Digiqole ad

สายเลือดมังกรเลาะรั้วมายา

 สายเลือดมังกรเลาะรั้วมายา
Social sharing

Digiqole ad

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ฉบับที่ 417 วันที่ 2-8 กุมภาพันธ์ 2567

หน้า 20-21 buzz

สายเลือดมังกรเลาะรั้วมายา

ใกล้เทศกาลตรุษจีน อีกหนึ่งเทศกาลสำคัญที่คนไทยเชื้อสายสืบทอดกันมายาวนาน    ถือว่าคนไทยผูกพันกับตรุษจีนไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเทศกาลอื่น   เพราะขนบธรรมเนียมมีอิทธิพลกับพี่น้องชาวไทยหลาอย่าง แม้กระทั่งละครสอดแทรกความเป็นจีน   บางกอกทูเดย์ buzz  หยิบยกละครที่โดดเด่นในใจและคนดูคิดถึงอยากให้กลับมารีเมค

กนกลายโบตั๋น

ผลงานชิ้นเอกของศรีฟ้า ลดาวัลย์ หรือ ม.ล.ศรีฟ้า (ลดาวัลย์) มหาวรรณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ จากวรรณกรรมในหนังสือได้ไปโลดแล่นบนจอแก้วใน พ.ศ.2533 เรื่องราวความแตกต่างกันทั้งเชื้อชาติและฐานะ อยู่ในประเทศที่มีระบอบการปกครองคนละขั้วแต่โชคชะตาก็บันดาลให้ทั้งคู่ได้มาพบกัน  วิภาดา หญิงสาวที่มีเลือดศักดินาเต็มตัว ได้รับการขอร้องจากยายให้ติดตามหาน้าหญิง…ม.ร.ว. ริมทอง ที่ไปใช้ชีวิตอยู่ในเมืองจีนแล้วขาดการติดต่อกันไปหลายสิบปีวูซูหลิน ชายหนุ่มที่มีเลือดครึ่งหนึ่งเป็นศักดินาไทย อีกครึ่งเป็นจีนคอมมิวนิสต์ เขาเป็นลูกชายของคนที่หญิงสาวตามหา และทำให้เธอรู้จักกับความรัก

เสน่ห์นางงิ้ว

ละครโทรทัศน์ แนว พีเรียด-ดราม่า-โรแมนติก จากบทประพันธ์ของ ภราดร ศักดา สร้างเป็นละครโทรทัศน์มาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งแรกปี 2542 ต่อมาปี 2551 และ 2561 มีเนื้อหาสะท้อนสังคมความความแตกต่างทางสังคมของชาวจีนที่อาศัยในประเทศไทย ผ่าน 2 ครอบครัวคือ ครอบครัวเกียรติกำจรผู้เป็นเจ้าของกิจการโรงน้ำปลา และครอบครัวแซ่โง้วเจ้าของคณะงิ้วไซป้อ

สามี

ม.ร.ว.รสิกา หรือ อ้าย  กำลังเผชิญกับมรสุมชีวิตครั้งสำคัญนับจาก มจ.ชัยประกาศ (ภาณุเดช วัฒนสุชาติ) ท่านพ่อของเธอเสียชีวิตไปอย่างกะทันหัน เขาทิ้งหนี้สินอันเกิดจากการทำธุรกิจไว้เป็นภาระมากมายจนทำให้ หม่อมรัตนาวลี  แม่ของรสิกาต้องหาทางดิ้นรนเพื่อชดใช้หนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วังประกาศเกียรติ ที่เป็นบ้านที่รสิกาเติบโตมา รัตนาวลีตัดสินใจแต่งงานกับเจ้าสัวเรียว ลิ้มวัฒนาถาวรกุล ( มหาเศรษฐีที่มุ่งหมายหวังจะกอบกู้ฐานะเพื่อหาทางรักษาวังประกาศเกียรติไว้ให้ได้ รสิการับไม่ได้ที่แม่ยอมขายศักดิ์ศรีไปแต่งงานใหม่ จนถึงขนาดยอมลดตัวไปแต่งงานกับพวกที่วางท่าเป็นเศรษฐีใหม่ รสิกาพูดจาดูถูกหมิ่นน้ำใจทั้งรัตนาวลีและเจ้าสัวเรียวอย่างไม่ไว้หน้า เจ้าสัวเรียวเสียหน้าที่ถูกรสิกาถอนหงอก แต่ก็ชอบใจในความหยิ่งทะนง และไม่สนใจเงินของเจ้าสัว ผิดกับผู้หญิงส่วนใหญ่ เขาจึงนึกอยากได้รสิกามาเป็นสะใภ้

