Digiqole ad

เปิดโลกบันเทิง “มังกรไทย” VS “มังกรหยก”

 เปิดโลกบันเทิง “มังกรไทย” VS “มังกรหยก”
Social sharing

Digiqole ad

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 413 วันที่ 5-11 มกราคม 2567

หน้า 20-21 buzz

“มังกรไทย” VS “มังกรหยก”

            Buzz บางกอกทูเดย์” ต้อนรับ “ปีมังกร” หรือ “ปีมะโรง” ด้วยตำนานภาพยนตร์ไทยที่มีคำว่า “มังกร” ในชื่อเรื่อง และภาพยนตร์-ละครจีนสุดคลาสสิกตลอดกาล “มังกรหยก”

มังกรไทย

 มังกรแดง (2501)

นำแสดงโดย ลือชัย-อมรา  ผลิตโดยภาพยนตร์สหะนาวีไทย โดย สุพรรณ พราหมณ์พันธุ์

ผู้สร้าง เล็บครุฑ ซึ่ง “มังกรแดง” คือภาพยนตร์ไทยเรื่อง ที่ 2 จากการแสดงของ ลือชัย นฤนาท

ดาราลักยิ้ม ที่ได้รับรางวัลจากประชาชน มังกรแดง คือภาพยนตร์ไทยเรื่องหลังสุดจากผลงานของ สุพรรณ พราหมณ์พันธุ์ที่ประชาชนเชื่อถือแล้วจาก เล็บครุฑ ประสิทธิ์ ศิริบรรเทิง สร้างบท ปรีชา ทรัพย์พระวงศ์

เข้าฉายวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2501  ที่โรงหนังศาลาเฉลิมกรุง และศาลาเฉลิมบุรี

มังกรแดง เป็นบทประพันธ์ของ “อรวรรณ” นักประพันธ์อาวุโส ซึ่งยังไม่ได้ตีพิมพ์ที่ไหนมาก่อน

-รายชื่อผู้แสดงมี ลือชัย นฤนาท, อมรา อัศวนนท์, สมถวิล มุกดาประกร, จรัสศรี สายะศิลปี, กรรณิการ์ ดาวคลี่, สุรชาติ ไตรโภค, อบ บุญติด, ดนัย ดุลยพรรณ, สิงห์ มิลินทราศัย ฯลฯ ผู้สร้างถึงกับปั้นรูปปั้นครึ่งตัวของพระเอกลือชัย นฤนาท เพื่อตั้งโชว์ที่ศาลาเฉลิมกรุง (แสดงให้เห็นว่าขณะนั้น ลือชัย ฮอทมากแค่ไหน) โดยจ่ายค่าปั้นไป 4000 บาท

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2501 เกิดเพลิงไหม้ที่แพร่งสรรพศาสตร์ เป็นห้องแถวใกล้บ้านสุพรรณ พราหมณ์พันธุ์ และลามมาติดที่หลังครัว ซึ่งในเวลานั้นทีมงานสร้าง มังกรแดง หลายคนกำลังจะทานอาหารเย็นกัน จึงช่วยกันดับไฟ ส่วนสุพรรณ รีบวิ่งขึ้นชั้นบน รีบหอบฟิล์มหนัง มังกรแดง ราคาล้านของเขาหนีไฟ ปรากฏว่าฟิล์มหนัง มังกรแดง ปลอดภัยดี ยังอยู่ครบถ้วน มังกรแดง ประสบความสำเร็จ โกยเงินไปเกือบ 2 ล้านบาท

 มังกรห้าเล็บ (2506)
นำแสดงโดย ไชยา-พิสมัย ผลิตโดยพันธมิตรภาพยนตร์ ครั้งแรก! ครั้งสำคัญ!…ที่มังกรห้าเล็บ
อาชญนิยายกระฉ่อนกรุงของ อดุลย์ ราชวังอินทร์ ได้นำ พิศมัย วิไลศักดิ์ ดาราชื่อดัง มาพบกับ ไชยา สุริยัน,ทักษิณ แจ่มผล,ฤทธี นฤบาล,สมจิตร ทรัพย์สำรวย, ขวัญใจ สะอาดรักษ์,เมืองเริง ปัทมินทร์, ชาณีย์ ยอดชัย, วิชิต ไวงาน,หม่อมชั้น พวงวัน, ล้อต๊อก, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม,อบ บุญติด, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, ทวนทอง, สำราญ,
ชูวงศ์, บุญเกตุ, แป้น ปลื้มสระไชย, พรชัย วิเชียร โดยมี วีระโชติ กำกับการแสดง ปรีชา ทรัพย์พระวงศ์ ถ่ายภาพ อุไร ศิริสมบัติ กำกับศิลป์ บริษัทวัชระภาพยนตร์จำกัด จัดจำหน่าย ใบปิดวาดโดย เปี๊ยก

