Digiqole ad

เมื่อสนามสอบเหลื่อมล้ำ ความยุติธรรมเลยถูกตั้งคำถาม

 เมื่อสนามสอบเหลื่อมล้ำ ความยุติธรรมเลยถูกตั้งคำถาม
Social sharing

Digiqole ad
ระบบยุติธรรมของประเทศไทยมีปัญหา น่าจะเป็นประโยคที่หลายฝ่ายเห็นร่วมกันจากหลายเหตุการณ์ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะมองจากสายตาของผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง หรือในฐานะผู้สังเกตการณ์ และกระทั่งตัวปัญหาที่ว่านั้น แต่ละฝ่ายอาจมองต่างกันในรายละเอียดก็ตาม
.
แขนงหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมที่ถูกตั้งคำถามมากที่สุด หนีไม่พ้นสำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งวันนี้ (11 ต.ค. 2566) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีวาระรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำนักงานศาลยุติธรรม สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 พอดี
.
หนึ่งในการอภิปรายที่ชี้ให้เห็นปัญหาสำคัญ คือการอภิปรายโดย ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ – ทนายแจม – Sasinan Thamnithinan สส.กรุงเทพฯ พรรคก้าวไกล ที่ตั้งคำถามถึงกรณีงบประมาณด้านเบี้ยประชุมที่เพิ่มขึ้นทุกปี และความเหลื่อมล้ำในสนามสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา
.
.
📌[ เบี้ยประชุมสูง สวนทางความยุติธรรมที่ประชาชนคาดหวังหรือไม่ ]📌
.
ศศินันท์ ระบุว่าจากที่ได้อ่านงบการเงินของศาลยุติธรรม พบว่ามีงบประมาณด้านหนึ่งที่น่าตั้งข้อสังเกต นั่นคือค่าใช้จ่ายในการประชุมที่เพิ่มขึ้นกว่า 119 ล้านกว่าบาท ในปี 2565 เป็น 319 ล้านบาท
.
ซึ่งเมื่อได้ไปสืบค้นข้อมูลย้อนหลังมาตั้งแต่ปี 2561 ก็พบว่าค่าใช้จ่ายในการจ่ายเบี้ยประชุมอยู่เฉลี่ยปีละ 207 ล้านกว่าบาท มีการกำหนดกรอบเอาไว้ ประกอบด้วยของประธาน ประมาณ 10,000 บาทต่อครั้ง, องค์ประชุมคนละ 8,000 บาท, ผู้เข้าร่วมคนละ 8,000 บาท และ เลขานุการคนละ 6,000 บาท
.
แม้จะมีการกำหนดกรอบเอาไว้แล้ว แต่ตัวเลข 319 ล้านกว่าบาทก็ยังเป็นตัวเลขที่สูง ซึ่งประชาชนอาจตั้งคำถามต่อความสมเหตุสมผล ว่าเป็นไปเพื่อให้ศาลมีความยุติธรรมและเที่ยงธรรมมากขึ้นอย่างไร และในปี 2566 ค่าใช้จ่ายในการประชุมจะขึ้นไปอีกเป็นเท่าไร
.
ในอีกนัยหนึ่ง นี่คือคำถามว่า เบี้ยประชุมที่เพิ่มขึ้นทุกปีอย่างนี้ กำลังสวนทางกับความยุติธรรมที่ประชาชนคาดหวังจะได้รับจากกระบวนการยุติธรรมหรือไม่?
.
.
📌[ สนามสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา ความเหลื่อมล้ำตั้งแต่เริ่มต้น ]📌
.
ศศินันท์ ยังได้อภิปรายต่อถึงประเด็นต่อไป เกี่ยวกับกระบวนการคัดสรรผู้พิพากษา โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำในการสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา โดยระบุว่าในวงการนักศึกษาด้านกฎหมาย เป็นที่ทราบดีว่าช่องทางการเป็นผู้พิพากษาต้องผ่านการสอบ โดยมี 3 สนาม อันประกอบด้วย
.
1) “สนามใหญ่” ที่ผู้สอบต้องสอบผ่านเนติบัณฑิต จบปริญญาตรีด้านกฎหมาย และประกอบอาชีพด้านกฎหมาย 2 ปี
2) “สนามเล็ก” ผู้สอบต้องสอบผ่านเนติบัณฑิต และจบปริญญาโทด้านกฎหมาย และ
