Digiqole ad

วินทุกเว(ที) Ways to Win EP:13 “หนุ่ม-นันท์นภัทร เจิมจุติธรรม” เล่าต่อตอน 2 “จากปฐมบทนางสยาม สู่ระบบนางงามจังหวัด”(อีบุ๊กวันที่ 12-18 พ.ค.66)

 วินทุกเว(ที) Ways to Win EP:13 “หนุ่ม-นันท์นภัทร เจิมจุติธรรม” เล่าต่อตอน 2 “จากปฐมบทนางสยาม สู่ระบบนางงามจังหวัด”(อีบุ๊กวันที่ 12-18 พ.ค.66)
Social sharing

Digiqole ad

อีบุ๊กวันที่ 12-18 พฤษภาคม 2566

วินทุกเว(ที) Ways to Win…EP:13

หนุ่ม-นันท์นภัทร เจิมจุติธรรม

จากปฐมบทนางสยาม

สู่ระบบนางงามจังหวัด ( ตอน 2)

            เกริ่นกันมาพองาม มาว่ากันต่อ ในปัจจุบันนี้เวทีใหญ่หลายเวทีในเมืองไทยทั้งนางงามสาวประเภทหนึ่ง สาวประเภท และนายแบบ ต่างพร้อมใจกันหันมานิยมกำหนดให้มีการประกวดหรือการแต่งตั้งตัวแทนระดับจังหวัดที่ในขณะนี้ปี 2566 มีอยู่ 77 จังหวัด เพื่อเข้าร่วมประกวดบนเวทีใหญ่

สำหรับการแบ่งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ และทำบล็อกกิ้งเพื่อการเดินหรือการแสดงก็ง่ายหน่อย อาจจะ 7 คน 11 กลุ่ม หรือ 11 คน 7 กลุ่ม แต่ถ้าแบ่งตามภูมิภาค คงดูไม่ลงตัว หากแบ่งตามนิยมกันคือแบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาคของไทย จาก 77 จังหวัด ข้อมูลอ้างอิงของเว็บไซต์  https://www.wikiwand.com/th  ได้ระบุเป็นภาคเหนือ 15 จังหวัด ภาคกลาง 27 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน 21 จังหวัด  และภาคใต้ 14 จังหวัด

แล้วถ้าแบ่งยิบย่อยเป็น 6 ภูมิภาค เพิ่มเป็นภาคตะวันออก และ ภาคตะวันตก  อาจไม่สนุกสำหรับผู้เข้าประกวดและทีมงาน เนื่องจากถ้าคัดเลือกตัวแทนแต่ละภาคมาสักภาคละ 4-5 คน คงเหนื่อยหน่อยสำหรับภาคที่มีจำนวนจังหวัดมากที่ต้องมีคู่แข่งขันมากไปด้วย โอกาสจึงมีน้อยลง (ให้คิดบวกคือเราต้องเพิ่มศักยภาพของตัวเราเองให้มาก ๆ  เพื่อชิงพื้นที่หรือโควตามาให้ได้ จะเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจกันเลยทีเดียว) แต่จะสบาย ๆ สำหรับภาคที่มีจำนวนจังหวัดน้อย คู่จะน้อยไปด้วย ทำให้มีโอกาสมีมากขึ้น ดังนั้นหากวางแผนให้ดีคงต้องไปสมัครลงประกวดในภาคที่มีจำนวนจังหวัดน้อย ๆ น่าจะดีกว่าเป็นไหน ๆ

แล้วผลดีที่ได้จากสรรหาตัวแทนระดับจังหวัดเพื่อไปประกวดเวทีใหญ่หรือกองแม่ละมีอะไรบ้างจะขอแบ่งเป็นข้อ ๆ ดังนี้เลย

           ฝ่ายผู้เข้าประกวด

เป็นการเพิ่มโอกาสมากขึ้น : แต่เดิมเวทีประกวดใหญ่ ๆ จะจัดและคัดเลือกตัวกันที่ส่วนกลางหรือกรุงเทพฯ เท่านั้น หากพลาดโอกาสแล้วต้องรอปีหน้า หรือไม่ก็ไปเวทีอื่น ๆ พอเป็นการประกวดระดับจังหวัดก่อน ทำให้กลายเป็นตลาดของการประกวด เวทีประกวดมาถึงหน้าบ้านเราแล้ว ผู้เข้าประกวดสามารถเลือกสมัครได้อย่าเสรี หากเรามีพื้นเพอยู่ในจังหวัดนั้น ๆ ก็ไปเลย อาจเป็นแต้มต่อให้เราผ่านเข้ารอบลึกหรือกลายเป็นผู้ชนะในที่สุดด้วยซ้ำ อีกทั้งคู่แข่งก็กระจายกันไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วไทย ไม่กระจุยตัวกันอยู่ในกรุงเทพฯ หรือตามเมืองใหญ่ ๆ เท่านั้น อาจทำให้ผู้ถือลิขสิทธิ์ระดับจังหวัดได้เพชรเม็ดงามหรือช้างเผือกในป่าใหญ่

