Digiqole ad

“สก.เพื่อไทย” ร่วมลงมติเห็นชอบรายงานผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาผลกระทบจากการใช้กัญชาหรือกัญชงบริเวณใกล้สถานที่เปราะ

 “สก.เพื่อไทย” ร่วมลงมติเห็นชอบรายงานผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาผลกระทบจากการใช้กัญชาหรือกัญชงบริเวณใกล้สถานที่เปราะ
Social sharing

Digiqole ad
วันที่ 24 มกราคม 2567 ที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยแรก ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2567 สก.เพื่อไทยได้ร่วมลงมติเห็นชอบรายงานผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาผลกระทบจากการใช้กัญชาหรือกัญชงบริเวณใกล้สถานที่เปราะ ที่นำโดย นายวิพุธ ศรีวะอุไร สก. เขตบางรัก พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการวิสามัญศึกษาผลกระทบจากการใช้กัญชาหรือกัญชงบริเวณใกล้สถานที่เปราะบาง
.
นายวิพุธ ได้แถลงผลการศึกษาของคณะกรรมการวิสามัญฯ ทำการศึกษาผลกระทบจากการใช้กัญชาหรือกัญชง ว่า จากการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ทำให้ทราบว่าร้านจำหน่ายกัญชาในพื้นที่มีอยู่ประมาณ 2,624 ร้าน โดยร้านค้ามากกว่าครึ่งเปิดใกล้สถานศึกษา สถานที่เปราะบาง โดยร้านกัญชาส่วนใหญ่นั้นทำหน้าร้านให้ดูเหมือนร้านขนม ร้านวิดีโอเกม ทำให้ดึงดูดสายตายิ่งทำให้เยาวชนให้สามารถเข้าถึงกัญชาได้ง่ายขึ้น เมื่อเยาวชนได้รับสารเสพติดเข้าไปนั้น จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการทางสมอง ร่างกาย จิตใจ และยังมีโอกาสที่จะนำไปสู่การใช้สารเสพติดประเภทอื่น ๆ ได้
.
นายวิพุธ กล่าวต่อว่ากัญชากัญชงนั้นถูกปลดล็อกจากบัญชียาเสพติดตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 จนถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 1 ปี 6 เดือน ส่งผลกระทบต่าง ๆ ต่อเยาวชน ทั้งยังมีการนำเสนอผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ ออกมาเป็นระยะ โดยปัญหาที่เกิดขึ้นคือ พ.ร.บ.ที่ใช้ในการควบคุมนั้นไม่ได้กำหนดออกมาด้วย ซึ่งมีเพียงประกาศกระทรวงไม่กี่ฉบับเท่านั้น ทำให้เห็นได้ว่าการควบคุมดูแลนั้นไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้างโดยเฉพาะเยาวชน
.
โดยข้อเสนอแนะของคณะกรรมการวิสามัญฯ มีทั้งหมด 6 ข้อคือ
.
1. หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยเฉพาะกรมการแพทย์แผนไทยฯ สำนักอนามัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรประเมินผลดี ผลเสียจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท 5 หากมีผลเสียมากกว่าควรนำกัญชากลับไปอยู่ในบัญชีเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 และควรใช้เฉพาะทางการแพทย์
.
2. หากไม่สามารถดำเนินการตามข้อ 1 ได้ กระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรผลักดัน เร่งรัดการออกกฎหมายเฉพาะ กำกับดูแลกัญชาโดยตรง
.
3. สำนักอนามัยประสานกระทรวงสาธารณสุขให้นำ (ร่าง) พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542 ที่คณะกรรมการวิสามัญฯ ร่วมกันพิจารณาแล้วให้ประกาศใช้ต่อไป
.
4. ประสานขอให้กรมการแพทย์แผนไทยฯ จัดอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมีอำนาจในการกำกับดูแลมากขึ้น
.
5. ควรมีการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรมการแพทย์แผนไทยฯ สำนักอนามัย สำนักการแพทย์ สำนักเทศกิจ สำนักการศึกษา สำนักสิ่งแวดล้อม สำนักงานเขต กองบัญชาการตำรวจนครบาล สถานีตำรวจนครบาลท้องที่ เป็นต้น ในการลงพื้นที่เพื่อเป็นการป้องปรามไม่ให้มีการกระทำความผิดกัญชาหรือกัญชงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะเขตที่มีการขออนุญาตจำนวนมาก
.
6. ควรกำหนดให้พื้นที่โดยรอบสถานศึกษาห้ามจำหน่ายกัญชากัญชงหรือผลิตภัณฑ์จากกัญชาหรือกัญชงในรัศมี 300 เมตร ภายหลังที่ประชุมเห็นชอบรายการผลการศึกษาดังกล่าวนี้ จะส่งให้ฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานครพิจารณา เพื่อนำส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
.
ที่มา :
เพจพรรคเพื่อไทย
Facebook Comments


Social sharing

Related post