Digiqole ad

สส.พรรคเพื่อไทย ร่วมอภิปรายรายงานผลการพิจารณาศึกษา

 สส.พรรคเพื่อไทย ร่วมอภิปรายรายงานผลการพิจารณาศึกษา
Social sharing

Digiqole ad
สส.พรรคเพื่อไทย ร่วมอภิปรายรายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานประชาชน ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรโดย นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สส.สุรินทร์ และนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ว่าพรรคเพื่อไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบบำนาญของประเทศ โดยในสมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ได้ปรับรูปแบบจากเดือนละ 200 บาท เป็นระบบขั้นบันได 600-1,000 บาท มาถึงรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน ก็ต้องการให้ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต มีระบบหลักประกันทางสังคมด้านบำนาญอย่างเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพียงพอจะดำรงชีพเมื่อสูงอายุขึ้น ลดการพึ่งพิงภาครัฐ ตลอดจนพัฒนาเศรษฐกิจประเทศให้ก้าวหน้าไปได้ในเวลาเดียวกัน
.
[สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ปรับจาก 200 บ./เดือน เป็น 600-1,000 บาท/เดือน]
.
ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สส.สุรินทร์ กล่าวว่าเรื่องบำนาญพื้นฐานประชาชนนั้น ได้ริเริ่มมานาน สมัยนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้หยิบยกขึ้นมาปรับปรุงเงินสวัสดิการซึ่งเคยได้รับเดือนละ 200 บาท เปลี่ยนเป็นระบบขั้นบันได คือเริ่มจาก 600 บาทจนถึง 1,000 บาท จากนั้นในปี 2555 ผมได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ลองทำกฎหมายเงินเดือนบำนาญประชาชน ผมกับเพื่อน สส.จึงได้จัดทำและเสนอเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้สูงอายุนอนาคต แต่เสียดายที่เมื่อยื่นเข้าสภาไม่เท่าไร ก็เกิดรัฐประหารเสียก่อน จากนั้น
.
“สมัยประชุมนี้ กฎหมายบำนาญถูกนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง จึงขอฝากกำลังใจให้คณะกรรมาธิการฯ ได้เดินหน้าทำงานเพื่อช่วยเหลือประชาชนต่อไป” สส.สุรินทร์ กล่าว
.
[บำนาญต้องเพียงพอ ยั่งยืนและครบถ้วน]
.
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด อภิปรายว่าเงินบำนาญ หมายถึงเงินตอบแทนความชอบที่ได้ทำงานมานานตลอดชีวิต โดยจ่ายเป็นรายเดือนหรือตลอดชีวิต โดยในสมัยโบราณเรียกเบี้ยบำนาญ เบี้ยยังชีพ เบี้ยผู้สูงอายุ โดยในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง แต่ละพรรคการเมืองต่างนำเสนอนโยบายดังกล่าวอย่างคึกคัก นั้นสะท้อนถึงว่าพรรคการเมืองล้วนแต่ใส่ใจช่วยผลักดันสนับสนุน
.
ปัญหาคือ เราจะอุดหนุนอย่างไร ให้การจ่ายสวัสดิการเพียงพอ ยั่งยืนและครบถ้วน
.
ถ้าเราไปดูดัชนีบำนาญโลก (Global Pension Index) 2566
จะพบว่า เนเธอร์แลนด์ นำเป็นลำดับแรก ตามด้วยไอซ์แลนด์ และเดนมาร์ค
และดัชนีชี้วัดบำนาญโลก MCGPI นั้น พิจารณาให้น้ำหนักไปใน 3 เรื่อง
คือ
.
1. ความเพียงพอ คือการคำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะมอบให้กับคนจนและคนที่มีระดับรายได้ต่างกัน ตลอดจนออกแบบเครื่องมือที่จะช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพของระบบรายได้หลังเกษียณให้เพียงพอโดยรวม
.
2. ความยั่งยืน จะไปดูตัวชี้วัดที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนในระยะยาว เช่น อัตราส่วนกำลังแรงงานของประชากรในแต่ละช่วงอายุ ระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริง เอามาร่วมคำนวณ
.
3. เรื่องความครบถ้วน ว่าจะทำกฏระเบียบ มีธรรมาภิบาล โปร่งใสตรวจสอบได้
แนวทางเพื่อจะนำไปสู่แนวทางดังกล่าว อย่างแรกคือ ต้องรีดไขมันส่วนเกินของค่าใช้จ่ายจากหน่วยงานต่างๆ จากนั้นต้องสร้างรายได้ ที่เป็นรายได้ที่แท้จริงเข้ามา
กาสร้างรายได้จากภายใน เช่น โครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต ที่ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ การสร้างรายได้จากภายนอก เช่น การเพิ่มนักท่องเที่ยว ส่งเสริมการส่งออก การสร้างรายได้ใหม่เช่น การส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์สร้างผลิตภัณฑ์ สร้างสินค้าใหม่ สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว หรือหารายได้ใหม่จากภาษีฝุ่นควันพิษหรือภาษีรายได้จากการจัดทำสถานบริการต่างๆ เป็นต้น สามหลักการดังกล่าวจึงจะช่วยให้โครงการบำนาญพื้นฐานประชาชนนั้นเพียงพอ ยั่งยืน และครบถ้วน
.
“ไม่มีใครขัดขวางบำนาญ แต่เราจะต้องดูว่า เราจะจ่ายอย่างเพียงพอนั้นต้องทำอย่างไร ขอเป็นกำลังใจให้ผู้สูงอายุ และเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะดูแลประชาชนทุกช่วงวัยไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน” สส.บัญชีรายชื่อ กล่าว

นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สส.สุรินทร์ และนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ว่าพรรคเพื่อไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบบำนาญของประเทศ โดยในสมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ได้ปรับรูปแบบจากเดือนละ 200 บาท เป็นระบบขั้นบันได 600-1,000 บาท มาถึงรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน ก็ต้องการให้ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต มีระบบหลักประกันทางสังคมด้านบำนาญอย่างเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพียงพอจะดำรงชีพเมื่อสูงอายุขึ้น ลดการพึ่งพิงภาครัฐ ตลอดจนพัฒนาเศรษฐกิจประเทศให้ก้าวหน้าไปได้ในเวลาเดียวกัน

.
[สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ปรับจาก 200 บ./เดือน เป็น 600-1,000 บาท/เดือน]
.
ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สส.สุรินทร์ กล่าวว่าเรื่องบำนาญพื้นฐานประชาชนนั้น ได้ริเริ่มมานาน สมัยนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้หยิบยกขึ้นมาปรับปรุงเงินสวัสดิการซึ่งเคยได้รับเดือนละ 200 บาท เปลี่ยนเป็นระบบขั้นบันได คือเริ่มจาก 600 บาทจนถึง 1,000 บาท จากนั้นในปี 2555 ผมได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ลองทำกฎหมายเงินเดือนบำนาญประชาชน ผมกับเพื่อน สส.จึงได้จัดทำและเสนอเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้สูงอายุนอนาคต แต่เสียดายที่เมื่อยื่นเข้าสภาไม่เท่าไร ก็เกิดรัฐประหารเสียก่อน จากนั้น
.
“สมัยประชุมนี้ กฎหมายบำนาญถูกนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง จึงขอฝากกำลังใจให้คณะกรรมาธิการฯ ได้เดินหน้าทำงานเพื่อช่วยเหลือประชาชนต่อไป” สส.สุรินทร์ กล่าว
.
[บำนาญต้องเพียงพอ ยั่งยืนและครบถ้วน]
.
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด อภิปรายว่าเงินบำนาญ หมายถึงเงินตอบแทนความชอบที่ได้ทำงานมานานตลอดชีวิต โดยจ่ายเป็นรายเดือนหรือตลอดชีวิต โดยในสมัยโบราณเรียกเบี้ยบำนาญ เบี้ยยังชีพ เบี้ยผู้สูงอายุ โดยในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง แต่ละพรรคการเมืองต่างนำเสนอนโยบายดังกล่าวอย่างคึกคัก นั้นสะท้อนถึงว่าพรรคการเมืองล้วนแต่ใส่ใจช่วยผลักดันสนับสนุน
.
ปัญหาคือ เราจะอุดหนุนอย่างไร ให้การจ่ายสวัสดิการเพียงพอ ยั่งยืนและครบถ้วน
.
ถ้าเราไปดูดัชนีบำนาญโลก (Global Pension Index) 2566
จะพบว่า เนเธอร์แลนด์ นำเป็นลำดับแรก ตามด้วยไอซ์แลนด์ และเดนมาร์ค
และดัชนีชี้วัดบำนาญโลก MCGPI นั้น พิจารณาให้น้ำหนักไปใน 3 เรื่อง
คือ
.
1. ความเพียงพอ คือการคำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะมอบให้กับคนจนและคนที่มีระดับรายได้ต่างกัน ตลอดจนออกแบบเครื่องมือที่จะช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพของระบบรายได้หลังเกษียณให้เพียงพอโดยรวม
.
2. ความยั่งยืน จะไปดูตัวชี้วัดที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนในระยะยาว เช่น อัตราส่วนกำลังแรงงานของประชากรในแต่ละช่วงอายุ ระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริง เอามาร่วมคำนวณ
.
3. เรื่องความครบถ้วน ว่าจะทำกฏระเบียบ มีธรรมาภิบาล โปร่งใสตรวจสอบได้
แนวทางเพื่อจะนำไปสู่แนวทางดังกล่าว อย่างแรกคือ ต้องรีดไขมันส่วนเกินของค่าใช้จ่ายจากหน่วยงานต่างๆ จากนั้นต้องสร้างรายได้ ที่เป็นรายได้ที่แท้จริงเข้ามา
กาสร้างรายได้จากภายใน เช่น โครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต ที่ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ การสร้างรายได้จากภายนอก เช่น การเพิ่มนักท่องเที่ยว ส่งเสริมการส่งออก การสร้างรายได้ใหม่เช่น การส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์สร้างผลิตภัณฑ์ สร้างสินค้าใหม่ สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว หรือหารายได้ใหม่จากภาษีฝุ่นควันพิษหรือภาษีรายได้จากการจัดทำสถานบริการต่างๆ เป็นต้น สามหลักการดังกล่าวจึงจะช่วยให้โครงการบำนาญพื้นฐานประชาชนนั้นเพียงพอ ยั่งยืน และครบถ้วน
.
“ไม่มีใครขัดขวางบำนาญ แต่เราจะต้องดูว่า เราจะจ่ายอย่างเพียงพอนั้นต้องทำอย่างไร ขอเป็นกำลังใจให้ผู้สูงอายุ และเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะดูแลประชาชนทุกช่วงวัยไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน” สส.บัญชีรายชื่อ กล่าว
Facebook Comments


Social sharing

Related post