Digiqole ad

เซอร์ พอล สมิธ ดีไซเนอร์ระดับโลก บรรยายพิเศษครั้งแรกในไทย ให้กับนิสิตแฟชั่น

 เซอร์ พอล สมิธ ดีไซเนอร์ระดับโลก บรรยายพิเศษครั้งแรกในไทย ให้กับนิสิตแฟชั่น
Social sharing

Digiqole ad

เป็นงานสัมมนาที่อบอวลไปด้วยร้อยยิ้ม ความสนุก และจุดแพชชันให้กับคณาจารย์ นิสิตคณะแฟชั่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) และผู้ที่สนใจ สำหรับ เซอร์ พอล สมิธ (Sir Paul Smith) ดีไซเนอร์ระดับโลก และผู้ก่อตั้ง Paul Smith (พอล สมิธ) แบรนด์แฟชั่นสัญชาติอังกฤษที่นอกจากมาเยือนเมืองไทย เพื่อร่วมเปิด    แฟล็กชิปสโตร์สาขา Central Embassy แล้ว เซอร์ พอล ยังมาบรรยายพิเศษให้กับคณาจารย์และนิสิตแฟชั่น มศว.  (FASH SWU) ในหัวข้อ “ความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจ” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและนำไปปรับใช้  ในการทำงานในอนาคต ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มาบรรยายให้กับนิสิตแฟชั่นที่ประเทศไทย โดยมี จิตรฤดี พนิตพล รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มสินค้าแฟชั่นและนาฬิกา บริษัท เซ็นทรัล มาร์เก็ตติ้ง กรุ๊ป จำกัด, วรดา วงษ์ขันธ์   ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มสินค้าแฟชั่น บริษัท เซ็นทรัล มาร์เก็ตติ้ง กรุ๊ป จำกัด, ผศ.ดร.นัดดาวดี บุญญะเดโช, ผศ.ดร.รวิเทพ มุสิกะปาน ให้การต้อนรับ พร้อมด้วย สธน ตันตราภรณ์, ภทรฤน พงษ์ประสิทธิ์, พิมพ์ดาว สุขะหุต, มทินา สุขะหุต มาร่วมฟังสัมมมา ณ หอประชุมใหญ่ ชั้น 4 ศูนย์ศิลปกรรมแห่งประเทศไทย อาคารนวัตกรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันก่อน

         โดยการบรรยายพิเศษครั้งนี้ เซอร์ พอล สมิธ เผยถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีค้นหาแรงบันดาลใจได้จากทุกสิ่งรอบตัว ว่า การออกแบบที่แตกต่าง เริ่มได้จากการคิดนอกกรอบ การมองหาแรงบันดาลใจที่อยู่รอบตัว และเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ สิ่งเหล่านี้จะทำให้พบกับแนวคิดใหม่ๆ การออกแบบจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ และความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งเซอร์ พอล ยังแนะนำว่า การหาประสบการณ์เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับลูกค้า หาประสบการณ์เพื่อเรียนรู้การทำงานร่วมกับนักออกแบบคนอื่นๆ ก่อนที่จะเปิดธุรกิจของตัวเอง เพราะโลกแห่งการแข่งขันนั้นยิ่งใหญ่ รวมถึงไม่ทำอะไรที่แบรนด์อื่นทำไปแล้ว การที่จะประสบความสำเร็จนั้นต้องพยายามคิดให้แตกต่าง และแรงบันดาลใจมีอยู่ทุกที่ เช่น การเห็นปากกาหมึกซึมแบบวินเทจที่มันดูเก่ามากหากนำมาเขียน แต่หากนำสีของปลอกปากกามาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบลวดลายเฉดสี แจกันสีน้ำเงินใบเก่าวางอยู่บนสนามหญ้าสีเขียว สู่การออกแบบลายทางระหว่างสีน้ำเงินและสีเขียว

ในการบรรยายครั้งนี้ เซอร์ พอล สมิธ เน้นย้ำถึงการคิดนอกกรอบที่สร้างความแตกต่าง เพราะความแตกต่างนี่เองที่จะสร้างแรงดึงดูดให้ผู้คนหันมาสนใจแบรนด์ ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดในโลกแห่งธุรกิจ เช่นเดียวกับการออกแบบ Flagship store (แฟล็กชิพสโตร์) ของแบรนด์ Paul Smith ที่ให้ความสำคัญกับการดีไซน์ อย่าง Paul Smith Store ที่ลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมืองขนาดใหญ่และผู้คนส่วนใหญ่เดินทางด้วยรถ ทางเท้าแทบจะไม่มีคนเดิน จากเมืองที่แสนราบเรียบ เซอร์ พอล เกิดแนวคิดที่อยากเติมสีสันสดใสที่โดดเด่นจริงๆ ในเมือง เลยออกแบบร้านให้เป็น สีชมพูสดใส ปัจจุบัน Paul Smith ในลอสแอนเจลิส มีผู้คนเช็คอิน ถ่ายรูปและโพสต์ลงโซเซียลอย่างล้นหลาม ภาพกำแพงสีชมพูตัดกับท้องฟ้าสีครามของเมืองลอสแอนเจลิส ตอนนี้เป็นอาคารที่มี Instagram มากที่สุดในแคลิฟอร์เนียและฮอลลีวูดทั้งหมด มากกว่าอาคารอื่นๆ

เซอร์ พอล สมิธ กล่าวทิ้งท้ายว่า การคอลแลปส์ระหว่างแบรนด์เป็นกลยุทธ์การตลาดเพื่อขยายฐานกลุ่มลูกค้า แบรนด์ Paul Smith ที่มักสร้างปรากฏการณ์ความแปลกใหม่ด้วยการคอลแลปส์กับแบรนด์ที่ดำเนินธุรกิจต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น Paul Smith + Anglepoise ผู้ผลิตโคมไฟชื่อดัง ซึ่งทำให้แบรนด์ Paul Smith ไปปรากฏบนนิตยสารตกแต่งภายใน หรือในนิตยสารเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งแน่นอนว่าแฟชั่นของคุณจะอยู่ในนิตยสารแฟชั่นเท่านั้น จึงเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์อีกทางหนึ่ง

ร่วมค้นหาตัวตนอันมีชีวิตชีวาไปกับ Paul Smith แบรนด์แฟชั่นสัญชาติอังกฤษ ซึ่งนำเข้าและจัดจำหน่ายในประเทศไทย โดยเซ็นทรัล มาร์เก็ตติ้ง กรุ๊ป (CMG) ได้ที่ Paul Smith Flagship Store   ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี พร้อมทั้งเคาน์เตอร์อีก 3 สาขา ณ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลชิดลม, เซ็นทรัลลาดพร้าว และเซ็นทรัลภูเก็ต ฟลอเรสต้า

Facebook Comments


Social sharing

Related post