กระท่อมไม้ไผ่

บทประพันธ์ โสภาค สุวรรณ (ผู้เขียน สายโลหิต กับ ญาติกา) เป็นละครพีเรียดย้อนยุคของคนจีนสมัยก่อน ที่ย้ายมาที่ประเทศไทย เป็นละครน้ำดีที่ให้ข้อคิดเกี่ยวกับ ความกตัญญูของคนจีนสมัยนั้น วิถีการดำเนินชีวิตของจีน ของหนึ่งชาวจีนผู้หนึ่ง จากจีนมายังประเทศไทย หมอหนุ่มได้ศึกษาเกี่ยวกับการรักษาแพทย์แผนจีนโบราณ  แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศ  ทำให้ต้องกลายเป็นคนอพยพมาไทย  มีชื่อว่า “เทียนซื่อ”  โดยมีคนที่รู้จักมารอรับอยู่ที่เมืองไทย  เมื่อมาได้ใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก  รับจ้างทำงานไปวัน ๆ จนมาได้พบรักกับ “เทียนหอม” สาวน้อยลูกสาวเจ้าพระยาผู้งดงามอ่อนหวาน  แต่ก็มีอุปสรรคกว่าจะได้เป็นแพทย์แผนโบราณก็เพราะว่า  แพทย์แผนโบราณในเวลานั้นไม่ได้รับการยอมรับในทางกฎหมายเพราะว่าไม่มีใบ ประกอบโรคศิลป์  แต่เทียนซื่อก็ทำให้เป็นที่ยอมรับในครอบครับของเทียนหอมได้


ลอดลายมังกร

นวนิยายที่ประพันธ์โดย ประภัสสร เสวิกุล ว่าด้วยเรื่องราวของชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ที่ชื่อ เหลียง สือพาณิชย์ ที่สร้างเนื้อสร้างตัวจากเสื่อผืนหมอนใบจนกลายเป็นมหาเศรษฐี    ตัวละคร “อาเหลียง”   มีภรรยาชื่อ เหมยหลิง มีลูกชายชื่อ อาเทียน กับ แอนดี้ อาเหลียงได้เดินทางจากซัวเถาสู่เมืองไทยด้วยเรือสำเภาพร้อมกับเพื่อนอีก 2 คน คือ อาจั๊วและหลงจู๊บุ๋น ด้วยความหวังที่จะสร้างเนื้อสร้างตัว  ซึ่งมีทั้งประสบความสำเร็จและล้มเหลว ด้วยความยึดมั่นในคุณธรรมและความขยัน ด้วยการเตือนใจด้วยตัวอักษรคำว่า “หงี”  ซึ่งหมายถึงคุณธรรมที่ติดไว้กลางบ้าน   บทประพันธ์นี้ถูกนำมารีเมคเป้นละครหลายครั้งหลายครา รวมถึงนำไปแสดงเป็นละครเวทีก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน


อยู่กับก๋ง

วรรณกรรมเรื่องเยี่ยมของหยก บูรพา เป็นนามปากกาหนึ่งของ “เฉลิมศักดิ์ รงคผลิน” เป็นเรื่องราวที่ผู้แต่งเขียนขึ้นจากประสบการณ์จริง โดยมีตัวเองของเรื่องคือเด็กผู้ชายที่ชื่อ “หยก” ได้เล่าถึงชีวิตในสมัยเยาว์อยู่กับก๋งชาวจีนผู้อพยพจากผืนแผ่นดินบ้านเกิดมาอยู่เมืองไทย เป็นนวนิยายที่ให้ข้อคิด แนวคิดและวีถีการดำเนินชีวิตที่ดีงาม พร้อมทั้งเคล็ดลับในการดำเนินชีวิตและอาชีพของคนจีน


