Digiqole ad

“อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด” สส.พรรคเพื่อไทย ร่วมอภิปรายในญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางบูรณาการร่วมกันระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและจังหวัดพื้นที่ในเขตป่าสงวนเพื่อลดขั้นตอนการอนุมัติของอธิบดีฯ

 “อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด” สส.พรรคเพื่อไทย ร่วมอภิปรายในญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางบูรณาการร่วมกันระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและจังหวัดพื้นที่ในเขตป่าสงวนเพื่อลดขั้นตอนการอนุมัติของอธิบดีฯ
Social sharing

Digiqole ad
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ร่วมอภิปรายในญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางบูรณาการร่วมกันระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและจังหวัดพื้นที่ในเขตป่าสงวนเพื่อลดขั้นตอนการอนุมัติของอธิบดี ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 โดยได้อภิปรายถึงความพยายามของทุกรัฐบาลที่จะเร่งแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากขั้นตอนของกฎหมาย พร้อมได้ฝากข้อเสนอแนะในการแก้ไขกฎหมายนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนด้วย
.
นายอนุสรณ์ กล่าวว่า ทุกรัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาการลักลอบตัดไม้ บุกรุกป่า โดยพบว่ามีปัญหาและอุปสรรค กล่าวคือ
.
1. การขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าไม้ อุทยานแห่งชาติหรือส่วนราชการที่
เกี่ยวข้องมีชั้นตอนและเอกสารหลักฐานจำนวนมากต้องใช้ระยะเวลา
ดำเนินการ
.
2. กระบวนการขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ เป็นกระบวนการใช้ดุลพินิจ
ของเจ้าหน้าที่ โดยการดำเนินการล่าช้าส่วนหนึ่งเกิดจากเจ้าหน้าที่ไม่
สามารถพิจารณาอนุมัติอนุญาตได้ทันที เนื่องจากเกี่ยวข้องกับระเบียบ
กฎหมาย ข้อบังคับ ต้องมีการตีความและหารือไปยังหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาและหากพื้นที่ดำเนินการคาบ
เกี่ยวกับหลายหน่วยงาน
.
3. ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์
ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการประเภทต่าง ๆ ตามแนวทางปฏิบัติที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนดไว้ก่อนเข้าทำประโยชน์ใน
พื้นที่ ป่าไม้ทุกกรณี
.
4.การรับฟังความเห็นของประชาชนในการประเมินผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม ซึ่งพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงรายงานการ
ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้หรือไม่เข้าใจรายละเอียดเนื้อหา
.
5.การจัดทำข้อมูลและเอกสารประกอบคำขอออนุญาตการใช้ประโยชน์
ในพื้นที่ป่าต้องอาศัยการบูรณาการร่วมกันจากหลายหน่วยงาน
ประกอบกับพื้นที่ดำเนินการเป็นพื้นที่ผืนใหญ่ ทำให้ต้องใช้เวลาในการ
ตรวจสอบพื้นที่ และจัดทำเอกสารประกอบการอนุญาตให้ครบถ้วนตาม
ระเบียบก่อนจะพิจารณาออกหนังสืออนุญาตได้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาพื้นที่ป่าทับซ้อนกันกับหน่วยราชการอื่นอีก
.
6. กฎ ระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาอนุญาตให้ใช้
ประโยชน์ในพื้นที่ ป่ามีความแตกต่างกัน
.
7. เจ้าหน้าที่ผู้ที่ปฏิบัติงานด้านการอนุญาตใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าไม้ต้อง
ศึกษาและเข้าใจหลักการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ กฎหมาย และมติ
คณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
.
ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานดังกล่าวมีประสิทธิภาพ ถูกต้องรวดเร็ว จึงขอเสนอแนวทางแก้ไขดังนี้
.
1. ทบทวนขั้นตอน และกระบวนการในการขออนุญาตใช้ประโยชน์พื้นที่
ป่าไม้ตลอดจนพื้นที่สงวนของส่วนราชการอื่น ๆ ในท้องถิ่น เพื่อปรับปรุง
แก้ไขระเบียบกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
.
2. จัดทำฐานข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน
ของเจ้าหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
.
3. จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการ
อนุญาตและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานผู้ยื่นขออนุญาตใช้ประโยชน์พื้นที่
ป่าไม้ เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกันในการดำเนินการขอใช้ประโยชน์
ในพื้นที่ป่า
.
4. การตรวจสอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ควร
กระจายอำนาจให้สภาท้องถิ่นเป็นผู้ตัดสินรายงานโครงการขนาดเล็ก
ขนาดกลาง ที่มีผลกระทบเฉพาะคนในท้องถิ่น เป็นการเปิดโอกาสคน
พื้นที่ได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง และให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้
.
5. การจัดทำแผนที่ฐานข้อมูลในการกำหนดแนวเขตการใช้ประโยชน์
และการอนุรักษ์ที่ดินเพื่อให้มีแผนที่ที่แสดงขอบเขตที่ดินทุกประเภทที่
ชัดเจน ไม่ทับซ้อน ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งเรื่องแนวเขตที่ดินทั้ง
ของรัฐและของประชาชนในระยะยาวได้ รวมถึงเร่งรัดกระบวนการ
จัดทำแนวเขตที่ดินหรือ One Map เพื่อแก้ไขปัญหาข้อพิพาทระหว่าง
ภาครัฐกับภาคประชาชน การบุกรุกที่ดินของรัฐ การทับซ้อนกันของแนว
เขตที่ดิน ความเหลื่อมล้ำในการใช้ ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งเกิดจากแนวเขต
ที่ดินของรัฐที่ไม่ชัดเจน และแผนที่ของหน่วยงานอยู่บนมาตราส่วน
ต่างกัน
.
ข้อเสนอแนะ
.
1. ให้ภาครัฐนำรูปแบบ “พื้นที่กันชน” โดยกำหนดเป็นนโยบายหลัก ในการป้องกันกันการบุกรุกพื้นที่ป่าและการลดลงของพื้นที่ป่า เพื่อสงวนรักษา ฟื้นฟู ป้องกัน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความอุดมสมบูรณ์
.
(2) ให้ภาครัฐสนับสนุนส่งเสริมให้คนในชุมชนท้องถิ่นในเขตพื้นที่กันชนเข้ามามีส่วนร่วมป้องกันแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า การลดลงของพื้นที่ป่า การสงวนรักยา ฟื้นฟู ป้องกันทรัพยากรธรรมชาติ
.
ภายหลังการอภิปรายเสร็จสิ้น ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบส่งญัตติดังกล่าวให้คณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดระยะเวลาพิจารณา 90 วัน
ที่มา : เพจพรรคเพื่อไทย
Facebook Comments


Social sharing

Related post