Digiqole ad

สำนักงานสถิติแห่งชาติ เผย “กรุงเทพมหานคร” จังหวัดที่มีประชากรแฝงมากที่สุด โดยเฉพาะประชากรแฝงกลางวันที่เข้ามาเรียนและมาทำงานมากกว่าร้อยละ 50 ของประชากรแฝงทั้งหมด

 สำนักงานสถิติแห่งชาติ เผย “กรุงเทพมหานคร” จังหวัดที่มีประชากรแฝงมากที่สุด โดยเฉพาะประชากรแฝงกลางวันที่เข้ามาเรียนและมาทำงานมากกว่าร้อยละ 50 ของประชากรแฝงทั้งหมด
Social sharing

Digiqole ad

“กรุงเทพมหานคร” เป็นจังหวัดที่มีประชากรแฝงมากที่สุด  โดยเฉพาะประชากรแฝงกลางวันที่เข้ามาเรียนและมาทำงานมากกว่าร้อยละ 50 ของประชากรแฝงทั้งหมด”

นางสาวสุวรรณี วังกานต์ รองผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำสรุปผลที่สำคัญประชากรแฝงในประเทศไทย       เป็นประจำทุกปี โดยนำข้อมูลจากการสำรวจการย้ายถิ่นของประชากร ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลในไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม) มาทำการประมวลผลเพิ่มเติม เพื่อให้ประเทศมีข้อมูลประชากรแฝง สำหรับหน่วยงานต่าง ๆ นำไปใช้ในการวางแผน กำหนดนโยบายสำหรับบริหารจัดการสวัสดิการ ทั้งด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข สาธารณูปโภค ได้อย่างเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ โดยประชากรแฝง ประกอบด้วยประชากรกลุ่มที่เข้ามาทำงานหรือเรียนหนังสือในจังหวัดที่ตนไม่ได้พักอาศัย ลักษณะเช้าไปเย็นกลับ เรียกว่า “ประชากรแฝงกลางวัน” และประชากรกลุ่มที่มาอาศัยอยู่ประจำแต่ไม่มีการย้ายทะเบียนบ้าน หรือไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านที่ตนพักอาศัย เรียกว่า “ประชากรแฝงกลางคืน” สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

ประชากรแฝงในปีนี้มีจำนวน 9.25 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 13.2 ของประชากรทั้งประเทศ (70.09 ล้านคน) ส่วนใหญ่เป็นประชากรแฝงกลางคืน 8.40 ล้านคน และประชากรแฝงกลางวัน 0.85 ล้านคน ซึ่งเข้ามาทำงาน จำนวน 0.61 ล้านคน และเข้ามาเรียนหนังสือจำนวน 0.24 ล้านคน กรุงเทพมหานครมีประชากรแฝงมากที่สุด โดยเฉพาะประชากรแฝงกลางวันที่เข้ามาเรียนและเข้ามาทำงานมีมากถึงร้อยละ 55.3 และร้อยละ 52.5 ตามลำดับ ส่วนประชากรแฝงกลางคืน มีร้อยละ 32.8 นอกจากนี้ประชากรแฝงกลางคืนยังกระจายตัวในจังหวัดชลบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี และสมุทรสาคร ส่วนประชากรแฝงกลางวันที่เข้ามาทำงาน ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ ปทุมธานี และสิงห์บุรี ประชากรแฝงกลางวันที่เข้ามาเรียน ได้แก่ จังหวัดนครปฐม พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และขอนแก่น เป็นต้น ข้อมูลประชากรแฝงหล่านี้จะช่วยสะท้อนปัญหาเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำ ทั้งด้านการศึกษา ด้านการทำงาน ทำให้เกิดปัญหาการจ้างงาน ปัญหาความแออัตตามมา เป็นต้น

ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรต้องมีการวางแผนการบริหารจัดการให้รองรับกับจำนวนประชากรที่มีอยู่จริงเพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาความแออัดของที่อยู่อาศัย ปัญหาด้านการให้บริการสาธารณสุข และการบริหารจัดการสาธารณูปโภคให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากร เพื่อลดปัญหาต่าง ๆ

พบกับข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.nso.go.th

Facebook Comments


Social sharing

Related post