ดงดอกเหมย

ฮั้วเกิดในเมืองคุนหมิง  สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นคนงานท่าเรือหลงรักเหมยลูกสาวเถ้าแก่ซัว ต่อมาทั้งสองได้สาบานรัก กันด้วยการใช้กิ่งไผ่แทนธูป เทียน ว่าจะรักกันจนกว่าความตายจะมาพราก แต่ทางผู้ใหญ่ไม่เห็นด้วย ทั้งคู่จึงหนี ไปใช้ชีวิตใหม่ที่เมืองไทย ฮั้วตั้งความหวังว่าจะมีลูกผู้ชายไว้สืบสกุล แต่ก็ต้องผิดหวังเมื่อลูกทั้ง 7 คนกลับเป็นผู้หญิง     และก่อนที่เหมยจะสิ้นใจได้ขอให้ฮั้วมีศรัทธา ต่อลูกผู้หญิงทั้งเจ็ดคนที่สุดท้ายแล้วประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างงดงาม

เลดี้เยาวราช

เรื่องราว หยกผกา ลูกสาวในครอบครัวจีนที่นายกิมฮุย พ่อหัวเก่าที่ให้ความสำคัญกับลูกชายชื่อจื้อ จนแทบไม่เคยเห็นหยก และฮวงพี่สาวของหยก หยกเก็บความคั่งแค้นนี้มาตลอด และตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไปทำงานร้านอาหารที่อังกฤษเพื่อเก็บเงินและฝึกปรือมาตั้งร้านติ๋มซำแข่งกับเตี่ยผู้ได้ชื่อว่าเป็นยอดฝีมือติ่มซำไร้เทียมทานแห่งเยาวราช

ตี๋ตระกูลซ่ง

บทประพันธ์ เพ็ญศิริ  ละครดราม่าสร้างสรรค์สังคมหลากรส ที่สื่อให้เห็นถึงความรักความเข้าใจในครอบครัว การดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี และการอบรมเลี้ยงดู โดยแฝงแง่คิดต่างๆ ไว้มากมาย   ถ่ายทอดเรื่องราวของคณะสิงโตที่ลือเลื่องชื่อต้องตัดสินใจปิดคณะลงเมื่อถูกคู่แข่งซื้อตัวคนเชิดหัวสิงโตไปทำให้ตระกูลซ่งดำรงชีวิตอยู่ด้วยความยากลำบาก เคี้ยง เจ้าของคณะกับ กิมเน้ย ภรรยาจึงเปลี่ยนอาชีพใหม่มาเปิดร้านข้าวต้มเพื่อนำรายได้มาเลี้ยงดูลูกๆ คือ ย้ง, หมิง, ฟู่, ไช้, และ เล้ง รวมทั้ง อากงและอาม่า

หาบของแม่

กิมเน้ย เป็นลูกสาวคนเดียวของครอบครัวชาวประมงชาวจีนกับสาวไทย หลังจากแม่ของกิมเน้ยคลอดกิมเน้ยแล้วก็เสียชีวิต ทำให้นายเฉียวต้องทิ้งอาชีพประมงมาหาบปลาทูนึ่งเร่ขาย    จากหาบที่พ่อเคยใช้ ส่งต่อถึงกิมเน้ย หาบขนมขาย ส่งเสียลูกจนเรียนจบ

หยกลายเมฆ

ทริยา เอกธำรงวรกุล บุตรสาวคนโตของ คุณชูวิทย์ และ คุณจันทนา นักธุรกิจอัญมณีชื่อดังแห่งเมืองไทย        ชูวิทย์จบปริญญาจากฮ่องกง และเคยทำงานอยู่ที่นั่นสองสามปี ดังนั้นคุณชูวิทย์จึงเคี่ยวเข็ญให้ทริยาเรียนภาษาจีนตั้งแต่เด็ก ซึ่งทริยาก็ไม่ทำให้คุณชูวิทย์ผิดหวัง เธอสามารถอ่าน เขียนภาษาจีนได้เป็นอย่างดีเท่ากับภาษาอังกฤษและภาษาไทย ทริยาเดินทางไปฮ่องกงเพื่อพบกับ ฮุ่ยซัน ซึ่งเป็นมารดาบังเกิดเกล้าของเธอ ฮุ่ยซันกำลังป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย แต่ยินยอมเดินทางไปฮ่องกงแต่โดยดี แม้ยังไม่รู้ว่าหนทางข้างหน้าจะเป็นเช่นไร มีเพียงหยกลายเมฆสมบัติที่มารดาคือฮุ่ยซันมอบไว้ให้บิดาเธอเท่านั้นที่เป็นเพื่อนเดินทาง

