Digiqole ad

สส.พรรคเพื่อไทย อภิปรายเสนอหลักการและเหตุผลร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 พ.ศ. …

 สส.พรรคเพื่อไทย อภิปรายเสนอหลักการและเหตุผลร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 พ.ศ. …
Social sharing

Digiqole ad
สส.พรรคเพื่อไทย อภิปรายเสนอหลักการและเหตุผลร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 พ.ศ. … โดยมีนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ ทพญ.ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ สส.บัญชีรายชื่อและรองเลขาธิการพรรค นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ สส.บัญชีรายชื่อและกรรมการบริหารพรรค และนางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อและรองเลขาธิการพรรค ร่วมอภิปรายถึงปัญหากฎหมายการประมงว่าเกิดจากการตราขึ้นและบังคับใช้อย่างเร่งด่วนเมื่อปี 2558 จนสร้างปัญหาให้กับพี่น้องชาวประมง จากอุตสาหกรรมประมงของไทยที่เคยเป็นสินค้าส่งออกติดลำดับต้นๆ ของโลก สร้างรายได้หลายแสนล้านบาทต่อปี แต่กลับถูกจำกัดด้วยกฎ ข้อบังคับและโทษที่รุนแรงจนชาวประมงหลายรายต้องถูกริบเรือสิ้นเนื้อประดาตัว พ.ร.บ.ประมงฉบับพรรคเพื่อไทย จึงเป็นความหวังของพี่น้องชาวประมงที่จะมาแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประมงและฟื้นฟูเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลนี้ให้ฟื้นตัวกลับมาอีกครั้ง
.
[กม.ประมง 2558 ตราขึ้นอย่างเร่งด่วน ไม่รอบคอบ]
.
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ อภิปรายถึงหลักการและเหตุผลของการที่พรรคเพื่อไทยเสนอร่างกฏหมายประมงฉบับนี้ว่าโดยที่พระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ได้ตราขึ้นมาบังคับใช้อย่างเร่งด่วน อย่างไรก็ดี พระราชกำหนดดังกล่าว มีบทบัญญัติบางมาตราที่อาจจะขัดต่อหลักการของอนุสัญญาประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 ที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิก หรือหลักสิทธิมนุษยชนแห่งราชอาณาจักรไทย ในประเด็นเกียวกับการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินและสิทธิในการประกอบอาชีพของประชาชน เกิดการเลือกปฏิบัติขาดความเสมอภาค และบังคับใช้กฎหมายโดยไม่เท่าเทียม รวมถึงมีการกำหนดบทลงโทษที่ไม่เป็นธรรม ซ้ำซ้อม และไม่ได้สัดส่วนกับการลงโทษในความผิดทั่วไป
.
“เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและชาวประมงที่ประกอบอาชีพโดยสุจริตให้ได้รับความเป็นธรรม ตลอดจนส่งเสริมให้การทำประมงมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงจัดให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบและพิจารณาลงโทษและคณะกรรมการมาตรการทางปกครองในการพิจารณาออกคำสั่งตามระดับความรุนแรงของการกระทำความผิด สภาพความผิด และการกระทำความผิดซ้ำ ตลอดจนกำหนดโทษทางปกครองและโทษทางอาญาที่เหมาะสม เพื่อให้บังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันการกระทำผิด จึงจำเป็นต้องตรากฎหมายฉบับนี้” นายวิสุทธิ์ กล่าว
.
[ภูเก็ตเคยเป็น ทูน่าฮับ ระดับโลก]
.
