผิวหนังหรือดวงตา ร่างกายอ่อนแรง เวียนศีรษะ คลื่นไส้ หายใจติดขัด หมดสติ และหัวใจหยุดเต้น เป็นต้น โดยความรุนแรงของอาการนั้นอาจขึ้นอยู่กับชนิดของ Cyanide ปริมาณ และระยะเวลาในการได้รับ โดยผลกระทบจากการได้รับ Cyanide อาจแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้

ภาวะเป็นพิษจาก Cyanide แบบเฉียบพลัน เป็นอาการที่พบได้ยาก เกิดขึ้นในทันที อาจทำให้เกิดอาการ เช่น หายใจติดขัด เลือดไหลเวียนผิดปกติ ภาวะหัวใจหยุดเต้น สมองบวม ชัก และหมดสติ เป็นต้น

ภาวะเป็นพิษจาก Cyanide แบบเรื้อรัง เกิดจากการได้รับ Cyanide ปริมาณเล็กน้อยต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ในเบื้องต้นอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ง่วงซึม คลื่นไส้ อาเจียน เกิดผื่นแดง และอาจมีอาการอื่น ๆ เกิดขึ้นตามมา เช่น รูม่านตาขยาย ตัวเย็น อ่อนแรง หายใจช้า เป็นต้น นอกจากนี้ หากไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลานาน อาจทำให้หัวใจเต้นช้าหรือเต้นผิดปกติ ผิวหนังบริเวณใบหน้าและแขนขากลายเป็นสีม่วง โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด

“รพ.-มหาวิทยาลัย” แห่ออกบทความลงเว็บ

“โรงพยาบาล” และ “มหาวิทยาลัย”  เป็นหนึ่งในหลายหน่วยงานที่เกี่ยวกับเรื่องที่เป็นพิษเป็นภัยต่อสุขภาพคน ดังนั้นจึงมีโรงพยาบาลและมหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐและเอกชนแห่กันให้แพทย์และผู้เชี่ยวชาญนำเสนอเรื่องสารพิษไซยาไนด์ ทั้งในเชิงให้ความรู้ความเข้าใจ เชิงวิเคราะห์เจาะลึก อาทิ

27 เม.ย. 2566 โรงพยาบาลสินแพทย์ โพสต์ลงในเว็บไซต์ของโรงพยาบาล

ในหัวข้อ “รู้จัก ‘ไซยาไนด์’ สารเคมีอันตรายถึงชีวิต! https://www.synphaet.co.th/cyanide/

28 เมษายน 2566 โรงพยาบาลพระรามเก้า โพสต์ลงในเว็บไซต์ของโรงพยาบาล https://www.praram9.com/cyanide-poisoning-and-antidote/ ในหัวข้อ พิษไซยาไนด์ และยาต้านพิษ การช่วยชีวิตคนถูกพิษไซยาไนด์”

28 เมษายน 2566 โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ โพสต์ลงในเว็บไซต์ของโรงพยาบาล https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/april-2023/cyanide  ในหัวข้อ“เรื่องควรรู้เกี่ยวกับสารพิษไซยาไนด์”

30 เมษายน 2566 โรงพยาบาลเพชรเวช โพสต์ลงในเว็บไซต์ของโรงพยาบาล https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Cyanide ในหัวข้อ “ไซยาไนด์ สารพิษที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้ออกซิเจนได้”

            1 พฤษภาคม 2566 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โพสต์ลงในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย https://th.kku.ac.th/139600/ ในหัวข้อ “แพทย์ มข.ไขปม ‘ไซยาไนด์’ คืออะไร ภัยร้าย สารไร้สี”

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ลงในเว็บของมหาวิทยาลัย https://www.rama.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/pois-cov/gas/Cyanide ในหัวข้อ syanide”

2 พฤษภาคม 2566 โรงพยาบาลศิริราช โพสต์ในเว็บไซต์ของโรงพยาบาล https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/cyanide ในหัวข้อ “ไซยาไนด์ (Cyanide) สารพิษอันตรายควรระวัง”

โดยในแต่ละเว็บไซต์มียอดผู้เข้าไปชมและอ่านทะลุกว่า 1 หมื่นราย แสดงว่าผู้คนให้ความสนใจเรื่องนี้กันเป็นอย่างมาก

