Digiqole ad

วิสาขบูชาปีนี้ 26 พ.ค.64 ตรงกับคืน “เพ็ญพุธ” เกิดยากกับปรากฎการณ์ “จันทรุปราคา” (ราหูอมจันทร์)

 วิสาขบูชาปีนี้ 26 พ.ค.64 ตรงกับคืน “เพ็ญพุธ” เกิดยากกับปรากฎการณ์ “จันทรุปราคา” (ราหูอมจันทร์)
Social sharing
Digiqole ad

“วันวิสาขบูชา” ในปีนี้ ตรงกับวันพุธที่ 26 พฤษภาคม 2564 (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6) โดยมติของสมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ ยกให้วันวิสาขบูชา เป็นมติของสมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ ยกให้วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากลของโลก เหตุการณ์สำคัญที่สุดในศาสนาพุทธ 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

โดยในค่ำวันพุธที่ 26 พฤษภาคม 2564 จะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วนเหนือฟ้าประเทศไทยเวลา 18.38 น. ถึง 19.52 น. ดวงจันทร์เต็มดวงจะปรากฏเว้าแหว่ง สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทั่วประเทศ ซึ่งดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลกตั้งแต่เวลา 15.47 น. จากนั้นค่อย ๆ เคลื่อนเข้าสู่เงามืดของโลก เกิดเป็นจันทรุปราคาบางส่วนในเวลา 16.44 น. และเข้าสู่จันทรุปราคาเต็มดวงตั้งแต่เวลา 18.11-18.25 น. แต่ในวันดังกล่าว ในประเทศไทยดวงจันทร์จะโผล่พ้นจากขอบฟ้าเวลาประมาณ 18.38 น. ทำให้ผู้สังเกตในไทยมีโอกาสมองเห็นเป็นเพียงจันทรุปราคาบางส่วนเท่านั้น

ผู้สนใจสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าในทุกภูมิภาคของประเทศ บริเวณขอบฟ้าทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลา 18.38 น. เป็นต้นไป จะมองเห็นดวงจันทร์ปรากฏเว้าแหว่งบางส่วนและค่อย ๆ ออกจากเงามืดของโลก จนกระทั่งเข้าสู่เงามัวหมดทั้งดวงในเวลา 19.52 น. เปลี่ยนเป็นจันทรุปราคาเงามัวที่สังเกตได้ยาก เนื่องจากความสว่างของดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และสุดท้ายดวงจันทร์จะพ้นจากเงามัวของโลกเวลา 20.49 น. ถือว่าสิ้นสุดปรากฏการณ์จันทรุปราคาในครั้งนี้โดยสมบูรณ์

ทั้งนี้ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเกิดจากดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน มีโลกอยู่กลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ และเป็นจังหวะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงาของโลก ทำให้ผู้สังเกตบนโลกฝั่งกลางคืน ในพื้นที่กว่าครึ่งโลกสามารถมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งหายไปในเงามืดแล้วโผล่กลับออกมาอีกครั้ง โดยจะเกิดขึ้นเฉพาะในคืนวันเพ็ญ 15 ค่ำ หรือคืนวันดวงจันทร์เต็มดวงเท่านั้น เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง บางปีอาจมีได้มากถึง 5 ครั้ง

Facebook Comments

Related post