Digiqole ad

สส.พรรคเพื่อไทย ร่วมอภิปรายสนับสนุนญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาและผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการประมงเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับการประมงทั้งระบบ

 สส.พรรคเพื่อไทย ร่วมอภิปรายสนับสนุนญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาและผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการประมงเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับการประมงทั้งระบบ
Social sharing

Digiqole ad
สส.พรรคเพื่อไทย ร่วมกันอภิปรายสนับสนุนญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาและผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการประมงเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับการประมงทั้งระบบ โดยมี สส.พรรคเพื่อไทย อาทิ นายสรวงศ์ เทียนทอง สส.สระแก้ว, นางฐิติมา ฉายแสง สส.ฉะเชิงเทรา, นายอนันต์ ปรีดาสุทธิจิตต์ ส.ส.ชลบุรี, และ นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ ร่วมอภิปรายเสนอแนะอย่างกว้างขวาง
.
[มูลค่าประมงไทยตกต่ำตั้งแต่ปี 58]
.
สรวงศ์ เทียนทอง สส.สระแก้ว พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมประมงไทย มีมูลค่าส่งออกสินค้าประมงและสินค้าเกี่ยวข้องกับประมงหลักมีมูลค่าหลายแสนล้านบาท โดยมีสินค้าหลักเช่น กุ้งสด กุ้งแช่แข็ง ปลาหมึกกล้วย ปลาทูน่า และปลาทูน่ากระป๋อง แต่เมื่อ IUU เริ่มให้ใบเหลืองไทยตั้งแต่ปี 2558 และรัฐบาลบังคับใช้กฎหมายประมงเมื่อปี 2558 ส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบกิจการต้องหยุดเรือ หยุดกิจการไปโดยปริยาย ยอดส่งออกอาหารทะเลเช่น ปลาหมึกกล้วย ปลาทูน่ากระป๋องก็ตกลงทันทีต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปี 2564 ทั้งที่ความจริงแล้วมูลค่าส่งออกสินค้าประมงไป EU มีมูลค่าแค่ 5 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าส่งออกประมงทั้งหมดของประเทศ
.
[ ดูแลครอบคลุม ประมงทะเลและประมงพื้นบ้าน]
.
ฐิติมา ฉายแสง สส.ฉะเชิงเทรา พรรคเพื่อไทย กล่าวว่าการแก้ปัญหาประมง นอกจากจะแก้ปัญหาประมงในทะเลแล้ว ประเทศไทยเรายังมีประมงเพาะเลี้ยง เพราะพี่น้องในลุ่มภาคกลางทำประมงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมูลค่า 1.6 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งสินค้าเกษตรเพาะเลี้ยงยอดนิยมคือปลากะพง เฉพาะใน 6 เดือนแรกของปี 2566 เกษตรกรผลิตปลากะพงได้ถึง 5 หมื่นตัน มูลค่า 6 พันล้านบาท แต่วันนี้พบปัญหาปลากะพงมาเลเซียนำเข้ามาตีตลาดไทยในราคาถูกกว่ากิโลกรัมละ 20 บาท จึงขอเสนอให้มีมาตรการทางภาษี เพื่อเก็บภาษีปลากะพงนำเข้าเพื่อสร้างสมดุลและยุติธรรมให้กับเกษตรกรไทย รัฐจะได้นำเงินดังกล่าวมาช่วยอุดหนุนกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรใช้ดูแลพี่น้องเกษตรประมงพื้นบ้านในยามลำบาก .
.
[ รื้อกฎหมายอุปสรรค เปิดโอกาสฟื้นชีวิตชาวประมง ]
.