 

เก้ามังกร (2506)
ผลิตโดมฤดีโปรดัคชั่น เสนอ 9 ดาราใหญ่ สมบัติ เมทะนี,ประจวบ ฤกษ์ยามดี,ไชยา สุริยัน,แมน ธีระพล,รุจน์ รณภพ,ชาติ ชูพงษ์,บุศรา นฤมิตร,อุษา อัจฉรานิมิต,วรรณา แสงจันทร์ทิพย์ ซึ่งเก้ามังกร ยอดอาชญนิยายที่เกียงไกรที่สุดของ 3 นักประพันธ์ พนมเทียน-ส.เนาวราช-เกรียง ไกรสร โดยมี วรุณ ฉัตรกุล กำกับการแสดง บริษัทสหการภาพยนตร์ไทยจำกัด จัดจำหน่าย ใบปิดวาดโดย ประโยชน์

เสือมังกร (2524)
ผลิตโดย ปริทรรศน์ฟิล์ม เสนอ ภาพยนตร์ยิ่งใหญ่ที่ผสมผสานความแปลกใหม่ไว้ทุกรส ชม..กลเม็ด

การต่อสู้ระหว่างเสือและมังกรที่เต็มไปด้วยชั้นเชิงแห่งความมันส์ เสือมังกรผลงานกำกับของ ชุติมา สุวรรณรัต นำโดย สรพงศ์ ชาตรี,มนตรี เจนอักษร,เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์,อำภา ภูษิต ร่วมด้วย มานพ อัศวเทพ, ลักษณ์ อภิชาติ, อัศวิน รัตนประชา,อนันต์ สัมมาทรัพย์, วิทยา สุขดำรงค์, ชูศรี มีสมมนต์,ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, สุวิน สว่างรัตน์, เด๋อ, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทองแป๊ะ และผู้แสดงประกอบชาวจีนฮ่อและไทยใหญ่อีกนับพัน


ใบปิดวาดโดย นพดล

            มังกรลายไทย (2527)
ผลิตโดย บริษัทแปซิฟิคเอนเตอร์เทนเมนต์จำกัด  เสนอผลงานอันยิ่งใหญ่ ถ่ายทำถึง 3 ประเทศ…
ไทย..ฮ่องกง..ไต้หวัน ทั้งมันทั้งฮา ลวดลายที่เหนือชั้น ตะบันกันจนเหนื่อยอ่อน เขาเก่งในเมืองไทย แล้วยังไปใหญ่ในเมืองมังกร แสนยากร กำกับการแสดง นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี,สินจัย หงส์ไทย,พิศมัย วิไลศักดิ์, ล้อต๊อก, เด๋อ ดอกสะเดา, ลักษณ์ อภิชาติ,รอง เค้ามูลคดี, ไกร ครรชิต, สมควร กระจ่างศาสตร์,
วิทยา สุขดำรงค์, มิสหม่ากุ้ยเจิน, มิสหวังเสี่ยวชิง โดยมี กวนหง กำกับคิวบู๊ไต้หวัน อมร กิจเชวงกุล อำนวยการสร้าง ก้องเกียรติ อัศวินิกุล ถ่ายภาพ ใบปิดวาดโดย บรรหาร

            มังกรเยาวราช (2531 และ 2540)

เวอร์ชั่นปี 2531 นำเสนอโดย ฉัตรชัย เปล่งพานิช, โจวเหวินฟะ, สินจัย หงษ์ไทย, เพ็ญพักตร์ ศิริกุลและเวอร์ชั่น ปี 2540 นำแสดงโดย สุมิต กฤษณะโชค-บุษรา ชลาลัย

            มังกรเจ้าพระยา (2537)

ผลิตโดย บางกอกการภาพยนตร์ ฉลอง ภักดีวิจิตร สร้างและกำกับการแสดง เมื่อใหญ่เจอใหญ่…ด้วยศักดิ์ศรีลูกผู้ชาย! นำแสดงโดย ทอม ดันดี ,ไมเคิล หว่อง,มรกต มณีฉาย,แพรพลอย ทัยคุปต์,สายัณห์ จันทรวิบูลย์, อรรถชัย อนันตเมฆ, สุชีพ ชัยสิทธิ์,มานพ อัศวเทพ, ฤทธิ์ ลือชา, รณ ฤทธิชัย, ธรรมศักดิ์ สุริยน, สมชาย สามิภักดิ์, แรม วรธรรม, วันทนา บุญบันเทิง, ฉลวย, ด.ช.แม็ค, เล็ก ทุบ, โจ๊ก ท่าฉลอม

