Digiqole ad

ส.ส.พรรคเพื่อไทย ร่วมกันลงชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่..) พ.ศ. ….ต่อท่านประธานรัฐสภา เพื่อเปิดทางให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพื่อนำไปสู่การทำประชามติสอบถามประชาชน และการดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน

 ส.ส.พรรคเพื่อไทย ร่วมกันลงชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่..) พ.ศ. ….ต่อท่านประธานรัฐสภา เพื่อเปิดทางให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพื่อนำไปสู่การทำประชามติสอบถามประชาชน และการดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
Social sharing

Digiqole ad
นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย ส.ส.พรรคเพื่อไทย 122 คน ร่วมกันลงชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ต่อท่านประธานรัฐสภา เพื่อเปิดทางให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพื่อนำไปสู่การทำประชามติสอบถามประชาชน และการดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
.
1. การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ขณะนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนที่คณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งมีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธาน กำลังจัดทำรายงานสรุปเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งรับทราบว่ามีข้อสรุปการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเสนอให้มีการทำประชามติ 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 จะเสนอถามประชาชนก่อน โดยยังไม่มีร่างแก้ไขต่อรัฐสภาว่าสมควรให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ครั้งที่ 2 เมื่อมีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เสนอต่อรัฐสภาและร่างได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว และครั้งที่ 3 เมื่อ ส.ส.ร. ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นแล้ว
.
2. คณะทำงานของพรรคเพื่อไทยเห็นว่าสาระสำคัญของคำวินิจฉัยศาล
รัฐธรรมนูญ ที่ 4/2564 ที่ระบุว่าให้ถามประชาชนเสียก่อนว่าประสงค์จะให้มี
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่นั้น ‘การถามประชาชนเสียก่อนยังไม่มีความชัดเจนว่า ถามก่อนในขั้นตอนใด’ ซึ่งอาจตีความได้ว่าสามารถเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพื่อแก้ไขวิธีแก้รัฐธรรมนูญและเพิ่มเติมหมวดการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยกระบวนการ ส.ส.ร. ไปก่อนได้ และเมื่อรัฐสภาอนุมัติร่างแก้ไข มาตรา 256 ในวาระสามแล้วจึงไปสอบถามประชาชนใน 2 ประเด็น คือ เห็นชอบ ให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ โดยถามพร้อมไปกับคำถามที่ว่า เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ โดยขณะที่สอบถามก็ยังไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เกิดขึ้น จึงถือได้ว่าได้สอบถามประชาชนก่อนจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
.
หากทำได้เช่นนั้นก็สามารถลดทอนการทำประชามติเหลือเพียง 2 ครั้ง ซึ่งจะสามารถลดระยะเวลาและลดภาระงบประมาณได้ 3,000 – 4,000 ล้านบาท จึงเห็นว่าประเด็นดังกล่าวผู้ที่จะชี้ขาดก็คือศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นผู้ออกคำวินิจฉัย ที่ 4/2564
.
3. อย่างไรก็ตามอำนาจหน้าที่และแนวปฏิบัติของศาลรัฐธรรมนูญจะไม่ตอบ
คำถามหรืออธิบายรัฐธรรมนูญ จะทำหน้าที่เป็นองค์กรวินิจฉัย โดยรัฐธรรมนูญให้
ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญได้
แต่จะวินิจฉัยได้ต้องมีคำร้องสู่ศาลรัฐธรรมนูญ โดยจะต้องอ้างปัญหาความขัดแย้ง
หรือความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องอำนาจหน้าที่
.
ซึ่งประเด็นปัญหาในเรื่องนี้ คือ การที่ต้องถามประชามติของประชาชนก่อนว่า เห็นชอบให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่นั้น สามารถกระทำได้โดยเสนอญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ไปก่อน และเมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 แล้ว จึงถามประชามติประชาชนไปพร้อมกับการถามประชามติร่างแก้ไข มาตรา 256 ได้หรือไม่ โดยไม่จำเป็นต้องสอบถามประชาชนก่อนโดยที่ยังไม่ได้เสนอญัตติใดๆ ต่อรัฐสภาเลย
.
4. โดยเหตุดังกล่าว พรรคเพื่อไทยโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดจึง เห็นควรให้เสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต่อประธานรัฐสภา และหากยึด แนวทางที่ผ่านมา หากประธานรัฐสภาไม่บรรจุญัตติดังกล่าวตามข้อเสนอของสำนัก กฎหมายประธานรัฐสภา โดยอ้างว่ามิใช่ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม แต่เป็นการ จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงต้องถามประชาชนเสียก่อน โดยอ้างคำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 4/2564 ขณะที่สมาชิกรัฐสภาเห็นว่าสามารถดำเนินการได้ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา กรณีก็จะเกิดประเด็นความขัดแย้ง เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา และหากเป็นเช่นนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยมีสิทธิที่จะเสนอ ประเด็นความเห็นดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัย อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา โดยขอให้ประธานรัฐสภาส่งคำร้องดังกล่าวไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้ และจะนำไปสู่คำตอบว่าจะต้องทำประชามติกี่ครั้ง
.
พรรคเพื่อไทยมีความตั้งใจและเห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลในการจัดทำ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และเข้าใจดีถึงความสลับซับซ้อน ความเห็นที่แตกต่างกันใน ข้อกฎหมาย เจตนาที่เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในครั้งนี้เป็นไปที่จะหาข้อ ยุติว่าควรทำประชามติกี่ครั้ง หากสามารถหาคำตอบได้ว่าทำประชามติเพียง 2 ครั้ง กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะมีความกระชับ และไม่สิ้นเปลือง งบประมาณแผ่นดินเกินความจำเป็น โดยมิได้มีเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหาเกิดจากคำวินิจฉัยที่ยังไม่ชัดเจนในเรื่องดังกล่าว จึงต้องทำให้เกิดความชัดเจนเท่านั้น หากในที่สุดแล้วศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยใน เรื่องนี้ก็จะถือว่าปัญหาการทำประชามติก็จะจบลงและทุกฝ่ายต้องปฏิบัติตาม
ที่มา : เพจพรรคเพื่อไทย
Facebook Comments


Social sharing

Related post