Digiqole ad

เปลี่ยนสนามกอล์ฟกองทัพ เป็นพื้นที่สาธารณะของประชาชน

 เปลี่ยนสนามกอล์ฟกองทัพ เป็นพื้นที่สาธารณะของประชาชน
Social sharing

Digiqole ad
ทราบหรือไม่? ที่ดินราชพัสดุ ตรงแยกปากทางลำลูกกา ที่ ถ.พหลโยธิน บรรจบกับ ถ.วิภาวดีรังสิต และ ถ.ลำลูกกาบริเวณนั้น มีเนื้อที่ราว 700 ไร่ ปัจจุบันกองทัพอากาศขอใช้ประโยชน์ 3 ส่วน
1.เป็นค่ายทหาร คือกรมทหารต่อสู้อากาศยานรักษาพระองค์
2.เป็นสนามกีฬากองทัพอากาศ
3.เป็นสนามกอล์ฟกองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์) ซึ่งในส่วนหลังนี้ พื้นที่มากสุดถึง 626 ไร่
.
สนามกอล์ฟกองทัพอากาศ เกิดขึ้นในปี 2528 หลังจากมีการขยายรันเวย์สนามบินดอนเมือง จนทำให้ “สนามงู” หรือ “สนามกอล์ฟกานตรัตน์” ที่อยู่กลางสนามบิน มีจำนวนหลุมลดลง ในเวลาต่อมากองทัพอากาศจึงใช้ที่ดินที่ใช้ฝึกกระโดดร่มทางยุทธวิธี นำมาทำเป็นสนามกอล์ฟใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
.
เมื่อวันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมา ในการประชุมสภาฯ เชตวัน เตือประโคน – Chetawan Thuaprakhon สส.ปทุมธานี เขต 6 (พื้นที่คูคต-ลำสามแก้ว-ลาดสวาย) พรรคก้าวไกล ได้อภิปรายเสนอญัตติ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้ง กมธ.วิสามัญ พิจารณาศึกษา แนวทางการขอใช้ที่ดินราชพัสดุสนามกอล์ฟธูปะเตมีย์ ในความครอบครองของกองทัพอากาศ เพื่อใช้เป็นสวนสาธาณะ ในการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน ประกบกับญัตติของ เบญจา แสงจันทร์
.
[ กองทัพอากาศ ไม่ยอมจัด “สนามกอล์ฟกองทัพอากาศ(ธูปะเตมีย์)” เป็น “ธุรกิจกองทัพ” อ้างเป็นแค่ “สวัสดิการภายใน” ]
.
เชตวัน ระบุว่า ที่ราชพัสดุในไทยมีทั้งสิ้น 12 ล้านไร่ ข้อมูลจากรายงาน “คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาที่ดิน การออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน (2565) สภาผู้แทนราษฎร” ชี้ว่ากระทรวงกลาโหม ครอบครองมากที่สุด อยู่ที่ 4.59 ล้านไร่ “
.
“เข้าใจได้ถ้าเอาไปเป็นที่ตั้งหน่วยทหาร หรือทำเป็นสนามฝึกซ้อมรบ ประชาชนไม่ติดใจแน่ๆ แต่การเอาที่หลวง ไปทำธุรกิจอย่างโรงแรม ปั๊มน้ำมัน สนามม้า สนามมวย หรือแม้แต่สนามกอล์ฟ เป็นสิ่งที่ประชาชนไม่อาจเข้าใจได้เลย”
.
กับคำถามที่ว่า “ทหารมีไว้ทำไม?” เกิดขึ้นก็เพราะบรรดานายทหารที่หากินกับการทำธุรกิจแบบนี้ ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นรั้วของชาติอย่างแท้จริง แล้วก็ไปเอา “ทหารชั้นผู้น้อย” ที่เขาเป็นทหารอาชีพจริงๆ ที่เขาอยู่ตามชายแดนจริงๆ มาโปรโมตกลบเกลื่อน
.
สำหรับกองทัพอากาศ มีที่ดินอยู่ในความรับผิดชอบทั้งสิ้น 155 แปลง เนื้อที่รวมประมาณ 235,804 ไร่ เมื่อถามทางกระทรวงกลาโหม ซึ่งมาชี้แจงเรื่องการถือครองที่ดินรูปแบบต่างๆ ในกรรมาธิการการทหาร ได้รับคำชี้แจงกลับมาว่า “สนามกอล์ฟกองทัพอากาศ(ธูปะเตมีย์)” เป็น “สวัสดิการภายใน” ไม่ใช่ “สวัสดิการเชิงธุรกิจ”
.