มังกรหยก

“มังกรหยก” เป็นนิยายกำลังภายในชื่อดังและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเรื่องหนึ่ง แต่งโดย “กิมย้ง” มีภาคต่อในชุดเดียวกันอีกสองภาค คือ “มังกรหยก ภาค 2” และ “ดาบมังกรหยก” แต่ชื่อเรื่องภาษาจีนและภาษาอังกฤษนั้นแยกกันเป็นคนละเรื่อง (ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ คือ The Legend of the Condor Heroes หรือ The Eagle-Shooting Heroes) มีการดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์หลายครั้ง รวมถึงวิดีโอเกม ด้วย ประกอบด้วยกัน 3 ภาค ได้แก่ ก๊วยเจ๋ง เอี๊ยก้วย และเตียบ่อกี้ ก๊วยเจ๋งและเอี๊ยก้วยเป็นภาคต่อกัน แต่ภาคเตียบ่อกี้ เป็นอีกเกือบร้อยปีข้างหน้าต่อจากภาคเอี๊ยก้วย

เนื้อเรื่องย่อ : เรื่องราวเกิดในยุคราชวงศ์ซ้องใต้ รัชสมัยพระเจ้าซ้องหลีจง (พ.ศ. 1767-1807) แผ่นดินจีนเสื่อมโทรมในทุกด้าน อาณาประชาราษฎร์ยากแค้นลำเค็ญ ขุนนางฉ้อราษฎร์บังหลวง กดขี่ข่มเหงชาวจีนด้วยกัน เกี่ยวกับการผจญภัยของเด็กหนุ่มชื่อ “เจ๋ง” ที่เติบโตขึ้นมาในดินแดนของ มองโกล และเดินทางกลับสู่ยุทธจักรในประเทศจีน ได้พบกับอึ้งย้ง ยังได้ฝึกวิชาต่าง ๆ มากมาย ขับไล่พวกมองโกลจากแผ่นดินจีน

ก๊วยเซาเทียน และ เอี้ยทิซิม พี่น้องร่วมสาบาน ถูกใส่ร้ายป้ายสีว่าเป็นกบฏ พวกเขาต่อต้านการจับกุม เข้าสู้พวกทหารที่กลุ้มรุม กระทั่งก๊วยเซาเทียนเสียชีวิต บ้านเรือนถูกเผาผลาญย่อยยับ เอี้ยทิซิม หลีเพ้ง ภรรยาก๊วยเซ่าเทียน และ เปาเซียะเยียก ภรรยาเอี้ยทิซิม หนีกระเซอะกระเซิงไปคนละทิศละทาง ผู้หญิงทั้งสองกำลังตั้งครรภ์ หลีเพ้งให้กำเนิด ก๊วยเจ๋ง ระเหเร่ร่อนไปเติบใหญ่ในแผ่นดินมองโกลใต้ร่มใบบุญเจงกิสข่านผู้ยิ่งใหญ่ ขณะที่เปาเซียะเยียกให้กำเนิด เอี้ยคัง ได้ดีมีสุขในวังไต้กิมก๊กของชาวนีเจิน

ทั้งมองโกลและนีเจิน ล้วนเป็นศัตรูผู้รุกรานและต้องการยึดครองแผ่นดินตงง้วน ก๊วยเจ๋งและเอี้ยคังเติบโตขึ้นท่ามกลางสภาพแวดล้อมและการบ่มเพาะที่ต่างกัน จึงมีพฤตินิสัยไปคนละแบบ ก๊วยเจ๋งได้รับการสั่งสอนย้ำเตือนจาก หลีเพ้ง ผู้เป็นมารดา และ เจ็ดประหลาดกังหนำ ผู้เป็นอาจารย์ ให้แก้แค้นแทนบิดา และยึดมั่นในจิตวิญญาณจีน จึงยินยอมสะบั้นไมตรีกับพวกมองโกล ก็ไม่ยินยอมทำร้ายแผ่นดินตงง้วน อันเป็นมาตุภูมิ ขณะที่ เอี้ยคัง หลงใหลในลาภยศสรรเสริญ ยินยอมรับศัตรูเป็นบิดา กระทั่งยังกล้าย่ำยีบีฑาชาวชนเชื่อชาติเดียวกัน มังกรหยกถูกนักวิชาการด้านจีนศึกษาจำนวนมากวิเคราะห์ว่าแฝงด้วยเนื้อหาชาตินิยมและเชื้อชาตินิยมของพวกฮั่น

ที่มา : ThaiMoviePosters,อินเทอร์เน็ต,วิกิพีเดีย

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 413 วันที่ 5-11 มกราคม 2567

หน้า 20-21 buzz

“มังกรไทย” VS “มังกรหยก”

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ ๔๑๓ ระหว่างวันที่ ๕-๑๑ มกราคม ๒๕๖๗
https://book.bangkok-today.com/books/dyuq/index.html#p=20
(สามารถพลิกอ่านได้เหมือนหนังสือปกติ)

Facebook Comments


Social sharing

Related post