Digiqole ad

สถานการณ์ E-money ในสหราชอาณาจักรในปี 2021

 สถานการณ์ E-money ในสหราชอาณาจักรในปี 2021
Social sharing

Digiqole ad

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดตลอด 2 ปี ทำให้การใช้ E-money เติบโตอย่างมากอย่างก้าวกระโดด ในสหราชอาณาจักรก็เช่นเดียวกัน สังเกตได้จากตัวเลขผู้ประกอบธุรกิจ E-money ช่วงปี 2020 มีมากถึง 1,200 ราย

E-money คือ อะไร

E-money ในประเทศอังกฤษจะหมายความว่า มูลค่าของเงินตรา (Monetary value) ที่สามารถเรียกร้องได้จากผู้ออก E-money ซึ่งต้องมีลักษณะ ดังนี้

– ต้องเก็บรักษามูลค่าทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงในรูปแบบคลื่นแม่เหล็ก

– ต้องมีการออกใบรับเงิน

– ต้องใช้เพื่อการชำระราคากับบุคคลอื่นนอกจากผู้ออก E-money เอง

ทั้งนี้ E-money จะอยู่ในลักษณะของ Prepaid card หรือ อยู่ในระบบอิเล็กทรอนิกส์อื่นก็ได้ หากมูลค่าที่บันทึกไว้นั้นมีเพื่อการชำระราคา

ส่วนความหมายของ E-money ในไทยนั้นจะถูกนิยามในพระราชบัญญัติระบบชำระเงิน พ.ศ.2560 ซึ่งมีความหมายที่ใกล้เคียงกันว่า E-money คือ บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ประกอบธุรกิจออกให้แก่ผู้ใช้บริการ โดยมีการชําระเงินให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจไว้ล่วงหน้าเพื่อนําไปใช้ชําระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือค่าอื่นใดแทนการชําระด้วยเงินสด และได้มีการบันทึกมูลค่าหรือจํานวนเงินที่ชําระไว้ล่วงหน้า

ระบบคุ้มครอง E-money

ตามหลักการประกอบธุรกิจ E-money ผู้ประกอบการต้องแยกเงินของผู้ใช้บริการออกจากเงินของตัวเอง ห้ามปะปนกับเงินทุนเพื่อการดำเนินการของบริษัทตัวเอง และต้องฝากไว้กับ ธนาคารผู้รับฝากทรัพย์สิน (Custodian Bank) หรือ กองทุนสำหรับผู้ใช้บริการ (Customer fund) ที่มีระบบรับประกันเงินของผู้ใช้บริการที่เหมาะสม และต้องทำทันทีที่ได้รับเงินจากผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ การแยกเก็บเงินแบบนี้เรียกว่า Safeguarding fund และจะถูกใช้เมื่อผู้ประกอบธุรกิจ E-money ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของผู้ถือ E-money หรือล้มละลาย

ปัจจุบันนี้ เมื่อมีผู้ประกอบธุรกิจ E-money ล้มละลาย กระทรวงการคลังของ UKจะมอบหมายให้หน่วยงานเฉพาะให้นำเงินจาก Safeguarding fund มาชดใช้คืนให้แก่ผู้ถือ E-money และเจ้าหนี้ทั้งหลาย

สำหรับประเทศไทยมีการวางระบบตามหลักการ Safeguarding fund เช่นกัน โดยตามพระราชบัญญัติระบบชำระเงิน พ.ศ.2560 ผู้ประกอบธุรกิจ E-money จะต้องแยกเก็บเงินที่รับล่วงหน้าที่ได้มาจากประชาชนไว้ต่างหาก และเมื่อเกิดปัญหากับผู้ประกอบธุรกิจ E-money ธนาคารแห่งประเทศไทยจะร่วมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการนำเงินรับล่วงหน้าที่แยกเก็บไว้จ่ายคืนให้แก่ประชาชน

E-money กับ Financial Services Compensation Scheme (FSCS)

ระบคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงินของ UK ก็มีหน่วยงานที่คล้ายกับสถาบันคุ้มครองเงินฝากของไทย โดยมีชื่อว่า Financial Services Compensation Scheme (FSCS) ซึ่งเป็นบรรษัทที่จัดตั้งโดยรัฐบาลทำหน้าที่เป็นหน่วยงานช่วยเหลือทางด้นการเงินให้แก่บริษัทให้บริการทางการเงิน รวมถึงการจ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ฝากภายใน 7 วันหลังจากสถาบันการเงินถูกปิดกิจการ

ปัจจุบัน FSCS ไม่ได้ให้ความคุ้มครอง E-money เนื่องจากกฎเกณฑ์ของ FSCS จะให้ความคุ้มครองแก่ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นการฝากเงินเท่านั้น และ ในประเทศอังกฤษ E-money ไม่ได้ถูกตีความว่าเป็นผลิตภัณฑ์เป็นเงินฝาก ซึ่งเหมือนสถาบันคุ้มครองเงินฝากในประเทศไทย ทั้งนี้เพราะตามพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.2551 ให้ความคุ้มครองเฉพาะเงินฝากเช่นกัน

แต่อย่างไรก็ตาม หากจะให้ FSCS ขยายขอบเขตในการคุ้มครอง E-money นอกจากการพิจารณาว่าเป็นผลิตภัณฑ์เงินฝากแล้ว ยังต้องพิจารณาเรื่อง

  1. วงเงินให้ความคุ้มครอง E-money (ปัจจุบันอยู่ที่ 85,000 ปอนด์ ต่อผู้ฝาก)
  2. การใช้แหล่งเงินทุนใดเพื่อมาใช้จ่ายในการดำเนินการให้ความคุ้มครอง E-money
  3. วิธีการจัดการข้อมูล E-money เพื่อจัดทำเป็น SCV เพื่อสามารถดำเนินการจ่ายคืนได้อย่างรวดเร็ว
  4. การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ (Resolution regime) ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างหารือกับกระทรวงการคลังของ UK
  5. การดำเนินการระหว่างประเทศ เนื่องจาก ผู้ให้บริการ E-money ที่จดทะเบียนที่ UK เปิดให้บริการได้ในหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป

การดำเนินการของ FSCS ในอีกกรณีคือ หากสถาบันการเงินที่ Safeguarding fund ฝากเงินอยู่เกิดภาวะล้มละลาย FSCS จะเข้าไปดูแลจัดการได้โดยถือเป็น Trust account ทั้งนี้ ตามกฎหมาย UK FSCS สามารถจัดเก็บข้อมูลของผู้รับผลประโยชน์ (ในกรณีนี้ คือ ข้อมูลของผู้ใช้บริการ E-money) ในทรัสต์ได้ ถ้าผู้ก่อตั้งทรัสต์ยินยอมให้สถาบันการเงินแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับทรัสต์ให้ FSCS ทราบ ภายใต้กฎเกณฑ์ที่ FSCS โดยวงเงินคุ้มครอง (85,000 ปอนด์) Safeguarding fund จะถูกพิจารณาแยกต่างหากผู้ฝาก

สรุปข้อมูลจาก

Paola Crosetta, “E-money in the United Kingdom: A Case Study”, Fintech Brief No.4, IADI, September 2021, Accessed 11 January 2022, https://www.iadi.org/en/assets/File/ Papers/Fintech%20Briefs/IADI%20Fintech%20Brief%20-%20Emoney%20in%20the%20UK%20-%20final.pdf   

 

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post