Digiqole ad

ลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบผ่าน 5 ช่องทาง เริ่มวันที่ 1 ธ.ค.66 และนายกรัฐมนตรีเตรียมแถลงภาพรวมหนี้ทั้งในและนอกระบบในวันที่ 12 ธ.ค.66

 ลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบผ่าน 5 ช่องทาง เริ่มวันที่ 1 ธ.ค.66 และนายกรัฐมนตรีเตรียมแถลงภาพรวมหนี้ทั้งในและนอกระบบในวันที่ 12 ธ.ค.66
Social sharing

Digiqole ad
ตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศผลักดันการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบเป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากปัญหานี้กัดกร่อนสังคมไทยอย่างยาวนานและถือเป็น ‘การค้าทาสในยุคใหม่’ ที่พรากอิสรภาพและความฝันไปจากประชาชน จึงต้องแก้ไขเพื่อฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ คืนศักดิ์ศรี คืนความหวัง และสร้างความมั่นคงให้กับพี่น้องประชาชน โดยสามารถลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบผ่าน 5 ช่องทาง เริ่มวันที่ 1 ธันวาคมนี้ และนายกรัฐมนตรีเตรียมแถลงภาพรวมหนี้ทั้งในและนอกระบบในวันที่ 12 ธันวาคม 2566
.
1. ประชาชนที่ประสบปัญหาหนี้นอกระบบ ไม่ว่าจะเป็นการถูกข่มขู่คุกคาม ถูกดูหมิ่น ในการทวงถามหนี้ ถูกกระทำโดยไม่เป็นธรรม หรือท่านที่มีความประสงค์จะปรับเปลี่ยนแก้ไขหนี้จากนอกระบบให้เป็นหนี้ในระบบ เพื่อที่จะได้มีภาระในการผ่อนชำระน้อยลง สามารถลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบได้ 5 ช่องทาง ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567
.
(1) เว็บ debt.dopa.go.th
(2) App ThaID
(3) สายด่วนศูนย์ดำรงธรรม 1567
(4) ที่ว่าการอำเภอ
(5) สำนักงานเขตทุกแห่งใน กทม.
.
2. การดำเนินการแก้หนี้เป็นการทำงานร่วมกันของหลายหน่วยงาน คือ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยใช้กลไกการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ ตั้งแต่การช่วยเหลือลูกหนี้ ไกล่เกลี่ยและประนีประนอมข้อพิพาท การเฝ้าระวังและป้องกัน รวมถึงการปราบปรามผู้กระทำความผิดอย่างเด็ดขาด จากนั้นรัฐบาลจะช่วยปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งกระทรวงการคลังจะเข้าไปช่วยในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน ทั้งช่วยปรับระยะเวลา เงื่อนไข และกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถชดใช้หนี้ได้ ไม่เบียดบังการใช้ชีวิต โดยจะระมัดระวังไม่ให้เกิด “อันตรายทางศีลธรรม” (Moral Hazard) ในมาตรการการช่วยเหลือทั้งหมด
.
3. ในวันที่ 12 ธันวาคม 2566 นี้ รัฐบาลจะมีการแถลงภาพรวมหนี้แบบครบวงจร ซึ่งจะครอบคลุมทั้งหนี้ในระบบ และหนี้นอกระบบอีกครั้ง
.
4. ทั้งนี้เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 คณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย มีการประชุมครั้งที่ 2/2566 โดยมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม เปิดเผยว่ากระทรวงยุติธรรมได้มีการแก้ไข พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา และได้นำหนี้นอกระบบมาอยู่ท้ายพระราชบัญญัติคดีพิเศษ คือการปล่อยกู้เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี หรือเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด โดยส่วนที่จะเป็นคดีพิเศษ คือเครือข่ายหนี้นอกระบบ เช่น เจ้าหนี้ที่ปล่อยกู้รวม 30 ล้านบาทหรือมีลูกหนี้ 50 คนขึ้นไป ซึ่งกระทรวงจะตรวจสอบกับกรมบังคับคดีว่าเจ้าหนี้ที่ปล่อยกู้เกินกว่า 50 คนมีทั้งหมดกี่ราย ทั้งนี้ได้สั่งการให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นผู้อำนวยการในการแก้ปัญหาลูกหนี้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมและจะร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการสืบสวนเครือข่ายดังกล่าวซึ่งจะเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาหนี้นอกระบบ
