
อำลาอาลัย “สมบัติ” แห่งแผ่นดิน


นับเป็นการสูญเสียของวงการบันเทิงไทยอีกครั้ง เมื่อ “พ่อแอ๊ด-สมบัติ เมทะนี” พระเอกตลอดกาล ได้เสียชีวิตอย่างสงบในวัย 85 ปี เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2565 โดยกำหนดพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพและสวดพระอภิธรรมศพ ณ ศาลา 3 วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ในวันที่ 18 สิงหาคม 2565 เวลา 17.00 น. และสวดพระอิธรรมศพระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม 2565 จากนั้นจะเก็บศพไว้บำเพ็ญกุศลเป็นเวลา 100 วัน
ทั้งนี้ขอย้อนผลงานของ “พ่อแอ๊ด-สมบัติ เมทะนี”
. เกิดตรงกับวันเกิดสุนทรภู่ วันที่ 26 มิถุนายน (พ.ศ.2480) เป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี
. เข้าสู่วงการครั้งแรกใน พ.ศ. 2503 โดยเป็นพระเอกละครโทรทัศน์ทันทีทางช่อง 7 ขาวดำ (ช่อง 5 ในปัจจุบัน) คู่กับ วิไลวรรณ วัฒนพานิช ในละครเรื่อง หัวใจปรารถนา
.แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก รุ้งเพชร คู่กับ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ใน พ.ศ. 2504
.ในช่วงที่ได้รับความนิยมถึงขีดสุด เคยรับงานแสดงพร้อมกันมากถึง 28 เรื่อง[1]
.เป็นนักร้อง มีผลงานอัดแผ่นเสียงอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ จุฬาตรีคูณ, เกาะสวาทหาดสวรรค์ และ วิวาห์พาฝัน เป็นต้น
.กินเนสบุ๊คยังบันทึกไว้ว่าเป็นนักแสดงที่รับบทเป็นพระเอกมากที่สุดในโลก โดยแสดงเป็นพระเอกถึง 617 เรื่อง
.เคยกำกับภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น ลูกสาวกำนัน, แม่แตงร่มใบ และ น.ส.ลูกหว้า
.เคยเป็นพิธีกรช่วงสั้น ๆ ทางรายการ วิก 07 ทางช่อง 7 เมื่อ พ.ศ. 2533
.ขึ้นคอนเสิร์ต พระเอ๊ก..พระเอก ปี 2546) และ คอนเสิร์ต 99 ปี ชาลี อินทรวิจิตร ปี 2564
.แสดงมิวสิกวิดีโอ
-เพลง คืนทรมาน / รักนี้สีดำ ของ ดาวใจ ไพจิตร อัลบั้ม อภิมหาอมตะนิรันดร์กาล (ปี 2532)
-เพลง รับไม่ได้ ของ อุเทน พรหมมินทร์ อัลบั้ม ขออภัยมือใหม่ (ปี 2535)
-เพลง ลมสวาท / ลาก่อนความรัก/ทาสรัก ของ เรนโบว์ อัลบั้ม เรนโบว์นัส (ปี 2536)
-เพลง รักเดียวใจเดียว ของ เสือ ธนพล อินทฤทธิ์ อัลบั้ม คนใช้ชีวิต (ปี 2543)
-เพลง แสบ ของ ดา เอ็นโดรฟิน อัลบั้ม แสนแสบ (ปี 2552)
.รางวัลที่ได้รับ
พ.ศ. 2508 รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 8 – นักแสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยม – ศึกบางระจัน
พ.ศ. 2534 รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 15 – นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม – มือขวาอาถรรพ์
พ.ศ. 2558 รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 24 – รางวัลสุพรรณหงส์เกียรติยศ สำหรับผู้ที่มีผลงานทางด้านภาพยนตร์มาอย่างยาวนาน
พ.ศ. 2559 ศิลปินแห่งชาติประจำปี 2559 – ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์-ละครโทรทัศน์)
.เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2550 – Order of the White Elephant – 2nd Class (Thailand) ribbon.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[12]
พ.ศ. 2531 – Order of the Crown of Thailand – 5th Class (Thailand) ribbon.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
. สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ จากสถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ และระดับปริญญาโท-เอก สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
.ลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2549 ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้รับเลือกตั้งเป็นอันดับ 6 จากที่ต้องการ 18 คนด้วยคะแนน 53,526 เสียง แต่ก่อนที่จะได้เข้าตำแหน่งก็มีการทำรัฐประหารก่อน ต่อมาคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ แต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 โดยเป็นตัวแทนฝ่าย สื่อสารมวลชน นักเขียน ศิลปิน
ต่อมาเข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาราช โดยได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรค และลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แบบสัดส่วน กลุ่มที่ 6 สังกัดพรรคประชาราช ลำดับที่ 1แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง จากนั้นสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย[9][10] และลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 102 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง (ที่มาข้อมูล : วิกิพีเดีย/ภาพ : อินเทอร์เน็ต)