Digiqole ad

สส.พรรคเพื่อไทย ร่วมอภิปรายร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร แก้ไขปัญหาเรื่องไฟแสงสว่าง การจัดการขยะ การซ่อมบำรุงตลอดจนการใช้พื้นที่ส่วนกลางของหมู่บ้าน

 สส.พรรคเพื่อไทย ร่วมอภิปรายร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร แก้ไขปัญหาเรื่องไฟแสงสว่าง การจัดการขยะ การซ่อมบำรุงตลอดจนการใช้พื้นที่ส่วนกลางของหมู่บ้าน
Social sharing

Digiqole ad
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ สส.กทม. และกรรมการบริหารพรรค ในฐานะผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … และนายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ สส.บัญชีรายชื่อ และกรรมการบริหารพรรค พรรคเพื่อไทย ร่วมอภิปรายร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร แก้ไขปัญหาเรื่องไฟแสงสว่าง การจัดการขยะ การซ่อมบำรุงตลอดจนการใช้พื้นที่ส่วนกลางของหมู่บ้าน ซึ่งยังมีปัญหาในเชิงปฏิบัติและในประเด็นกฎหมาย จึงสมควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเพื่อให้สมาชิกในหมู่บ้าน ได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขและปรับปรุงพัฒนาชุมชนตนเองได้สะดวกและถูกต้องตามกฎหมาย
.
1. นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กล่าวว่า ในฐานะ สส. เมื่อลงพื้นที่ในหมู่บ้าน พบว่าในหมู่บ้านจัดสรรมีข้อจำกัดทางกฎหมายมากมายที่ทำให้ สส. ไม่สามารถเข้าไปดูแลประชาชนได้ จึงนำมาสู่การเสนอร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ โดยการจัดสรรที่ดินในปัจจุบันยังมีปัญหาการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร การจัดการสาธารณูปโภคให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ตลอดจนการคุ้มครองผู้ซื้อที่ดินจัดสรรและผู้ได้รับความเสียอย่างเหมาะสม จึงสมควรให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์การพ้นจากหน้าที่ของนิติบุคคลและให้ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคต้องเป็นของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือการอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณประโยชน์ให้ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน การกำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเกี่ยวกับการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและการบริการสาธารณะที่ดินจัดสรร รวมถึงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินเพื่อคุ้มครองมิให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้รับผลกระทบจากการละเลยของผู้ที่จัดสรรที่ดิน จากการกำหนดนิยามเพิ่มเติมในเรื่องเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่เข้ามาดูแลหลังมีการยกที่ดินให้เป็นสาธารณะประโยชน์ จึงมีความจำเป็นที่ต้องแก้ไขมาตราอื่นๆ ไปพร้อมกัน
.
2. นางสาวธีรรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่าตนเองได้พยายามหารือกับภาครัฐมาโดยตลอดและหาทางแก้ไขเพื่อให้ประชาชนทุกคนได้สิทธิ์ในการช่วยเหลือจากภาครัฐ แต่ที่ผ่านมาหากพบปัญหาความเดือดร้อนใดๆ ในพื้นที่ของเอกชน ภาครัฐไม่มีทางเข้าไปช่วยเหลือได้เลย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำท่วม หรือไฟฟ้าดับ หากไม่ได้รับความร่วมมือกับตัวแทนนิติบุคคล ประชาชนในพื้นที่ก็ไม่สามารถเข้าถึงการแก้ไขปัญหาได้เลย ซึ่งความแตกต่างของ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ที่กล่าวว่าผู้จัดสรรที่ดินมีอำนาจในการจัดตั้งนิติบุคคลเพียงฝ่ายเดียว แต่การแก้ไข พ.ร.บ. ครั้งนี้ ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจะมีได้รับสิทธิ์และมีส่วนร่วมในการจัดตั้งนิติบุคคลตามกฎหมาย
.
3. ส่วนปัญหาหมู่บ้านที่ถูกทิ้งร้างไม่มีผู้รับผิดชอบ ไม่สามารถติดตามตัวเจ้าของหมู่บ้านได้ พื้นที่ที่ถูกทิ้งร้างและปัญหาในหมู่บ้านที่ไม่ระเบียบนิติบุคคลยังเป็นปัญหาใหญ่ในหลายพื้นที่เช่นกัน ซึ่งการเสนอร่าง พ.ร.บ. การจัดสรรที่ดิน ในครั้งนี้ทุกร่างล้วนมีแนวทาง ความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงร่างของกระทรวงมหาดไทย จึงเห็นสมควรว่าหากคณะรัฐมนตรีจะรับพิจารณาทุกร่าง ไม่เกินกรอบ 60 วัน แล้วส่งกลับเข้าสภาแล้ว กฎหมายฉบับนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาของพี่น้องประชาชนได้อย่างรวดเร็ว
.
4. ด้านนายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ กล่าวว่า โดยปกติแล้ว กฎหมายนิติบุคคลมีขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้ซื้อที่ดินจัดสรร มิให้ได้รับผลกระทบ จากการถูกละเลยทอดทิ้ง โดยคำนึงถึงสิทธิ์ของเอกชนผู้พัฒนาโครงการ และศักยภาพในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่จะเข้าบริหารจัดการแทน ซึ่งปัจจุบัน กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนกลางและหน้าที่ดูแลจะอยู่กับกลุ่ม 3 กลุ่ม คือ
.
เริ่มต้น กรรมสิทธิ์จะอยู่กับผู้พัฒนาโครงการหรือผู้ขาย เมื่อขายบ้านได้มากระดับหนึ่งก็จะตั้งนิติบุคคลได้ กรรมสิทธิ์การบริหารนิติบุคคลก็จะโอนมาที่นิติบุคคลโครงการ หรือคือผู้ซื้อผู้อาศัย ดูแลร่วมกันเองหรือจ้างบริษัทเข้ามาดูแล และสุดท้าย หากไม่สามารถร่วมกันดูแลได้ ก็จะยกทรัพย์สินส่วนกลางนี้ให้เป็นสาธารณประโยชน์ เพื่อเปิดทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาดูแลและให้สาธารณะร่วมกันใช้
.
5. แต่เมื่อกรอบปฏิบัติไม่ชัดเจน จึงมีกรณีพิพาทกันบ่อยครั้ง เช่น บางโครงการมีขนาดใหญ่แต่อัตราการขายต่ำ ทำให้ไม่สามารถตั้งนิติบุคคลขึ้นมาดูแลได้ หรือบางครั้ง ผู้พัฒนาโครงการก็เร่งให้รีบจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อโอนหน้าที่ดูแลไปยังลูกบ้านให้จัดการกันเอง แต่ไม่สามารถจัดตั้งได้เพราะลูกบ้านไม่ให้ความร่วมมือ หรือแม้แต่จัดตั้งนิติบุคคลไปกันแล้ว มีปัญหาเก็บค่าส่วนกลางไม่ได้ บริหารจัดการไม่ได้ จนต้องการจะยกที่ดินและภาระการบริหารส่วนกลางเป็นสาธารณประโยชน์ ก็ทำไม่ได้อีกต้องมีกรรมการพิจารณาความเหมาะสม หรือหลายหมู่บ้านโดนทิ้งร้างไม่สามารถยกเป็นสาธารณประโยชน์ได้ รวมทั้งการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองก็ไม่อยากรับภาระนี้
.
6. ดังนั้น จึงสมควรมีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว เพื่อเปิดให้มีการศึกษาและหาข้อสรุปจากทุกฝ่าย เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนในหมู่บ้านต่างๆ ที่กำลังประสบปัญหานี้อยู่
ที่มา :เพจพรรคเพื่อไทย
Facebook Comments


Social sharing

Related post