หยกเลือดมังกร

เจ้าสัวเล้ง  มังกรหนุ่มทายาทรุ่นที่สองของ มังกรวารี เจ้าของธุรกิจขนส่งทางน้ำที่ได้ ชื่อว่าเป็น ‘มังกรวารีแห่งท้องทะเล’ กำลังจัดงานเลี้ยงฉลองเปิดตัวโครงการท่าเรือน้ำลึกขนาด ใหญ่มูลค่านับพันล้านที่ตนเองเป็นผู้ริเริ่มโครงการ โดยไม่ฟังคำทักท้วงของ โหงว มือขวาคน สนิทของเตี่ยที่ร่วมก่อร่างสร้างตัวกันมาว่าไม่ให้เดินหน้าโครงการใหญ่โตเกินกำลังซึ่งแท้จริง แล้วโหงวริษยาและต้องการกำจัดเจ้าสัวเล้ง


โบตั๋นกลีบสุดท้าย

บทประพันธ์ของ กานติมา เขียนบทโทรทัศน์โดย เอกลิขิต กำกับการแสดงโดย ชนะ คราประยูร นำแสดงโดย อธิชาติ ชุมนานนท์ แสดงเป็น อาจู / ธีรเดช ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ แสดงเป็น ตันหยง    ซึ่งละครโบตั๋นกลีบสุดท้าย  มีเนื้อหาสะท้อน ครอบครัวคนจีนที่มีวิถีการเลี้ยงลูก ดำเนินเรื่องจากนักแสงดนำของเรื่องในนามปากกาสำเภาทอง  เป้นนักเขียนจากแนวเมโลดราม่า มาเป็นแนวสะท้อนปัญญาครอบครัว ไม่เคยมีใครรู้ว่า “สำเภาทอง” มีรูปร่างหน้าตาอย่างไร รู้แต่เพียงว่าเขาคือชายหนุ่มเชื้อสายจีนที่มีลีลาการเขียนนวนิยายที่พลิ้วไหว ระดับแนวหน้าของเมืองไทย โดยมี ดนัยเลขาส่วนตัว ส่งต้นฉบับให้สำนักพิมพ์ต่างๆ และเป็นผู้ติดต่อและประสานงานทั้งหมด

โบ๊เบ๊

วิน หรือ เปี๊ยก  พา ภศน ลูกชายคนเดียวมาเมืองไทย และ นัดเฮง  กับ หน่อน เพื่อนรักจะพาลูกไปรู้จัก เหตุผลหนึ่งที่ ภศนกลับเมืองไทยคืออยากเจอ ข้าวปั้น  หญิงที่เขาชอบ เธอกลับมาไทยเพราะพ่อเสียชีวิตกะทันหัน ทั้งคู่พบกันที่สถานกงสุลในงานหาเงินช่วยอุทกภัยในเมืองไทย จากนั้นก็ติดต่อกันเรื่อยมา ภศนชอบข้าวปั้นที่น่ารักและเป็นผู้หญิงเก่ง ข้าวปั้นกับแม่กำลังยุ่งเรื่องทรัพย์สินของพ่อที่มีหุ้นกับญาติ ภศนชวนข้าวปั้นกับแม่มาทานข้าวด้วย แล้วบอกว่า เฮง เป็นทนายอาจช่วยได้


มงกุฎดอกส้ม

ละครโทรทัศน์จากบทประพันธ์ของถ่ายเถา สุจริตกุล เรื่องราวของครอบครัวเจ้าสัวชาวจีน กับการเข้ามาของหญิงสาวที่พบเรื่องราวต่าง ๆ ในคฤหาสน์ที่ไม่ได้สวยงามอย่างภาพที่เธอมองจากภายนอก ผู้ประพันธ์ได้รับแรงบันดาลใจมาจากนิยายจีน ของซูถง โดยมีการซื้อลิขสิทธิ์บทประพันธ์อย่างถูกต้องเพื่อที่จะนำมาดัดแปลง ส่วนภาพยนตร์เรื่องผู้หญิงคนที่สี่ชิงโคมแดง ของจางอี้โหมว ที่มีความคล้ายคลึงกันนั้นก็ดัดแปลงมาจากนิยายของซูถงเช่นกัน และภาพยนตร์ดังกล่าวออกฉายก่อนที่ละครโทรทัศน์จะออกอากาศ มงกุฎดอกส้มได้รับการสร้างเป็นละครโทรทัศน์ถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เมื่อ พ.ศ. 2539 และครั้งที่สองออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในช่วงปลาย พ.ศ. 2553