               ย้อนรอยคดีไซยาไนด์ในประวัติศาสตร์

เว็บไซต์ BBC ไทย https://www.bbc.com/thai/articles/c3gnpzggrd5o ได้ย้อนรอยเรื่องสารไซยาไนด์ไปว่า เมื่อคิดถึงยาพิษอันตรายถึงตาย ความคิดเรามักจะคิดไปถึงสารหนูก่อนเป็นลำดับแรก ๆ เพราะเชื่อว่าเป็นอาวุธสังหารบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งอังกฤษ, นโปเลียน โบนาปาร์ต (จักรพรรดินโปเลียนที่ 1) แห่งฝรั่งเศส ไปจนถึงสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี่ (Gaungxu) แห่งราชวงศ์ชิงของจีน เพราะในอดีตนั้น มีการใช้สารหนู ทั้งเป็นยารักษา และอื่น ๆ มากมาย

แต่จริง ๆ แล้ว เมื่อกาลเวลาผ่านไป ยาพิษที่ถูกพูดถึงก็เพิ่มมากขึ้น และร้ายแรงมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลพวงจากนวนิยาย และมังงะ (หนังสือการ์ตูน) ญี่ปุ่น ยกตัวอย่าง “นักสืบจิ๋วโคนัน” ที่อ่านไปไม่ถึง 5 เล่ม ก็มีการพูดถึงยาพิษไร้สีไร้กลิ่น อย่างไซยาไนด์แล้ว

หนังสือชื่อ “รสชาติแห่งยาพิษ” (A Taste of Poison) ซึ่งเผยแพร่เมื่อปี 2022 และเขียนโดยศาสตราจารย์ นีล แบรดบูรี นักวิทยาศาสตร์และนักชีวฟิสิกส์ ได้อธิบายถึงพิษ 11 ชนิด ที่เหล่าอาชญากร และฆาตกรได้ใช้เพื่อสังหารเหยื่อ ยาพิษที่แบรดบูรี มองว่า เป็นที่นิยมมากที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน

1.สารหนู (Arsenic) “ราชาแห่งยาพิษ” : ในศตวรรษที่ 19 การวางยาพิษด้วยสารหนู คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของการวางยาพิษทั้งหมด ด้วยเหตุผลว่า หาได้ง่าย มีการใช้งานที่หลากหลายทั้งรักษาเนื้อไม้ในอุตสาหกรรมไม้อัด กำจัดศัตรูพืช ไปจนถึงในของเล่นสำหรับเด็กก็มี

สำหรับฆาตกรที่ตั้งใจวางยาพิษคนอื่น สารหนูมีความพิเศษที่การใช้เพียงครั้งละไม่มาก ให้เหยื่อตายอย่างช้า ๆ เพราะเมื่อรับสารหนูเข้าไปในร่างกายแล้ว (ปริมาณไม่มาก) จะก่อให้เกิดอาการท้องเสีย เป็นไข้ อาหารเป็นพิษ อาเจียน และเจ็บท้อง เป็นต้น การได้รับสารหนูในปริมาณเล็กน้อยติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น การบริโภคอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อน จะส่งผลเรื้อรังและอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างรุนแรงได้ จนกระทั่งอวัยวะล้มเหลวจนตาย

2.ไซยาไนด์ (Cyanide) อาวุธฆาตกรรมยอดนิยม : สำหรับแบรดบูรีแล้ว ยาพิษอย่างไซยาไนด์มีชื่อเสียงอย่างมาก จากบทบาทในนวนิยายและภาพยนตร์แนวสืบสวนสอบสวนและหนังสายลับ ไม่เพียงเท่านั้น นาซีเยอรมันยังใช้ไซยาไนด์ในการสังหารนักโทษในค่ายมรณะด้วย ไม่ต่างจากสารหนู ไซยาไนด์เป็นสารพิษที่พบได้ทั่วไปในพืชหลากหลายชนิด รวมถึงพบในสารสังเคราะห์สำหรับสีฟ้าอีกด้วย

ผู้ประพันธ์ “รสชาติแห่งยาพิษ” อธิบายว่า สาเหตุที่ทำให้ไซยาไนด์เป็น “ยาพิษสมบูรณ์แบบ” นั่นก็เพราะมันไร้รสชาติ และมีศักยภาพสังหารสูง เพียงสัดส่วน 1 ใน 500 ช้อนชา ก็ทำให้ผู้ใหญ่เสียชีวิตได้แล้ว

