Digiqole ad

วิศวลาดกระบัง กับ Industrial Package + K-Engineering IQA มอบประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมนานกว่า 12 เดือน

 วิศวลาดกระบัง กับ Industrial Package + K-Engineering IQA มอบประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมนานกว่า 12 เดือน
Social sharing

Digiqole ad

ยุคสมัยและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตลอดจน Digital technology disruption ที่จะวัดความสามารถและความอยู่รอดขององค์กร ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ก้าวทันโลก รวมถึงการเพิ่มทักษะการเรียนรู้ให้น้องๆ มีประสบการณ์ทำงานมากขึ้น จึงเกิดเป็นความร่วมมือสำคัญของวิศวลาดกระบัง กับสมาคมศิษย์เก่าวิศวลาดกระบัง เครือข่ายศิษย์เก่าเข้มแข็ง เพื่อมอบความเป็นมืออาชีพให้น้องๆ ตอกย้ำความเป็นหนึ่งและเป็นพึ่งของสังคม

รศ.ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ได้จัดโครงการ Industry Collaboration Package KMITL Engineering School เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสสร้างเสริมทักษะและประสบการณ์การทำงานกับภาคอุตสาหกรรมโดยตรงยาวนานขึ้นกว่า 12 เดือนตลอดระยะเวลาการเรียน  ส่งเสริมให้ทั้งคณาจารย์ นักศึกษา และภาคอุตสาหกรรมได้ร่วมกันพัฒนาและวิจัยเพื่อให้เกิดองค์ความรู้และเทคโนโลยีในการเพิ่มศักยภาพ เมื่อเรียนจบออกมาก็จะเป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง ขณะเดียวกันภาคอุตสาหกรรมก็จะได้นักศึกษาไปร่วมงานนานกว่าเดิม ทำให้ได้ผลงานที่มีความต่อเนื่องและมีคุณภาพมากกว่าเดิม

วิชาเรียนในกลุ่ม Industry Collaboration Package KMITL Engineering School ประกอบด้วย

Industrial Training in Summer เป็นวิภาคบังคับสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ใช้เวลาปฏิบัติงานที่สถานประกอบการ ช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม จำนวน 8 สัปดาห์ หรือ 2 เดือน

Cooperative Education สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ใช้เวลาปฏิบัติงานที่สถานประกอบการ ช่วงเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน จำนวนไม่ต่กว่า 16 สัปดาห์ หรือ 4 เดือน ในภาคเรียนที่ 1

Capstone Design Project นักศึกษาจะใช้เวลาปฏิบัติงานที่สถานประกอบการ ช่วงเดือนมกราคม-เมษายน จำนวนไม่ต่ำกว่า 16 สัปดาห์ หรือ 4 เดือน

Industry Experience for Engineering นักศึกษาชั้นปี 4 ที่ผ่านวิชาสหศึกษา ใช้เวลาปฏิบัติงานที่สถานประกอบการ ช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ไม่น้อยกว่า 2 วัน รวมเป็นจำนวน 16 ชั่วโมง/สัปดาห์ ในภาคเรียนที่ 2 ดังความสำเร็จของที่เกิดขึ้นของคณะฯที่ น.ส.พรไพลิน ว่องประเสริฐ ได้รับรางวัลดีเด่นระดับชาติ จากการประกวดโครงงานสหกิจศึกษาประจำปี 2563-2564 ชื่อโครงการ แอบพลิเคชั่นอ่านค่าอุณหภูมิจาก Thermal Sense ผ่านNFC ร่วมกับ บริษัทซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด

วิศวลาดกระบังได้ผนึกกำลังระหว่างคณาจารย์ นักศึกษาของคณะฯ ภาคอุตสาหกรรม และศิษย์เก่าวิศวลาดกระบัง ส่งเสริมการ Matching Project กับนักวิจัยและภาคอุตสาหกรรม ด้วย EIDTs ของคณะฯ และ KRIS. สจล. พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม พร้อมมอบโอกาสและประสบการณ์ให้น้องๆนักศึกษาได้ประสบความสำเร็จในการทำงาน ด้วย Industrial Package  พร้อมทั้งระบบประกันคุณภาพการศึกษาที่มีผู้ตรวจจากภาคอุตสาหกรรม K-Engineering IQA  เพื่อการศึกษาที่ดี ชีวิตดี และ สิ่งแวดล้อมดี ตามนโนบายของ สจล.และท่านอธิการบดี ศ.ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ส่งเสริมความเป็น World Class Research and Innovation ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยแบบพุ่งเป้าด้วยความร่วมมือทั้งภายในและหน่วยงานภายนอกของประเทศและต่างประเทศ สร้างงานวิจัยเกิดนวัตกรรม ตลอดจนการพัฒนาสู่ SME เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ

ด้วยความร่วมมือของศิษย์เก่ารุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จได้เข้ามาช่วยสนับสนุน นำโดยคุณธิติวัฒน์ เงินนำโชคธนรัตน์ อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คิวทีซีกรุ๊ป จำกัด, ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บริหารสินทรัพย์ สุวรรณภูมิ จำกัด กล่าวถึง “สิ่งที่เราต้องการจากเด็กรุ่นใหม่ คือ ความอดทนที่มาพร้อมกับความพยายามเรียนรู้กับอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความอดทน เรียนรู้และสร้างความแข็งแกร่งด้วยตัวเอง ไม่ทำตัวเป็นเหมือนน้ำที่เต็มแก้ว พร้อมก้าวไปข้างหน้า สามารถประสานงานและการพูดคุยกับเจเนอเรชั่นอื่น ๆ ด้วยความราบรื่น และสิ่งสำคัญที่สุดคือ มีประสาทสัมผัสหรือวิสัยทัศน์ที่จะรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้หรือยาวไกล” ทำให้การออกแบบหลักสูตรจึงต้องมีความทันสมัยสอดรับกับความต้องการในปัจจุบัน

อีกทั้ง คุณนท นิมสมบุญ ในฐานะว่าที่นายกสมาคมศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูเนียน แอ็สโซซิเอทส์(ไทย) จำกัด, บริษัท ยศวดี จำกัด, บริษัท รักษนา พรีเมียม ไรซ์ จำกัด กล่าวถึงบทบาทของสมาคมศิษย์เก่าฯ ว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก ร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมของสมาชิกไม่ว่าจะเป็นสมาชิกศิษย์เก่า สมาชิกในองค์กร บริษัท ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ เพื่อให้เกิดเครือข่ายที่มีความเหนียวแน่นในกลุ่มสมาชิก 2.เผยแพร่ชื่อเสียงของสมาชิกสมาคมศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ไปสู่เครือข่ายของสมาคมและบุคคลภายนอก 3.ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของคณะและสถาบัน เพื่อให้เกิดประโยชน์กับศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันสูงสุด 4.ส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการแก่สมาชิก พื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการให้กับสมาชิกศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน 5.ร่วมมือกับสมาคมองค์กร หรือสถาบันอื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมการศึกษา วัฒนธรรมและมนุษยธรรมรือร่วมสนับสนุนกิจกรรมกับองค์กรอื่นๆ  

ดังนั้นวิศวลาดกระบัง จึงมีเครือข่ายที่ร่วมกันปั้นน้องๆ สู่วิศวกรมืออาชีพ ซึ่ง ผศ.ดร.เปี่ยมภูมิ สฤกพฤกษ์ รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กำกับดูแลและรับผิดชอบงานกิจการนักศึกษาและแผนงาน กล่าวว่า Industrial Package คือการที่วิศวลาดกระบังจะไปเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม จากเดิมที่นักศึกษามีระยะเวลาฝึกงานเพียง 2 เดือน และต่อเนื่องด้วยสหกิจศึกษาที่ทำให้นักศึกษาอยู่กับอุตสาหกรรมอีก 4 เดือน รวมเป็น 6 เดือน แต่ Industrial Package จะขยายระยะเวลาจนถึงสิ้นปี คือเดือนธันวาคม เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกงานกับภาคอุตสาหกรรมได้นานถึง 12 เดือน ส่งเสริมให้น้องๆมีทักษะมากขึ้น

วิชา Industrial Experience for Engineering เป็นวิชาใหม่สำหรับนักศึกษารุ่นปัจจุบัน โดยนักศึกษาสามารถไปอยู่และฝึกงานกับภาคอุตสาหกรรมอีก 1 ภาคการศึกษา ตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคม นั่นหมายความว่า นักศึกษาจะฝึกงานตั้งแต่เดือนมิถุนายนเดือนพฤษภาคม ครบรอบ 1 ปี หรือ 12 เดือนพอดี ทำให้นักศึกษาสามารถฝึกทักษะและสร้างเสริมประสบการณ์ ได้พัฒนาตนเองให้มีความพร้อมเพื่อการออกไปทำงานจริง

