Digiqole ad

สส.พรรคเพื่อไทย ร่วมกันอภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ .. ) พ.ศ..… หรือกฏหมายสมรสเท่าเทียม ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร

 สส.พรรคเพื่อไทย ร่วมกันอภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ .. ) พ.ศ..… หรือกฏหมายสมรสเท่าเทียม ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
Social sharing

Digiqole ad
สส.พรรคเพื่อไทย ร่วมกันอภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ .. ) พ.ศ..… หรือกฏหมายสมรสเท่าเทียม ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 21 ธันวาคม 2566 และลงมติเห็นชอบในวาระ 1 รับหลักการร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งจะเป็นการเปิดทางไปสู่การสร้างความเท่าเทียมให้กับทุกคนในสังคม อันเป็นพื้นฐานของประชาธิปไตยในประเทศไทย
นายอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ สส.กาญจนบุรี กล่าวว่า ครอบครัวคือรากฐานสำคัญของการพัฒนาสังคม แต่การก่อร่างสร้างครอบครัวแต่เดิมจำกัดแค่ชายหญิง ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมและความเปลี่ยนแปลง หากเรามองรอบตัวจะพบว่าปัจจุบันเราไม่ได้มีแค่ชายหญิง แต่ยังมีกลุ่มคนหลากหลายทางเพศซึ่งที่ผ่านมาถูกปฏิเสธ และได้รับการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ตลอดจนการเข้าไม่ถึงสิทธิตามกฏหมาย ไม่ว่าจะเป็นการสมรส มรดก สิทธิการรักษาพยาบาล จนทำให้คู่รักหลายคู่ ซึ่งเป็นบุคคลหลากหลายทางเพศหลายคนต้องสูญเสียคนรักไป เพียงเพราเข้าไม่ถึงสิทธิการสมรสหรือสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย
.
ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 บัญญัติรับรองสิทธิบุคคล ว่าบุคคลย่อมเสมอกันในกฏหมาย จึงสมควรให้มีการแก้ไขกฎหมายที่ยังเป็นอุปสรรค เพื่อให้รับรองบุคคล ให้สามารถหมั้น สมรส กำหนดสิทธิ หน้าที่ และสถานะครอบครัวเท่าเทียมคู่ชายหญิงเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของครอบครัวให้เกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นเพศใด
.
“พวกเขาเพียงต้องการเติมพื้นที่ให้เต็ม ให้ทุกคนยืนเท่ากัน ด้วยสิทธิพื้นฐานโดยไม่ลดทอนพื้นที่ของใคร สมรสเท่าเทียม คือก้าวแรกของการสร้างบรรทัดฐานของสังคมให้เปิดรับความแตกต่าง นำไปสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมได้” สส.กาญจนบุรี กล่าว
นางสาวขัตติยา สวัสดิผล สส.บัญชีรายชื่อ กล่าวว่า การที่คู่รักเพศเดียวกันได้จดทะเบียนสมรสเหมือนคู่รักต่างเพศ เป็นการยืนยันถึงการเคารพในศักดิ์ศรีของทุกเพศสภาพอย่างเสมอภาคกัน และแม้การจดทะเบียนสมรสจะเป็นทางเลือก แต่การมีทางเลือกย่อมดีกว่าการถูกปิดกั้นทางเลือกและการตัดโอกาส สมรสเท่าเทียมไม่ใช่เรื่องของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของประชาชนทุกอัตลักษณ์ที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน
.
นางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี สส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มีการประเมินว่ามีกลุ่มผู้หลากหลายทางเพศมากถึง 4.7 ล้านคน นักวิชาการและสื่อมวลชนประเมินว่าคนกลุ่มนี้กระจายอยู่ในทุกชนชั้น แต่กลับไม่เคยได้รับการเหลียวแลและถูกละเลยมานาน
.
“เมื่อกฏหมายไม่มี ศักดิ์ศรีก็ไม่มา ผู้มีความหลากหลายทางเพศในฐานะผู้ทรงสิทธิ ย่อมมีสิทธิในการสร้างครอบครัว สิทธิในการกำหนดเจตจำนงในอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเอง สิทธิจะใช้ชีวิต โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติและการปราศจากความรุนแรง โดยได้รับความคุ้มครองจากรัฐอย่างเต็มกำลัง” สส.อุบลราชธานี กล่าว
ที่มา : เพจพรรคเพื่อไทย
Facebook Comments


Social sharing

Related post