.
5. นอกจากนั้นสิ่งที่น่าเป็นห่วงวันนี้เป็นหนี้ที่มีคำพิพากษาทางแพ่ง เมื่อส่งไปที่กรมบังคับคดีทั้งที่ตั้งเรื่องและยังไม่ตั้งเรื่องรวมกว่า 16 ล้านล้าน ซึ่งเกือบเทียบเท่าตัวเลข GDP 17 ล้านล้าน และยังมีส่วนที่ยังไม่ทราบอีกเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เป็นหนี้ของสถาบันการเงิน รวมถึงหนี้ กยศ. แต่หนี้ กยศ. นั้นได้การแก้กฎหมายแล้ว ซึ่งทำให้มีการคำนวณหนี้ใหม่และต้องมีการจ่ายเงินต้น ดอกเบี้ยไม่เกิน 1 บาทและเบี้ยปรับไม่เกิน 0.50 ในส่วนกระทรวงยุติธรรมจะมีการใช้ศูนย์ยุติธรรมชุมชนและศูนย์ยุติธรรมจังหวัด เพื่อช่วยเหลือประชาชนด้วย
.
6. สำหรับหนี้บัตรเครดิต ปกติมีอายุความ 2 ปี แต่ในกฎหมายแพ่งจะมีเงื่อนไขที่ว่าการยกอายุความนั้นไม่ให้เจ้าหนี้ ให้ลูกหนี้เป็นคนยก แต่ถ้าลูกหนี้ไม่ยกในวันฟ้องหรือวันมาต่อสู้คดี ลูกหนี้ก็ไม่สามารถเอาสถานะเรื่องอายุความมาใช้ เมื่อไม่นำสถานะอายุความมาใช้จึงถูกฟ้องบัตรเครดิตและบางครั้งถึงขั้นยึดบ้าน ที่ประชุมได้หารือว่าต้องทำให้ประชาชนทุกคนต้องรู้สิทธิของตัวเอง หากใครเป็นหนี้บัตรเครดิตต้องตรวจดู ถ้าเกิน 2 ปี ต้องเขียนคำร้อง โดยกระทรวงยุติธรรมจะเป็นผู้ทำแบบฟอร์มให้กับลูกหนี้บัตรเครดิต
.
7. นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า ภาพรวมหนี้ของข้าราชการทั้งระบบพบว่า ข้าราชการที่อยู่ในระบบเงินกู้สหกรณ์มียอดรวมทั้งสิ้น 3 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่กระทรวงศึกษาธิการประมาณ 8 แสนคน กระทรวงสาธารณสุข 2 แสนกว่าคน ตำรวจ 2.3 แสนคน สำหรับแนวทางการแก้ไขหนี้สินของข้าราชการนั้น เราจะดูแลข้าราชการในระบบสวัสดิการ และรัฐบาลจะดูแลเรื่องการหักเงินเดือนให้ทุกหน่วย ส่วนหนี้ที่เหลือทุกประเภทมีแนวทางหลักการครบถ้วน พร้อมที่จะนำเสนอนายกรัฐมนตรี
.
8. สำหรับหนี้ข้าราชการ พบว่าการหักเงินเดือนหรือการชำระหนี้ยังไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของระบบสินเชื่อสวัสดิการ ทำให้เกิดปัญหาข้าราชการมีเงินเดือนไม่ถึง 30% ดังนั้นหลักการที่คณะกรรมการได้พิจารณาร่วมกันคือ ทำให้ข้าราชการให้คงเหลือเงินเดือนไม่น้อยกว่า 30% ของเงินเดือนก่อนชำระหนี้
.
– ในขั้นแรก จะมีการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ โดยเชื่อว่าจะมีข้าราชการ 1 ใน 3 ที่สามารถปลดหนี้ได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว
– หากยังเหลือเงินเดือนไม่ถึง 30% จะใช้แนวทางที่สอง คือ การขยายงวดชำระเงินต้นออกไปให้อายุถึง 75 ปี
– หากเงินเดือนยังคงเหลือไม่ถึง จะใช้วิธีการหาเงินกู้พิเศษหรือใช้เงินกู้จากสถาบันที่เป็นทุนเดิมของหุ้นจากสหกรณ์ออมทรัพย์ของตนเอง นำมาเป็นเงินกู้ของตนเองในอัตราดอกเบี้ยเท่าเดิม
– หากบางรายยังไม่เหลือไม่ถึง ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนน้อย เราจะนำมาวิเคราะห์และแก้ไขเฉพาะราย
.
คาดว่าจะมีผลลัพธ์เกิดขึ้นในเดือนมกราคม 2567 เป็นต้นไป
ที่มา : เพจพรรคเพื่อไทย
Facebook Comments


Social sharing

Related post