กี่เพ้า

นวนิยายที่ประพันธ์โดย พงศกร (นายแพทย์พงศกร จินดาวัฒนะ) นำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 สร้างโดย บริษัท บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น จำกัด บทโทรทัศน์โดย นันทวรรณ รุ่งวงศ์พาณิชย์-ตุณย์ กำกับการแสดงโดย โชติรัตน์ รักเริ่มวงษ์

ซีรีส์เลือดมังกร 

เลือดมังกร เป็นละครโทรทัศน์ของทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (ออริจินัล) และทีวีดิจิตอล ช่อง 3 เอชดี ช่อง 33 โดยดัดแปลงมาจากนวนิยายชื่อเดียวกัน มาเฟียเลือดมังกร มีทั้งหมด 5 เรื่อง ได้แก่ เสือ สิงห์ กระทิง แรด หงส์ เป็นบทประพันธ์โดย รพัด, ลิซ, ผักบุ้ง, ลิลลี่สีขาว, shanya (เรนนี่)

กล่าวถึงตัวละครหลักทั้ง 5 คนที่เป็นหัวหน้าแก๊งมาเฟียคุมอำนาจอยู่ในเยาวราช โดยเล่าเรื่องถึงตัวละครหลักทั้ง 5 ที่ต้องฝ่าฝันอุปสรรคในการเป็นหัวหน้าแก๊งมาเฟีย และอุปสรรคของความรัก

นวนิยายดังกล่าวได้รับดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ ควบคุมการผลิตโดย บริษัท แอคอาร์ต เจเนเรชั่น จำกัด ของ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง, ธัญญา วชิรบรรจง กำกับการแสดงโดย พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง และ บัณฑิต ทองดี บัลลังก์หงส์

จอมขวัญ หรือ ไอ้จ๋อม สาวน้อยวัย 18 ผู้มีความใฝ่ฝันที่จะมีกิจการอุตสาหกรรมด้านอาหารเป็นของตนเอง แต่เธอต้องละทิ้งความฝันนั้นเมื่อได้รู้ว่า จินดา แม่ของเธอป่วยเป็นมะเร็งปอด จอมขวัญต้องทำงานให้มากขึ้นเพื่อที่จะพาแม่ย้ายไปอยู่ในที่ ๆ สิ่งแวดล้อมดีกว่าเดิม แต่เคราะห์ซ้ำกรรมซัด เมื่อวันหนึ่งขณะที่กำลังขี่มอเตอร์ไซค์คู่ใจไปส่งของเธอประสบอุบัติเหตุชนกับรถยนต์คันงามจนหมดสติ เจ้าของรถคันนั้นรีบพาจอมขวัญไปส่งโรงพยาบาล และคืนนั้นเองจอมขวัญก็ได้รู้ว่า คงศักดิ์ ลีลาวัฒนชัย ผู้ที่ขับรถชนกับเธอ คือพ่อบังเกิดเกล้าของเธอเอง

หงส์เหนือมังกร 

นวนิยายไทยของวิศวนาถ ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ออกอากาศทางช่อง 5 เมื่อปี พ.ศ. 2543 นำแสดงโดย นพพล โกมารชุน, มาช่า วัฒนพานิช, และ ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2543 – 28 เมษายน พ.ศ. 2543 โดยมีภาคต่อชื่อว่า มังกรเดียวดาย ในปี พ.ศ. 2547 และในปี พ.ศ. 2560 ทางช่อง 7 นำบทประพันธ์มาสร้างในรูปแบบละครโทรทัศน์อีกครั้ง นำแสดงโดย กฤตฤทธิ์ บุตรพรม, เมลดา สุศรี, อาทิตย์ ตั้งวิบูลย์พาณิชย์ ชยพล บุนนาค โดยจะเริ่มออกอากาศตอนแรกวันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560-16 มกราคม พ.ศ. 2561

ภาพ : อินเทอร์เน็ต,เพจภาพจากหนังสือเรื่องย่อละครไทย

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ฉบับที่ 417 วันที่ 2-8 กุมภาพันธ์ 2567

หน้า 20-21 buzz

สายเลือดมังกรเลาะรั้วมายา

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ ๔๑๗ ระหว่างวันที่ ๒-๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
(สามารถพลิกอ่านได้เหมือนหนังสือปกติ)
https://book.bangkok-today.com/books/sjua/#p=20

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post