นายอนันต์ ปรีดาสุทธิจิตต์ ส.ส.ชลบุรี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เคยลงพื้นที่จังหวัดชลบุรี หารือกับตัวแทนผู้ประกอบการประมง ซึ่งรวมถึงประมงชายฝั่งและประมงพื้นบ้าน ซึ่งในอดีตเคยมีรายได้วันละไม่ต่ำกว่า 2,000 – 3,000 บาท แต่วันดีคืนดีหลังจากการรัฐประหารปี 2557 ประมงไทยก็โดนใบเหลืองจาก IUU ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นก็ประกาศจะแก้ไขปัญหาภายใน 6 เดือนโดยตั้งกติกาทำให้พี่น้องชาวประมงไม่สามารถออกเรือไปทำมาหากินได้ เพราะมีรายละเอียดไปถึงการติดตั้งระบบติดตามเรือและระบบวิทยุสื่อสารที่ซ้ำซ้อน ซึ่งทำให้พี่น้องชาวประมงมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นนับหมื่นนับแสนบาท ตลอดจนออกข้อกำหนดกับการจ้างแรงงาน ซึ่งรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่นำโดย นายเศรษฐา ทวีสิน มองเห็นความสำคัญที่จะต้องแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างเร่งด่วน เพื่อให้พี่น้องประมงไทยสามารถกลับมาหากิน มีรายได้ ฟื้นชีวิต ซึ่งจะเป็นการฟื้นเศรษฐกิจของประเทศ
.
[ 5 เรื่องเร่งด่วนฟื้นฟูประมงไทย ]
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่าญัตตินี้มุ่งที่จะแก้ไขปัญหาให้ครอบคลุมทุกมิติ เพราะในอดีตไทยติดอันดับโลกในการจับสัตว์น้ำมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะในช่วงปี 2543-2547 มีผลผลิตสัตว์น้ำมากถึง 3.7 -4.1 ล้านตัน เนื่องด้วยความได้เปรียบเรื่องภูมิประเทศ เป็นสิ่งยืนยันอุตสาหกรรมประมงของไทยเคยยิ่งใหญ่มาก่อน กรทำธุรกิจประมงหากล้มพังลงจะกระทบไปถึงธุรกิจห่วงโซ่ต่อเนื่องอีกมากมาย ดังนั้นการจะแก้ไขปัญหาซึ่งจะเป็นการกำหนดชะตาชีวิตพี่น้องชาวประมงจะต้องทำอย่างเข้าใจและยึดประโยชน์ต่อประเทศและพี่น้องชาวประมงเป็นสำคัญก่อนที่อาชีพประมงจะสูญพันธุ์เป็นสำคัญ โดยเฉพาะการปรับการบังคับใช้กฎหมายในลักษณะห้ามปรามควบคุมให้เป็นการส่งเสริมและสร้างการมีส่วนร่วมและรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อต่อลมหายใจพี่น้องชาวประมงได้อย่างไร
.
จึงขอเสนอ 5 เรื่องเร่งด่วน ดังนี้ 1. ศึกษาทบทวนข้อแจ้งเตือนกฎระบียบของสหภาพยุโรปหรือ EU ไปดูองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่ออุตสาหกรรมประมงจากการดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดขึ้นเพื่อนำไปสู่การเจรจาระหว่างกันครั้งใหม่
2. ศึกษาทบทวนและพิจารณาว่าจะแก้ไขกฎหมายประมงไทยให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของประมงไทยและกฎหมายระหว่างประเทศได้อย่างไร
3. การดำเนินการเจรจาระหว่างไทยกับองค์กรระหว่างประเทศ รวมไปถึงประเทศอื่นๆ และ Eu เพื่อให้ไทยคืนสิทธิประมงแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะประมงพื้นถิ่นการทำกินพื้นบ้านที่ปฏิบัติมาช้านาน
4. ควรเสนอมาตรการเยียวยาเพื่อแก้ไขผลกระทบต่อชาวประมงและอุตสาหกรรมประมงอย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การฟื้นฟูอุตสาหกรรมประมงของไทย
5.สนับสนุนให้มีการตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาข้อกฎหมายอย่างจริงจัง ต้องมีนักกฎหมายไปช่วยชาวประมง ต้องมีนักบริหารจัดการไปดูการแก้ไขการบริหารจัดการและการเจรจาระหว่างประเทศเพื่อช่วยเหลือชาวประมง
ที่มา : เพจพรรคเพื่อไทย
Facebook Comments


Social sharing

Related post