Digiqole ad

สภาศิลปินทำความดีเพื่อศาสนา นำคณะธรรมทูตมาฆบูชา “โครงการทูตวัฒนธรรมไทยAEC” มอบธงศาสนาพุทธสากล

 สภาศิลปินทำความดีเพื่อศาสนา นำคณะธรรมทูตมาฆบูชา “โครงการทูตวัฒนธรรมไทยAEC” มอบธงศาสนาพุทธสากล
Social sharing

Digiqole ad

สภาศิลปินทำความดีเพื่อศาสนา โดย ดร.ณรามิล วิชณุซัน คุ้มรักษ์ นำคณะธรรมทูตมาฆบูชา โครงการทูตวัฒนธรรมไทยAEC น้องเป๋ยเป้ย ทูตวัฒนธรรมไทยAeC
, น้องพลอยชมพู จันทกานต์ ทูตวัฒนธรรมไทยAEC,น้องฮาร์ทบีท กรฤต ทูตวัฒนธรรมไทยAeC, กวาง วรดา, จิตต์ภิญญา ฟองสุวรรณ, น้ำหวาน สุกัญญา และ ฮากีม ดลภาวิจิต นักแสดงละครมหามงคลฟิล์ม ช่อง 9 MCOT HD  มอบธงศาสนาพุทธสากล สำหรับธงศาสนาพุทธในระดับสากลนั้น ใช้ธงที่มีชื่อว่า ธงฉัพพรรณรังสี คำว่า “ฉัพพรรณรังสี” แปลว่ารัศมี 6 สี ซึ่งกล่าวกันว่าแผ่ออกจากพระกายของพระพุทธเจ้า คือ

สีนีละ – สีเขียวเหมือนดอกอัญชัน
สีปีตะ – สีเหลืองเหมือนหรดาลทอง
สีโรหิตะ – สีแดงเหมือนแสงตะวันอ่อน
สีโอทาตะ – สีขาวเงินยวง
สีมัญเชฏฐะ – สีแสดเหมือนหงอนไก่
สีประภัสสร – สีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก (คือสีทั้ง 5 ข้างต้นรวมกัน)
อนึ่ง สีในธงแต่ละสียังมีความหมายอื่นแฝงดังต่อไปนี้

สีนีละ: พระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันแผ่ไพศาลไปทั่วสกลจักรวาล
สีปีตะ: มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง คือ การหลีกเหลี่ยงความสุดโต่งทั้งปวง
สีโรหิตะ: การอำนวยพรให้ประสบความสำเร็จ สมบูรณ์พร้อมด้วยสติปัญญา คุณงามความดี ความเป็นผู้มีโชค และเกียรติยศทั้งปวง
สีโอทาตะ: ความบริสุทธิ์แห่งพระธรรม ซึ่งเป็นของที่ไม่จำกัดกาล (อกาลิโก) และนำชนไปสู่ความหลุดพ้น
สีมัญเชฏฐะ: พระปัญญาคุณแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สีประภัสสร: ความจริงทั้งหมดในพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ธงนี้ออกแบบโดยพุทธสมาคมโคลอมโบ เมื่อ พ.ศ. 2423 พันเอกเฮนรี เอส. โอลคอตต์ เป็นผู้แก้ไขให้เป็นแบบที่ใช้ในปัจจุบัน เริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2428 ที่ประเทศศรีลังกา ต่อมาองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (World Fellowship of Buddhists – WFB) ได้ประกาศให้ธงนี้เป็นธงพุทธศาสนาสากลเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ณ กรุงโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา

Facebook Comments


Social sharing

Related post