Digiqole ad

“ศาลเเพ่ง” จัดเสวนาขับเคลื่อนนโยบายร่วมมือกระบวนการยุติธรรม รอง อธ.ศาลเเพ่งเผยความคืบหน้าฟื้นฟูคดีอ่าวมาหยา ชี้ ร่าง พรบ.วีธีพิจารณาคดีสิ่งเเวดล้อมศาลเสนอรัฐบาลเป็นประโยชน์ ในการเเก้ไขปัญหาเชิงรุกสำหรับการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมในกระบวนการยุติธรรม

 “ศาลเเพ่ง” จัดเสวนาขับเคลื่อนนโยบายร่วมมือกระบวนการยุติธรรม รอง อธ.ศาลเเพ่งเผยความคืบหน้าฟื้นฟูคดีอ่าวมาหยา ชี้ ร่าง พรบ.วีธีพิจารณาคดีสิ่งเเวดล้อมศาลเสนอรัฐบาลเป็นประโยชน์ ในการเเก้ไขปัญหาเชิงรุกสำหรับการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมในกระบวนการยุติธรรม
Social sharing
Digiqole ad

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุม 801 สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ถนนรัชดาภิเษก นายฉัตรชัย ไทรโชต อธิบดีผู้พิพากษาศาลเเพ่ง เป็นประธานจัด จัดโครงการส่งเสริมการประสานความร่วมมือด้านการยุติธรรม ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม และมีการเสวนาหัวข้อ กฎหมายเกี่ยวกับการพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ มี นายเกรียงไกร จรรยามั่น รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง ,นายชูชัย สุทธิสว่างวงศ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง ,นายสุวิชา สุขเกษมหทัย รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง ,นายเริงชัย ลิ้มภักดี ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลแพ่ง น.ส.จิราพร คกาทอง ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีซื้อขายออนไลน์ในศาลแพ่ง นางทรรศนีย์ ลีลาพร ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีผู้บริโภคในศาลแพ่ง เป็นวิทยากรในการเสวนาเพื่อขับเคลื่อนนโยบายและสร้างความร่วมมือด้านกระบวนการยุติธรรม ในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงร่วมวางแนวทางแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องที่เกิดขึ้น ในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรมมีนายมหันต์โชค แฉล้มเขตต์ เลขานุการศาลแพ่ง เป็นผู้ดำเนินรายการ

 

โดยมีผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมเข้าร่วมเสวนาจำนวนมากอาทิเช่น ตัวเเทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด ,กรมบังคับคดี ,ปปง.,สคบ,.สำนักงานตำรวจเเห่งชาติ ,สภาทนายความ สำนักงานทนายความ,กรมที่ดิน เข้าร่วมอย่างคับคั่ง

นายเกรียงไกร จรรยามั่น รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง กล่าวว่าในประเด็นเสวนา ว่าศาลแพ่งมุ่งเน้นที่จะเอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง การพิจารณาคดีอิเล็กทรอนิกส์เป็นระบบทางเลือกที่ดีในสถานะการณ์ปัจจุบัน

นายชูชัย สุทธิสว่างวงศ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง กล่าวว่า ช่วงโควิดที่ผ่านมาถือเป็นการก้าวกระโดดของการนำวิธีพิจารณาคดีแบบอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้เป็นประโยชน์ โดยเปลี่ยนระบบจากกระดาษมาเป็นอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมีระบบยื่นคำฟ้องอิเล็กทรอนิกส์สำหรับทนายความและประชาชน (e-Filing) และ ระบบบริการข้อมูลคดีศาลยุติธรรม (CIOS) การพิจารณาคดีอิเล็กทรอนิกส์มีหลักที่สำคัญ คือต้องไม่ทำให้เป็นอุปสรรคในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่คู่ความและจะต้องให้ความยุติธรรมได้สะดวกเหมือนเดิม ตรงนี้เป็นหัวใจที่สำนักงานศาลให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยระบบดังกล่าวนี้ใช้ตามความสมัครใจไม่ใช่การบังคับ แต่เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน

น.ส.จิราพร คกาทอง ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีซื้อขายออนไลน์ในศาลแพ่ง ตอบคำถามผู้ร่วมเสวนา เกี่ยวกับเรื่องการยื่นอุทธรณ์ผ่านระบบ e-Filing ไม่ได้ ศาลแพ่งก็จะนำปัญหานี้แจ้งไปยังสำนักงานศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาต่อไป

นายมหันต์โชค แฉล้มเขตต์ เลขานุการศาลแพ่ง (ผู้ดำเนินรายการ) กล่าวตอบคำถาม กล่าวถึงกรอบระยะเวลาในการดำเนินกระบวนการยุติธรรมซึ่งจะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีพระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2565 ซึ่งศาลเเพ่งได้มีการปรับปรุงวันนัดให้เร็วขึ้นเพื่อให้อยู่ในกรอบของกฎหมายดังกล่าว แต่ต้องไม่กระทบถึงการอำนวยความยุติธรรมให้แก่คู่ความทั้งสองฝ่ายโดยจะมีการประสานงานเกี่ยวกับวันนัดโดยความสมัครใจของคู่ความ หากไม่สามารถกำหนดนัดให้เร็วขึ้นได้ ทนายความก็สามารแถลงเหตุผลความจำเป็นได้เป็นรายคดี

นายเริงชัย หัวหน้าแผนกคดีสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า คดีสิ่งแวดล้อมที่พบจะเป็นการดำเนินคดีแบบกลุ่มซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการพิจารณาคดีเป็นเวลานาน ซึ่งกว่าจะพิจารณาทั้งสามศาลก็จะใช้ระยะเวลานานเช่นกัน แต่ศาลก็มีการนำกระบวนการไกล่เกลี่ยเข้ามาเป็นทางเลือกให้แก่คู่ความ แต่คดีประเภทนี้จะมีโจทก์เข้ามาเป็นตัวแทนคนเดียว แต่มีผู้ได้รับความเสียหายจำนวนมาก

นางทรรศนีย์ หัวหน้าเเผนกคดีผู้บริโภค กล่าวว่า คดีผู้บริโภคถือว่ามีจำนวนค่อนข้างมากตกเดือนละ 500 คดี ฟ้องแบบผ่านระบบ e-Filing ประมาณ 300คดีที่เหลือจะเป็นการฟ้องแบบกระดาษ ซึ่งส่วนมากจะเป็นคดีเกี่ยวกับสถาบันการเงินและบริษัทเช่าซื้อ เราจะมีเจ้าพนักงานคดีเข้ามาช่วยดูแลและสามารถช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยซึ่งทำให้คดีลดลงและมีความรวดเร็วในการทำให้คดีจบลงได้เร็วขึ้น แต่บางคดีอาจจะล่าช้าก็จะเจอปัญหาเช่นเดียวกันกับการดำเนินคดีแบบกลุ่มเนื่องจากการไต่สวนใช้ระยะเวลานาน และมีขั้นตอนทางกฎหมายที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้จนทำให้ผู้บริโภคไม่เข้าใจ

โดยในช่วงตอบคำถามผู้สื่อข่าวได้สอบถามความคืบหน้าเกี่ยวกับคดีอาวมาหยาที่มีการถ่ายทำหนังเดอะบีช ศาลฎีกามีคำพิพากษาเมื่อปี65มีการฟื้นฟูแก้ไขสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดผลกระทบบริเวณชายหาด ปัจจุบันได้มีความคืบหน้าไปถึงระดับใด

นายเกรียงไกร รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง กล่าวว่า ความคืบหน้าล่าสุด เกี่ยวกับคดีนี้ อบจ. อบต. ซึ่งเป็นโจทก์ มีหนังสือแจ้งมายังแผนกคดีสิ่งแวดล้อมตามคำพิพากษาของศาลว่าจำเลยที่ 2 อยู่ในขั้นตอนสรรหาภาคเอกชนเข้ามาเป็นเพื่อนร่วมในการฟื้นฟูฯ ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญอยู่ในกระบวนการขั้นตอนการฟื้นฟู