ฝ่ายผู้จัด/ผู้ถือลิขสิทธิ์

การจัดงานประกวดนางงามประจำจังหวัดในสมัยก่อน จะเป็นส่วนราชการ อาทิ จังหวัด อำเภอเทศบาล และส่วนมากจะจัดในงานกาชาดประจำจังหวัดในแต่ละปี  แต่ในยุคนี้ใคร ๆ ก็สามารถจัดประกวดได้ถ้ามีความพร้อมและศักยภาพเพียงพอ

แต่ละเวทีจะเรียกผู้ถือลิขสิทธิ์แตกต่างกันออกไป สำหรับราคาการถือลิขสิทธิ์การจัดประกวดประจำจังหวัด เท่าที่ทราบแต่ละกองแม่จะมีเรตราคาแตกต่างกันตั้งแต่หลักหมื่นถึงหลักแสนบาท บ้างก็ขายแบบจังหวัดใหญ่จะแพง ส่วนจังหวัดกลาง ๆ เล็ก ๆ มีราคาที่ลดหลั่นกันลงไป บ้างก็ถ้าซื้อลิขสิทธิ์หลายจังหวัดจะได้ในราคาพิเศษ ในแง่จิตวิทยาอาจทำให้อยู่ในสายตากองแม่ และบ้างก็กลายเป็นเอเย่นต์ขายลิขสิทธิ์คือ ซื้อมาเยอะ ๆ แล้วขายให้กับผู้จัดรายย่อย ๆ แบบบวกราคาเพิ่มเบา ๆ จับต้องได้

ทั้งนี้ผู้ซื้อลิขสิทธิ์หน้าใหม่ ๆ บางคน อาจเคยเป็นพี่เลี้ยงนางงาม เจ้าของห้องเสื้อ ผู้ชม แฟนคลับ หรือผู้ที่อยู่ในแวดวงนางงาม ทำให้เขาหัวใจพองโต เกิดความภาคภูมิใจที่ครั้งหนึ่งในชีวิตได้ทำอะไรที่เป็นหนึ่งในความฝันที่ยิ่งใหญ่ของเขาหรือเธอ

ขอหมายเหตุนิดหนึ่งว่า ในรายที่ผู้ซื้อลิขสิทธิ์จังหวัดแล้วจัดการประกวดได้ดี อาจถูกทาบทามให้ทำต่อไปในปีต่อปี หรือทำในด้านอื่น ๆ เช่น จังหวัดเจ้าภาพในการเก็บตัว

 

 

ฝ่ายแฟนคลับ

แต่เดิมจะอยู่ในกรุงเทพฯ เพราะเวทีใหญ่จัดที่นี่ตั้งแต่เริ่มต้นถึงรอบตัดสิน เมื่อมีการกระจายการประกวดไปในทุกจังหวัด บวกกับอิทธิพลของโซเชี่ยลมีเดีย ทำให้เกิดฐานและการเข้าถึงแฟนคลับเพิ่มมากขึ้นและไปอย่างรวดเร็วคือ แป๊บเดียวก็รู้เรื่อง

ฝ่ายท้องที่/จังหวัด

เมื่อมีการจัดประกวดในระดับจังหวัด ผลประโยชน์ในภาพรวมคือ เป็นการส่งเสริมและกระตุ้นการท่องเที่ยวของจังหวัด อีกทั้งเป็นการกระจายรายได้คือ มีการว่าจ้างงานต่าง  ๆ เกิดขึ้น ตลอดจน เป็นกิจกรรมที่สร้างสีสันให้กับจังหวัดนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี

ล่าสุดเวทีที่เปิดตัวกับการคัดเลือกหาตัวแทนผ่านระดับจังหวัดเป็นครั้งแรกนั่นคือ “มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส” ที่จัดมาตั้งแต่ ปี 2543 เพิ่งจะมาใช้ระบบจังหวัดในปีนี้เอง กับคอนเซ็ปต์ The Unlimited…จักรวาลไร้ขีดจำกัด” ยกระดับคุณค่าผู้หญิงไทย และสร้างแรงบันดาลใจให้กับความงามในทุกรูปแบบ ผู้ที่ได้เป็นตัวแทนในระดับจังหวัดจะได้มงกุฎเหมือนเดียวกันหมด  ดำเนินการจัดโดย บริษัท ทีพีเอ็น โกลบอล จำกัด (TPN Global) เอาไว้จะเก็บเรื่องราวดี ๆ มาฝากในตอนต่อไปครับ!

0 หนุ่ม-นันท์นภัทร เจิมจุติธรรม 0

 

วินทุกเว(ที) Ways to Win…EP:13 “หนุ่ม-นันท์นภัทร เจิมจุติธรรม” เล่าต่อ ตอน 2 จากปฐมบทนางสยาม สู่ระบบนางงามจังหวัด ( ตอน 2)

บางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 379 วันที่ 12-18 พฤษภาคม 2566
https://book.bangkok-today.com/books/tqht/

Facebook Comments


Social sharing

Related post