เมื่อรับสารไซยาไนด์เข้าไปแล้ว ตัวสารจะเข้าไปเกาะกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ทำให้เซลล์ทำงานล้มเหลวในการผลิตพลังงานไปหล่อเลี้ยงร่างกาย ฤทธิ์ของมันจะคล้ายสารหนู แต่ไซยาไนด์ออกฤทธิ์เร็วกว่ามาก เพราะเป็นอันตรายต่อหัวใจได้ในทันที

อาการแรกเริ่ม คือ ปวดหัวอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ตามด้วยอาการหมดสติ เข้าขั้นโคม่า และหัวใจหยุดเต้น จนเสียชีวิต

ยาแก้พิษไซยาไนด์มีเช่นกัน แต่ต้องได้รับแทบจะในทันที ที่รับสารไซยาไนด์ในปริมาณอันตรายเข้าร่างกาย ส่งผลให้การรับสารไซยาไนด์โดยไม่ตั้งใจ 95% ล้วนนำไปสู่การเสียชีวิต

3.สตริกนิน (Strychnine) ยาพิษที่ “ชั่วร้าย” : แบรดบูรี เรียก สตริกนิน ว่า “ยาพิษที่ชั่วร้ายที่สุด” แต่กลับเป็นที่โปรดปรานของนักเขียนนวนิยายชื่อดัง อย่าง อกาธา คริสตี ถ้าคุณเป็นคนชอบหนังคลาสสิก คงจำได้ว่า ยาพิษนี้เป็นสิ่งที่ ตัวเอก นอร์แมน เบตส์ ใช้กับมารดาของเขาในภาพยนตร์ “ไซโค” (Psycho)

สตริกนิน เป็นสารกลุ่ม alkaloid เริ่มใช้กันเพื่อฆ่าหนูในหมู่พ่อค้าแม่ค้า แต่เมื่อฤทธิ์การสังหารของมันเริ่มเป็นที่พูดถึง การใช้เป็นอาวุธสังหารก็ตามมา “สตริกนิน ทรมานเหยื่อ ทำให้กล้ามเนื้อกระตุกชักอย่างเจ็บปวด จนความตายคือสิ่งที่ฉุดพวกเขาขึ้นมาจากความทรมานเหมือนรกบนดิน”

4.โพโลเนียม ตัวสังหารสายลับรัสเซีย : ปกติ โพโลเนียม-210 เป็นสารกัมมันตรังสีที่ใช้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หรือเครื่องเร่งอนุภาค แต่หากเข้าไปอยู่ร่างกายจะเป็นอันตรายมากกว่าไซยาไนด์หลายเท่าตัว

“โพโลเนียมเพียง 1 ไมโครกรัม หรือแค่ฝุ่นผง ก็เพียงพอทำให้เกิดกัมมันตภาพรังสีที่ถึงตาย หากกลืนเข้าไปในร่างกาย” เบอร์เจส พิธีกรคอลัมน์ บริตแลบ (BritLab) ของบีบีซี ฟิวเจอร์ส อธิบาย

เมื่อปี 2016 โพโลเนียม-210 (Polonium-210) ซึ่งพบบริเวณโต๊ะที่ผู้ตายนั่งดื่มน้ำชาในร้านอาหารญี่ปุ่นอิตซู ซูชิ สันนิษฐานว่า เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของ อเล็กซานเดอร์ ลิตวิเนนโก (Alexander Litvinenko) อดีตสายลับรัสเซีย ที่อาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักร วิธีการคาดว่า ลอบหยอดโพโลเนียม-210 ลงในแก้วน้ำชา

“ไร้สี ไร้กลิ่น หลายคนเรียกมันว่า ยาพิษสมบูรณ์แบบ” โดยเมื่อรับโพโลเนียมเข้าร่างกาย มันจะกระจายไปทั่วร่าง ทั้งไตและไขกระดูก ทำให้ผมร่วง อาเจียน ท้องเสีย ก่อนจะเสียชีวิต และไม่มียารักษาโพโลเนียมในปัจจุบัน

เรื่องจากปก : ไซยาไนด์ภัยฟีเวอร์….”เมื่อไซยาไนด์ ยังไม่ซาโยนาระ” 

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ฉบับที่ 378 วันที่ 6-11 พฤษภาคม 2566
https://book.bangkok-today.com/books/cijo/#p=2

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post