3) “สนามจิ๋ว” ผู้สอบต้องสอบผ่านเนติบัณฑิต จบปริญญาโทด้านกฎหมายจากต่างประเทศหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 ปี และประกอบอาชีพด้านกฎหมาย 1 ปี หรือจบปริญญาโทด้านกฎหมายจากต่างประเทศหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือจบปริญญาเอกด้านกฎหมายมหาวิทยาลัยในไทย
.
ไม่นานมานี้ มีการแชร์ในโลกออนไลน์ ถึงตัวเลขที่น่าตั้งข้อสังเกต ว่าผู้ที่สอบผ่านข้อเขียนสนามจิ๋วในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาในปี 2561 มีจำนวน 21 คน ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพด้านกฎหมายมา ซึ่งอาจตีความได้ว่าเมื่อเรียนจบแล้วก็เข้าสู่สนามสอบทันที และเมื่อพิจารณาถึงคะแนนสอบของแต่ละสนาม จะพบว่ามีเกณฑ์ที่แตกต่างกัน สนามจิ๋วให้น้ำหนักกับการสอบภาษามากกว่าด้านอื่นๆ สนามใหญ่เน้นด้านกฎหมายมากที่สุด
.
ข้อมูลที่น่าสนใจ คือในปี 2560 การสอบสนามใหญ่มีผู้ผ่านการคัดเลือก 33 จาก 7 พันกว่าคน ถือเป็น 0.47% ของผู้สมัคร ขณะที่สนามจิ๋วในปีเดียวกัน มีผู้ผ่านการคัดเลือก 116 คนจากผู้สมัคร 348 คน ถือเป็น 33.33% ของผู้สมัครทั้งหมด ในปี 2561 อัตราสอบผ่านสนามใหญ่อยู่ที่ 1.76% สนามเล็ก 1.40% สนามจิ๋ว 22.18%
.
จากสถิติจะเห็นได้ว่ามีความเหลื่อมล้ำในการสอบคัดเลือกผู้ช่วยผู้พิพากษา โดยในสนามจิ๋วมีโอกาสมากกว่าสนามอื่นถึง 10 เท่าเป็นอย่างน้อย และสะท้อนให้เห็นว่ามีความเหลื่อมล้ำในการสอบในสนามต่างๆ อยู่จริง ยังไม่นับรวมกับการ ‘เก็บคดี’ ที่ในวงการนักศึกษากฎหมายทราบดีว่าเมื่อจบมาแล้ว ก็อาจไปขอเก็บคดีตามศาล เพื่อให้ได้คดีตามจำนวนที่จะสอบผู้พิพากษาได้ โดยไม่ได้ว่าความจริง แล้วเอาเวลาไปอ่านหนังสือสอบแทน
.
📌[ ความผิดปกติในกระบวนการยุติธรรม ]📌
.
นำมาสู่คำถามต่อไป ว่านี่หรือคือกระบวนการคัดสรร ที่จะทำให้เราได้ผู้พิพากษา ที่จะมาเป็นผู้ตัดสินชะตาชีวิตประชาชน?
.
เกิดอะไรขึ้น เมื่อเบี้ยประชุมเติบโต ขณะที่กระบวนการคัดเลือกผู้พิพากษาก็เหลื่อมล้ำขึ้น?
.
ความเหลื่อมล้ำทั้งของกระบวนการสอบคัดเลือก การเก็บคดี และผลประโยชน์ที่มาทั้งในรูปแบบของสวัสดิการหรือเบี้ยประชุม ในวงการศาล จะเกี่ยวข้องหรือไม่กับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรม ที่ผ่านมายาวนานข้ามทศวรรษหลายกรณี
.
ซึ่งหากจะให้ยกเพียงกรณีล่าสุดที่เกิดขึ้น เฉพาะการให้ประกันตัวบุคคล ก็จะเห็นได้ว่ามีอะไรบางอย่างที่ผิดปกติเกิดขึ้นจริงๆ เช่น
.
– ในคดี มาตรา 112 ของ อานนท์ นำภา จำคุก 4 ปีไม่รอลงอาญา ไม่ให้ประกันตัวทั้งที่ไม่เคยหลบหนีไปไหน
– ในคดี มาตรา 112 ของ วารุณี จำคุก 1 ปี 6 เดือน ไม่ให้ประกันตัว โดยอ้างว่าเป็นความผิดร้ายแรงและเชื่อว่าจะหลบหนี ทั้งที่เจ้าตัวไม่เคยหลบหนี
– ในคดีของ อิทธิพล คุณปลื้ม ศาลให้ประกันตัวทั้งที่มีประวัติหลบหนี
– ในคดีของ ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ที่ศาลยกฟ้องคดีฆาตกรรม “บิลลี่” โดยชี้ว่าหลักฐานไม่เพียงพอ ให้ผิดแค่คดี มาตรา 157 แต่ศาลก็ให้ประกันตัวไปสู้คดีต่อ
.
ทั้งหมดนี้จะเป็นเรื่องเดียวกัน ที่เชื่อมเกี่ยวเป็นต้นตอและเป็นผลพวงของกันและกัน หรือเป็นแค่อีกด้านหนึ่งของปัญหา จะอย่างไรก็แล้วแต่ มันสะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมของไทย มีปัญหาที่ไม่สามารถปล่อยผ่านได้จริงๆ
ที่มา : เพจพรรคก้าวไกล
Facebook Comments


Social sharing

Related post