Digiqole ad

วินทุกเว(ที)..Ways to Win EP:46 ครูปิ่น-ปิ่นศิริ ศิริปิ่น “ถอดบทเรียนวงการประกวดไทย ยุคกระแส SOFT POWER (4)” (อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 416 วันที่ 26 ม.ค.-1 ก.พ.67)

 วินทุกเว(ที)..Ways to Win EP:46 ครูปิ่น-ปิ่นศิริ ศิริปิ่น “ถอดบทเรียนวงการประกวดไทย ยุคกระแส SOFT POWER (4)” (อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 416 วันที่ 26 ม.ค.-1 ก.พ.67)
Social sharing

Digiqole ad

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 416 วันที่ 26 มกราคม -1 กุมภาพันธ์ 2567

หน้า 33 วินทุกเว(ที)..Ways to Win EP:46  เรื่อง : ครูปิ่น-ปิ่นศิริ ศิริปิ่น

ถอดบทเรียนวงการประกวดไทย

ยุคกระแส SOFT POWER (4)

            “ครูปิ่น-ปิ่นศิริ ศิริปิ่น” มารับไม้สุดท้ายในหัวข้อนี้ “ถอดบทเรียนวงการประกวดไทย ยุคกระแส SOFT POWER” ซึ่งจะขอนำประสบการณ์+มุมมองของครูปิ่นมาเล่ากันเป็นข้อ ๆ ไปเลยนะครับ สำหรับสีสันและแนวโน้มของการประกวดในยุค SOFT POWER

            1.การใช้อารมณ์ล้ำและความรู้สึกเลิศ : เป็นที่สังเกตว่าในการประกวดเวทีใหญ่ ๆ ทุกเวทีจะมีเสียงดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อเป็นการเพิ่มสีสันให้กับเวทีทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบเสียงดนตรีและการร้องเพลงโดยศิลปิน ประกอบการเดินของผู้เข้าประกวดในรอบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การเปิดตัว,ชุดว่ายน้ำ และ ชุดราตรี เป็นต้น เขาจะมีคำศัพท์เรียกกันว่า “Mood & Tone” คือการใช้อารมณ์และความรู้สึกเข้ามาช่วยในการออกแบบท่าเดินหรือการแสดงออก โดยเฉพาะทางภาษากาย (Body Language) ที่นอกเหนือจากท่วงท่าและลีลาการเดินแล้ว ยังรวมไปถึงการแสดงออกทางสีหน้าอารมณ์ เช่น รอยยิ้มพิมพ์ใจ ที่จะทำให้ดูดีมีเสน่ห์ดึงดูดใจยิ่งนัก

ในปัจจุบันผู้เข้าประกวดหลายคน โดยการแนะนำของพี่เลี้ยง นิยมไปเทรนกับโค้ชที่สอนการเดินแบบตัวต่อตัว มากกว่าจะที่พึ่งผู้สอน หรือ โครีโอกราฟเฟอร์ Choreographer) จากกองประกวด ดังนั้นการที่ผู้เข้าประกวดพอจะรู้จักจังหวะเพลงบ้าง ก็จะทำให้การเดินนั้นออกมาได้ดีเลยทีเดียว ถือเป็นความโดดเด่นที่จะเรียกคะแนนจากคณะกรรมการได้ด้วยเช่นกัน

            2.การเปิดโลกทัศน์ด้านดนตรีและการขับร้อง : ต้องบอกว่าปัจจุบันนี้นางงามกลายเป็นคู่แข่งคนสำคัญของศิลปินนักแสดงในงานโชว์ตัวตามงานอีเว้นต์ต่าง ๆ แต่เดิมนิยมเฉพาะศิลปินนักแสดงเท่านั้น แล้วสิ่งที่จะดึงดูดความสนใจจากผู้คนได้คือ “การร้องเพลง” ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าให้กับบุคคลนั้น ๆ มากกว่าการที่จะพูดอย่างเดียว ดังนั้นหลายเวทีประกวดจะมีการแข่งขันทักษะด้านการร้องเพลงของผู้เข้าประกวดขึ้นมา ถ้าเวทีไหนมีรายการนี้ ให้ผู้เข้าประกวดเลือกเพลงที่ตนเองถนัด อย่าไปคิดว่าเลือกร้องเพลงยาก ๆ ที่เราไม่ถนัดด้วยแล้วจะได้คะแนน ไปๆมาๆจะเสียคะแนนมากกว่า ให้เลือกร้องเพลงกระแสนิยมหรือที่มีความสนุกสนาน ถูกกาลเทศะ หรือไม่ก็ฉีกแนวไปเลย เช่น เพลงลูกทุ่ง เพลงหมอลำ เพลงแหล่ แต่ต้องมั่นใจว่าร้องได้ดีนะครับ