นายสุวิชา รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง กล่าวว่า เรื่องคดีอ่าวมาหยาคำพิพากษาของศาลฎีกาพิพากษาให้กรมป่าไม้ฟื้นฟูอ่าวมาหยาให้กลับมาเหมือนเดิมเนื่องจากเป็นผู้อนุมัติให้เอกชนเข้าไปสร้างภาพยนตร์ในปี 2541 ส่วนของ บริษัท ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ฟ็อกซ์ ให้จ่ายค่าชดเชยอีก 10 ล้านบาทและช่วยเหลืออนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมโดยจะมอบเงินให้แก่กรมป่าไม้ในการฟื้นฟูอ่าวมาหยาและต้องรายงานผลการปฏิบัติงานต่อศาลทุกปี ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา3 หรือจนกว่าจะหมดเงินไป อันนี้เป็นกรณีสำคัญในส่วนของการบังคับคดี เมื่อศาลมีคำพิพากษาไปแล้วคดีที่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมซึ่งจะส่งเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะ เราจะมีวิธีดำเนินการติดตามประเมินผลอย่างไรนั้น สำนักงานศาลยุติธรรมได้มีการนำเสนอ ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมฯ ไปยังครม. แล้ว ซึ่งในกฎหมายนี้มีบทบัญญัติ ไว้ในมาตรา 55 ว่า ให้ศาลมีอำนาจเข้าไป ดูแลกำกับในเรื่องของการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม ในกรณีที่ไม่อาจบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลได้ มีความจำเป็นต้องกำหนดวิธีการอย่างอื่นเพื่อบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและกรณีที่ประโยชน์สาธารณะจะเสียหายอย่างร้ายแรง ศาลมีอำนาจออกคำสั่งเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องดังกล่าวได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หรือศาลอาจให้บุคคลอื่นมาแก้ไขบำบัด ป้องกันภัยทางสิ่งแวดล้อม โดยให้ลูกหนี้เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายก็ได้ ซึ่งเป็นกระบวนการตรวจสอบการปฎิบัติตามคำพิพากษาในการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมหรือไม่ หากกฏหมายฉบับนี้ผ่านเข้าไปในสภาฯเป็นผลดีในการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติของไทยไม่ใช่เฉพาะในเรื่องของอ่าวมาหยา ในคดีสิ่งแวดล้อมอื่นๆในเรื่องของป่าไม้ ในเรื่องของมลภาวะเป็นพิษในเรื่องของP.M. 2.5 ที่เราประสบปัญหากันอยู่ กระบวนการดังกล่าวเป็นการอำนวยการยุติธรรมในเชิงรุก กฎหมายนี้ให้อำนาจมีการกำหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษ เพื่อป้องกันและปราบปรามรวมทั้งชดเชยความเสียหายที่เสียไปในลักษณะเชิงฟื้นฟู

ในอนาคตต่อไปหากความปรากฏแก่ศาลเอง ศาลอาจจะไต่สวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่น คดีอ่าวมาหยา ศาลอาจไต่สวน อบต.อ่าวนางซึ่งเป็นโจทก์ที่1 อจบ. เป็นโจทก์ที่2 หรือประชาสังคมในส่วนที่มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดีโดยมีการไปตรวจสถานที่จริงว่าได้มีการปฎิบัติตามคำพิพากษาหรือไม่ก็ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูมลภาวะเป็นพิษและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง

ท้ายที่สุดนายสุวิชาได้ฝากไว้ว่า ที่ศาลแพ่งนอกจากจะมีกระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีทุกประเภทแล้ว ยังมีกระบวนการทางเลือกอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้คู่ความทั้งสองฝ่ายประหยัดค่าใช้จ่ายและเป็นการลดขั้นตอนในการพิจารณาคดี โดยเชิญชวนคู่ความที่มีคดีที่ศาลแพ่งนำคดีเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาท ซึ่งเป็นกระบวนการทางเลือกที่คู่ความสามารถออกแบบผลคำพิพากษาตามความสมัครใจของคู่ความได้ โดยสามารถติดต่อนำคดีดังกล่าวเข้าศูนย์ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทที่อาคารศาลแพ่งชั้น 9 ซึ่งมีทั้งกระบวนการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ตาม ป.วิแพ่ง ม.20 ตรี และการไกล่เกลี่ยระหว่างพิจารณาคดี

Facebook Comments

Related post