Digiqole ad

เครียด พักผ่อนน้อย เสี่ยง “โรคลมพิษ” จริงหรือ?

 เครียด พักผ่อนน้อย เสี่ยง “โรคลมพิษ” จริงหรือ?
Social sharing

Digiqole ad

โรคลมพิษ ผื่นคันที่เกิดขึ้นบนผิวหนังเป็นอาการที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยพบมากที่สุดในช่วงอายุ 20-40 ปี หรือ “วัยทำงาน” สาเหตุของลมพิษที่พบบ่อย ได้แก่ อาหาร ยา การติดเชื้อ หรือแมลงกัดต่อย และไม่ทราบสาเหตุ นอกจากนี้ ความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอก็สามารถกระตุ้นให้เกิดผื่นลมพิษได้ เช่นกัน 

ลมพิษแบ่งเป็น 2 ชนิด  คือ

  • ลมพิษชนิดเฉียบพลัน (Acute Urticaria) ลมพิษที่เกิดขึ้นและหายไปได้เองอย่างรวดเร็ว โดยส่วนใหญ่อาการจะหายไปเองภายในเวลา 2 สัปดาห์ หรือในรายที่เป็นนานมักจะเป็นติดต่อกันไม่เกิน 6 สัปดาห์   
  • ลมพิษชนิดเรื้อรัง (Chronic Urticaria) มีอาการลมพิษ เป็นๆหายๆ อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์และเป็น ต่อเนื่องกันเกิน 6 สัปดาห์ขึ้น ไปโดยส่วนใหญ่ลมพิษชนิดเรื้อรังจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่อาการของลมพิษจะทำให้เกิดความรำคาญหรือความไม่สบายตัว ซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีวิตหรือการนอนหลับของผู้เป็นลมพิษได้

เมื่อเป็นโรคลมพิษควรปฏิบัติตัวอย่างไร?

ค้นหาสาเหตุและหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดลมพิษ

  • รับประทานยาและทายาตามที่แพทย์แนะนำ
  • หลีกเลี่ยงความเครียด ความวิตกกังวัล และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 
  • หลีกเลี่ยงการเกา ขัด หรือถู บริเวณผื่นลมพิษ

การรักษาโรคลมพิษมีอะไรบ้าง?

  • ยาต้านฮีสตามีน ซึ่งมีตัวยาหลายกลุ่ม การจะเลือกใช้ยาตัวใดขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ การตอบสนองต่อยาต้านฮีสตามีนในผู้ป่วยแต่ละรายอาจไม่เหมือนกัน ผู้ป่วยบางรายใช้ยาเพียงตัวเดียวก็ได้ผลดี แต่บางรายแพทย์อาจต้องเปลี่ยนไปใช้ยาต้านฮีสตามีนในกลุ่มอื่น หรือใช้ยาหลายตัวร่วมกัน เพื่อควบคุมอาการ
  • คาลาไมน์โลชั่น ช่วยบรรเทาอาการคันบริเวณที่เกิดลมพิษได้ สามารถใช้ร่วมกับครีมชุ่มชื้นอื่นๆ โดยแนะนำแบบที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม เพื่อหลีกเลี่ยงการแพ้ที่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางราย
  • ลมพิษเป็นโรคที่รักษาได้ มีวิธีในการดูแลและรักษา ผู้ป่วยควรดูแลเรื่องอาหาร ยา พักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงความเครียดทั้งทางกายและอารมณ์จิตใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดลมพิษได้ทั้งสิ้น 

      ************************************************

  • บทความโดย : แพทย์หญิง ทิวานันท์ พรหมวรานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังและความงาม โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
Facebook Comments


Social sharing

Related post