ทั้งนี้ การฝึกงาน หรือสหกิจศึกษา ดำเนินการได้ 2 รูปแบบ 1.การที่บริษัทหรือภาคอุตสาหกรรม เข้ามานำเสนอกับทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ และงานกิจการนักศึกษา ทางคณะก็จะนำข้อเสนอเหล่านี้ ส่งตรงไปให้กับนักศึกษา 2.นักศึกษาหาบริษัทที่สนใจจะเข้าร่วมฝึกงานและทำสหกิจศึกษาด้วยตนเอง โดยทางคณะวิศวกรรมศาสตร์และกองกิจการนักศึกษาจะมีระบบกลั่นกรองว่า บริษัทดังกล่าวมีหัวข้องานที่น่าสนใจ นักศึกษาสามารถฝึกประสบการณ์ได้จริง

ส่วนการวัดผลการฝึกงาน จะดำเนินการโดยคณะกรรมการวัดผล อาทิ อาจารย์ผู้ควบคุมหรืออาจารย์นิเทศน์ จะเข้าไปช่วยดูแลกำกับการฝึกงานจริง มีการสื่อสารระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์กับทางอุตสาหกรรม เพื่อให้ตอบโจทย์ที่เป็นวัตถุประสงค์และเป้าหมายของทางคณะ

ตลอดระยะของการเรียนในหลักสูตรในชั้นปีที่ 1 – 3 นักศึกษาได้เรียนวิชาต่าง ๆ ทั้งทางฤษฎีและปฏิบัติ แต่การเรียนในมหาวิทยาลัยอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ ดังนั้นในช่วงปีที่ 4 จึงเริ่มให้มีการฝึกงานช่วงภาคฤดูร้อน จนสำเร็จการศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกจริง ปฏิบัติงานจริงจากพื้นฐานที่ได้เรียนมา ซึ่งตลอดระยะฝึกงาน 12 เดือน ถ้าหากนักศึกษาสามารถสร้างสรรค์ ครีเอทโจทย์ร่วมกับภาคอุตสาหกรรม และอาจารย์นิเทศ จนออกมาเป็นนวัตกรรม จะทำให้นักศึกษาสามารถต่อยอดเป็น Start Up โดยบริษัทต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุน ก็จะทำให้นักศึกษาประสบความสำเร็จในชีวิตได้เร็วขึ้น

.ดร.รวิภัทร ลาภเจริญสุข ผู้ช่วยคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำกับดูแลและรับผิดชอบงานวิชาการปริญญาตรี งานประกันและพัฒนาคุณภาพการศึกษา สจล. กล่าวถึงการวัดผล หรือ K-Engineering IQA ว่า เป็นระบบประกันคุณภาพการศึกษารูปแบบใหม่ ที่ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. พัฒนาขึ้น โดยอ้างอิงจากเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ของสภาวิศวกร ซึ่งวิศวลาดกระบังได้นำเกณฑ์นี้มาวัดคุณภาพหลักสูตรระดับปริญญาตรี

จุดเด่นที่สำคัญของ K-Engineering IQA คือกรรมการผู้ตรวจประเมิน จะไม่ใช้อาจารย์เป็นคนตรวจกันเอง แต่ได้เชิญและแต่งตั้งคณะกรรมการจากภาคอุตสาหกรรม กรรมการชุดนี้ เรียกว่า Industrial Advisory Board หรือบอร์ด IAB ซึ่งเป็นภาคอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับทุกหลักสูตรวิศวกรรมลาดกระบัง ลดจำนวนการจัดทำเอกสาร ไม่มีการวัดคะแนน แต่หันมาเน้นที่การแสดงทัศนะจากผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. สามารถตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมด้ววามยืดหยุ่น มีการปรับหลักสูตรเพื่อรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต และได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เป็นเครือข่ายลาดกระบังเข้มแข็ง ความแน่นแฟ้นของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และ สมาคมศิษย์เก่าวิศวลาดกระบัง ผ่านหลากหลายโครงการและผสานพลังที่ทำมาอย่างต่อเนื่องเป็นที่ประจักษ์ K-Eng IQA, Industrial Package, Commercialized Product, และนวัตกรรมเพื่อสังคม ค้นหาคำตอบและผลแห่งการรวมพลังช่วยเหลือสังคม และเสริมความแกร่งคณะและศิษย์เก่า

สร้างความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับวิศวลาดกระบัง สังคมและประเทศชาติ

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02-329-8314

Facebook : งานกิจการนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.

Youtube: Engineering KMITL Channel ; Ep.6 Industrial Package + K-Engineering IQA

Line : @ezd8794o

Facebook Comments


Social sharing

Related post