Digiqole ad

เผยความคืบหน้าการทำงานของคณะกรรมการฯ เพื่อนำไปสู่การทำประชามติสอบถามความเห็นพี่น้องประชาชนและการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

 เผยความคืบหน้าการทำงานของคณะกรรมการฯ เพื่อนำไปสู่การทำประชามติสอบถามความเห็นพี่น้องประชาชนและการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
Social sharing

Digiqole ad
นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในฐานะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการเพื่อพิจาณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เปิดเผยความคืบหน้าการทำงานของคณะกรรมการฯ เพื่อนำไปสู่การทำประชามติสอบถามความเห็นพี่น้องประชาชนและการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยมุ่งมั่นที่จะให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนอย่างแท้จริงนั้นจะได้ข้อสรุปภายในปลายปี 2566 นี้และจะมีการนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อเดินหน้ากระบวนการไปสู่การทำประชามติต่อไป
.
ตลอดมารัฐธรรมนูญ 2560 มีข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในสองประเด็น สำคัญคือ
.
ประเด็นแรก คือ เรื่องของที่มา หรือเชิงสัญลักษณ์ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้ร่างโดยผู้ที่อยู่ในเครือข่ายของคณะรัฐประหาร และบังคับใช้ผ่านการทำประชามติที่ไม่ได้เปิดให้รณรงค์อย่างกว้างขวาง จึงถูกมองว่าไม่ยึดโยงกับประชาชน
.
ประเด็นที่สอง คือ เรื่องของเนื้อหา ที่มีข้อกังขาในบางหัวข้อที่ริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน และมีองค์กรต่างๆ ที่มาแทรกแซงการใช้อำนาจโดยตรงของประชาชน
.
ซึ่งทั้งสองประเด็น คือ หัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนเพื่อให้มีการดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
.
พรรคเพื่อไทยเห็นความจำเป็นที่จะต้องร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ยึดโยงกับประชาชน และได้ผลักดันเข้าสู่วาระการทำงานอย่างเร่งด่วนตั้งแต่จัดตั้งรัฐบาล โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติในการประชุม ครม.ครั้งแรก เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจาณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อศึกษาแนวทางการทำประชามติ โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขความคิดเห็นที่แตกต่างในสังคม เพราะในการทำงานระดับรัฐบาลไม่สามารถทำงานโดยขาดความรอบคอบได้ จำเป็นต้องรับฟังเสียงจากทุกฝ่ายให้มากที่สุด จากประชาชนผู้สิทธิออกเสียง เพื่อให้เกิดความเข้าใจและแนวร่วมให้ได้กว้างขวางที่สุด และสามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างราบรื่น
.
การทำงานของคณะกรรมการฯ ได้มีการเสนอกรอบเวลาที่ชัดเจน โดยจะมีการสรุปแผนการดำเนินงานทั้งหมดให้เสร็จก่อนสิ้นปี 2566 และเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และเสนอต่อณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต่อไป
.
การจะทำให้รัฐธรรมนูญเป็นกติกากลางที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ จำเป็นจะต้องได้รับแรงสนับสนุนจากหลายภาคส่วน และในการทำประชามติจะต้องได้เสียงสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ลงคะแนน รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับการพูดคุย ทำความเข้าใจกับทุกฝ่าย เพื่อตกผลึกร่วมกันกับภาคประชาชนให้มากที่สุด
.
คณะกรรมการฯ เล็งเห็นความเสี่ยงที่ว่าหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านในครั้งแรก จะทำให้ต้องเสียงบประมาณและเสียเวลาในการยกร่างใหม่ขึ้นอีกครั้ง และจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายประชาสังคม จึงจำเป็นจะต้องแสวงหาความร่วมมือ การพูดคุยทำความเข้าใจ แต่ละฝ่าย เพื่อให้เห็นพ้องกันให้มากที่สุดและร่วมกันสนับสนุนผลักดันตั้งแต่การเสนอร่างรัฐธรรมนูญในครั้งแรก
.
สำหรับทางเลือกที่มีการเสนอให้แก้ไขรายมาตราไปเรื่อยๆ นั้น ก็ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่รวดเร็ว แต่ก็มีข้อกังวลใจจากประชาชนหลายฝ่าย ในมุมต่างๆ ทั้งเรื่องระยะเวลา การบังคับใช้และการที่ยังมีข้อด่างพร้อยในรัฐธรรมนูญ 2560 อยู่มาก อีกทั้งเรายังต้องการให้พี่น้องประชาชนมีฉันทามติร่วมกัน และต้องการให้เกิดการมีส่วนร่วมจากประชาชนมากที่สุดในทุกขั้นตอน ดังนั้นการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงเป็นความมุ่งมั่นตั้งใจของพรรคเพื่อไทยที่จะทำให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนอย่างแท้จริง
.
การทำงานของคณะกรรมการฯ ที่ผ่านมาทุกกระบวนการ ถือว่าได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายเป็นอย่างดี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อให้กระบวนการเคลื่อนต่อการร่างรัฐธรรมนูญหรือแม้แต่การแก้ไข มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นอย่างแน่นอน
ที่มา : เพจพรรคเพื่อไทย
Facebook Comments


Social sharing

Related post