แล้วการร้องเพลงได้ดีไพเราะจะเป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาของการเข้ารอบลึก ๆ ของผู้เข้าประกวด เพราะอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เวลาไปโชว์ตัวจะได้มีอาวุธติดตัวไปเรียกเงินเพิ่มจากเจ้าของงานอีเว้นต์หรือรายการ จึงไม่แปลกที่ผู้เข้าประกวดจะไปเรียนร้องเพลงกับครูสอนร้องเพลงกันมากขึ้น แม้แต่ครูปิ่นก็เคยมีนางงามและนายแบบ รวมทั้งศิลปิน นักแสดงมาเรียนร้องเพลงกันหลายคน อีกทั้งนักร้องอาชีพที่มีหน้าตาดียังสมัครเข้ามาประกวดกันเลย อย่างล่าสุด มีนักร้องลูกทุ่งหมอลำ มาสมัครประกวดเวทีในระดับจังหวัดแล้วได้ตำแหน่งชนะเลิศแล้วก็มี

3.กู่ก้องความเป็นดรามาพีอาร์ตัวผู้เข้าประกวด : ในการประกวด โดยเฉพาะนางงามและร้องเพลง ในสมัยก่อนจะไม่ค่อยได้ยินข่าวดรามาบ่อน้ำแตกของนางงามหรือนักร้องผู้เข้าประกวดสักเท่าไหร่ อาจเป็นเพราะ“สื่อโซเชี่ยลมีเดีย” หรือ “สังคมออนไลน์” ยังไม่ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายเหมือนเช่นปัจจุบัน เราจะเห็นได้ว่า ในยุคนี้ เมื่อไหร่ที่มีการประกวด ทั้งนางงามและนักร้อง ล้วนต้องมีกระแสดรามาเกิดขึ้นทุกครั้ง ทั้งเรื่องที่มีมาอยู่ก่อน และสร้างเรื่องขึ้นมาแบบเนียน ๆ จึงทำให้ความเป็น “ดรามา” กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะเรียกคะแนนและความสนใจ ทั้งจากคณะกรรมการ แฟน ๆ ผู้ติดตาม และการชิงพื้นที่สื่อได้เป็นอย่างดี ผู้เข้าประกวดหลายคนได้หันมาใช้กลยุทธ์ในการสร้าง “คอนเทนต์ดรามา” กันสนั่นโซเชี่ยลมีเดีย

            4.อวดคอนเทนต์ในโซเชี่ยลมีเดียสนั่น : นอกจากจะอวดความดรามาในโซเชี่ยลมีเดียกันแล้ว ยังมีการสร้างคอนเทนต์เรื่องอื่น ๆ ที่เน้นเชิงสร้างสรรค์ อาทิ จิตอาสา,ท่องเที่ยว,ศิลปวัฒนธรรม,อาหาร,สุขภาพ,การให้ความรู้ ผ่านตัวผู้เข้าประกวด ซึ่งบางคนเป็น Net Idol,YouTuber,TikToker หรือ Influencer ก็จะมีภาษีเหนือกว่า เนื่องจากฐานแฟนคลับเยอะ ยิ่งมีมากเท่าไหร่เจ้าของเวทียิ่งชอบ ถ้าเป็นแม่ค้าพ่อค้าออนไลน์ด้วยแล้วยิ่งจะถูกพิจารณาตำแหน่งเป็นพิเศษ จะได้เข้ามาช่วยกองประกวดทำมาหากินได้ด้วย

5.หมั่นดูคลิปการประกวดในปีที่ผ่าน ๆ มา :  “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” เป็นประโยคที่คุ้นหูกันดี ซึ่งเป็นข้อคิดเชิงปรัชญาจาก “ซุนวู” ผู้เขียนตำราพิชัยสงครามของซุนวู ในการประกวดนั้น หากเราได้ทำการบ้านด้วยย้อนกลับไปดูคลิปการประกวดของเวทีนั้น ๆ ในปีที่ผ่าน  ๆ มาหลายปี ยิ่งย้อนดูไปมากเท่าไหร่ ยิ่งได้กำไรมากเท่านั้น ให้ศึกษาดูข้อดีข้อด้อย โดยเฉพาะของผู้เข้าประกวดและผู้ที่ได้รับตำแหน่ง แล้วนำมาปรับประยุกต์ในแบบฉบับของเราเอง โดยไม่เลียนแบบ ซึ่งเป็นวิธีที่พี่เลี้ยงนิยมทำกันมากที่สุด โดยดูคู่ไปกับผู้เข้าประกวดแล้วมาวิเคราะห์กัน เพื่อนำสิ่งที่ดีมาเติมเต็มให้กับตัวผู้เข้าประกวด

            หวังว่า 5 ข้อ ที่ครูปิ่นกล่าวมา คงจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้เข้าประกวดและพี่เลี้ยง ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้เข้าประกวดทุกคนนะครับ!

 เรื่อง : ครูปิ่น-ปิ่นศิริ ศิริปิ่น     

เรียบเรียง : ดร.จุมพล โพธิสุวรรณ

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 416 วันที่ 26 มกราคม -1 กุมภาพันธ์ 2567

หน้า 33 วินทุกเว(ที)..Ways to Win EP 46////เรื่อง : ครูปิ่น-ปิ่นศิริ ศิริปิ่น

ถอดบทเรียนวงการประกวดไทย

ยุคกระแส SOFT POWER (4)

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ ๔๑๖ วันที่ ๒๖ มกราคม – ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
https://book.bangkok-today.com/books/jxlx/#p=33

(สามารถพลิกอ่านได้เหมือนหนังสือปกติ)

 

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post