ทพญ.ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ อภิปรายว่าประมงไทยมีวิวัฒนาการไปในเชิงบวกมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปี 2545 – 2556 ที่ถือว่าเป็นยุครุ่งเรืองของประม
งที่ส่งเสริมทั้งภาคธุรกิจ การท่องเที่ยว จากนโยบายครั้งรัฐบาลไทยรักไทย ที่ส่งเสริมให้จังหวัดภูเก็ตเป็น “ทูน่าฮับ” ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องเป็นอันดับต้นของโลกและมีโครงการส่งเสริมองค์กรสะพานปลาประจำจังหวัดให้พัฒนาตลาดปลาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเหมือนประเทศญี่ปุ่น
.
“พรรคเพื่อไทยในปัจจุบันได้มีนำเสนอนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมประมงทั้งระบบ ให้กลับมาเติบโตอีกครั้ง เพื่อผลักดันธุรกิจการประมงในประเทศไปแข่งขันในตลาดโลก ร่างกฏหมายประมงฉบับนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยปลดข้อจำกัด เสริมศักยภาพประมงไทยให้กลับมาเติบโตอีกครั้ง” ทพญ.ศรีญาดา กล่าว
.
[เรือประมงต้องไม่ถูกยึด]
.
นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ อภิปรายว่านอกจากปัญหาประมงที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายกันไปแล้วยังมีอีกประเด็นที่ขอฝากเพิ่มเติมไว้เผื่อให้มีการแก้ไขในอนาคต เพื่อให้ครอบคลุมรอบด้าน ดังนี้
.
1. การเพิ่มเติมเจตนารมณ์ ในการคุ้มครองการประกอบอาชีพประมง ให้สอดคล้องวิถีชีวิตชาวประมง
.
2. เพิ่มอิสระให้กลุ่มประมงพื้นบ้าน สามารถออกทำการประมงนอกพื้นที่เขตทะเลชายฝั่งได้
.
3. เปิดช่องทางให้ชาวประมงสามารถดัดแปลงเครื่องมือทำการประมง โดยให้รัฐกำหนดเครื่องมือต้องห้าม และการดัดแปลงที่ผิดกฎหมายให้ชัดเจน
.
4. แก้ไขเพิ่มเติม การกระทำความผิดที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอย่างร้ายแรงให้เหมาะสม โดยต้องไม่กำหนดให้เรือประมงเป็นสิ่งที่ต้องถูกริบ
.
5. แก้ไขเพิ่มเติม บทกำหนดโทษปรับทางอาญา ให้มีจำนวนค่าปรับที่เหมาะสม โดยกำหนดให้มีเพียงค่าปรับขั้นสูง เพื่อทำให้แต่ละฐานความผิด สามารถใช้ดุลยพินิจในการกำหนดค่าปรับให้เหมาะสมกับพฤติการณ์
.
[ถึงเวลาเริ่มต้นชีวิตใหม่ กับกฎหมายประมงฉบับใหม่]
.
นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ อภิปรายว่าหากเราสรุปผลกระทบตั้งแต่วันที่ประเทศไทยถูกใบเตือน จนถึงปีที่ผ่านมา ตามข้อมูลสถิติการจับสัตว์น้ำในน่านน้ำไทยส่งออกไปสหภาพยุโรปจาก Thai Publica จะเห็นว่าตั้งแต่ พ.ศ. 2557 ก่อนที่เราจะโดยใบเหลืองเตือนจากสหภาพยุโรป ประเทศไทยจับสัตว์น้ำและส่งออกได้มาถึง 167,978.45 ตัน เป็นมูลค่าการส่งออกถึง 27,685 ล้านบาท แต่กลับลดลงเรื่อยๆ จนล่าสุดในปี 2566 เหลือเพียง 62,169 ตัน หายไปกว่า 105,809.45 ตัน คิดเป็นมูลค่าส่งออกเหลือเพียง 10,441 ล้านบาท
.
เพราะฉะนั้น การปลดใบเหลือง IUU ไม่ได้ช่วยรักษามูลค่าการส่งออก และกลับเป็นการสร้างหายนะให้กับพี่น้องชาวประมง และพี่น้องที่ทำกิจการเกี่ยวข้องกับการประมงทั้งระบบ
.
“วันนี้ถึงเวลาแล้ว ที่เราจะเริ่มต้นกันใหม่ สร้างชีวิตใหม่ สร้างโอกาสใหม่ๆ คืนชีวิต คืนศักดิ์ศรี คืนความกินดีอยู่ดี ให้กับพี่น้องชาวประมงด้วยการสนับสนุนกฎหมายประมงฉบับใหม่” นางสาวลิณธิภรณ์ กล่าว
ที่มา : เพจพรรคเพื่อไทย
Facebook Comments


Social sharing

Related post