“พูดง่ายๆ คือ ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำธุรกิจแบบมีรายได้แล้วแบ่งเงินเข้าคลัง แต่เป็นสวัสดิการภายในของทหาร ที่เปิดให้คนทั่วไปเข้ามาใช้ได้ด้วย โดยมีการเก็บเงิน เล็กๆ น้อยๆ ซึ่งก็ไม่น้อย ปีหนึ่งน่าจะหลายตังค์ รายได้ไปตรงไหนบ้าง บางทีประชาชนก็อยากรู้”
.
ปี 2528 ที่เกิดสนามกอล์ฟ(ธูปะเตมีย์) เข้าใจได้ว่าบริเวณนี้ไกลปืนเที่ยง เป็นทุ่งโล่ง ไม่ค่อยมีบ้านเรือนผู้คน แต่ปัจจุบัน 39 ปีผ่านไปแล้ว พื้นที่นี้เปลี่ยนไปอย่างมาก เป็นชุมชน เป็นหมู่บ้าน ผู้คนอาศัยกันอยู่อย่างหนาแน่น วันนี้ถ้าจะออกกำลังกาย คนในละแวกนี้มีพื้นที่ปลอดภัยออกกำลังกายน้อยมาก บ้างก็ไปวิ่งในซอยตัน บ้างก็วิ่งอยู่ริมบนนถนนลำลูกกาซอย 1 หลังสนามกอล์ฟกองทัพอากาศ ซึ่งมีรถราวิ่งขวักไขว่ บ้างต้องไปวิ่งบนฟุตบาทริมถนน
.
“ก็จริงอยู่ว่า สนามกีฬากองทัพอากาศนั้นเปิดให้คนทั่วไปเข้าใช้บริการ แต่สำหรับผมและคนที่อยากเห็นการเปลี่ยนสนามกอล์ฟแห่งนี้เป็นสวนสาธารณะ เรามองว่ามันคนละหน้าที่ คนละฟังก์ชัน เพราะสิ่งที่ประชาชนอยากได้ คือ พื้นที่สาธารณะ”
.
“พื้นที่สาธารณะ” ที่ประชาชนอยากได้ หมายถึงสวนสาธารณะที่มีสีเขียวของต้นไม้ใบหญ้าเป็นปอดของเมือง หรือหมายถึงศูนย์เรียนรู้ ไม่ว่าจะห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น หรือดนตรีในสวน นั่นก็ขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมออกแบบของประชาชนในกรอบการบริหารจัดการของท้องถิ่น
.
[ เสนอ 3 แนวทางความเป็นไปได้ เปลี่ยน “สนามกอล์ฟ” เป็น “สวนสาธารณะ” ]
.
(1) กองทัพอากาศเลิกทำสนามกอล์ฟธูปะเตมีย์ คืนที่กลับให้กับกรมธนารักษ์ จากนั้นให้หน่วยงานอื่นอย่างองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ปทุมธานี มาขอใช้ที่ดินนี้ ทำสวนสาธารณะ ศูนย์เรียนรู้ ทำ Public Space
.
(2) กองทัพอากาศเลิกทำสนามกอล์ฟ แต่ยังอยากครอบครองที่นี้อยู่ ก็ทำหนังสือแสดงความเห็นชอบให้ อบจ. มาจัดการทำสวนสาธารณะให้
.
(3) กองทัพอากาศไม่คืนที่ให้กับราชพัสดุ ยังครองที่ไว้ดังเดิม แต่เปลี่ยนพื้นที่ของสนามกอล์ฟ ให้กลายมาเป็นสวนสาธารณะแทน
.
“ที่ดินหลวงผืนใหญ่ใจกลางเมือง ที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นนี้ ไม่ควรเป็น ‘สนามกอล์ฟ’ อีกต่อไป แต่ควรเอามาทำเป็นสวนสาธารณะ เอามาทำเป็นศูนย์เรียนรู้ เอามาทำเป็น Public Space ให้คนทุกเพศทุกวัยได้เข้ามาใช้ประโยชน์ ให้เป็นไปเพื่อคนส่วนใหญ่ ไม่ใช่แค่เพียงนายพล หรือคนรวยที่มาตีกอล์ฟเพียงไม่กี่คน”
.
ตัวอย่างที่ทำสำเร็จมาแล้ว เช่นกรณีใกล้ๆ รัฐสภา ที่ดินซึ่งเคยเป็นโรงงานทอผ้า กรมอุตสาหกรรมทหาร กระทรวงกลาโหม เนื้อที่ 30 ไร่ 80 ตารางวา ก็มีการคืนให้ราชพัสดุ และต่อมาทางกรุงเทพมหานครก็นำมาทำเป็นสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติเกียกกาย
.
“แล้วทำไมกองทัพอากาศจะทำไม่ได้ ทำไม อบจ.ปทุมธานี จะดูแลไม่ได้” เชตวันมั่นใจว่าการที่ทั้ง 2 หน่วยงานเข้ามาดูแลสวนสาธารณะ ซึ่งจะกลายเป็น Public Space แห่งใหม่ที่สำคัญของคนปทุมธานีนั้น เป็นเรื่องที่ “มีความเป็นไปได้อย่างแน่นอน”
ที่มา : เพจพรรคก้าวไกล
Facebook Comments


Social sharing

Related post