Digiqole ad

ร.ร.สาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม จัดการแข่งขันและประกวดออกแบบนวัตกรรมที่ท้าทายภายใต้ชื่อ “CUD Hackathon 2023” เป็นครั้งแรก

 ร.ร.สาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม จัดการแข่งขันและประกวดออกแบบนวัตกรรมที่ท้าทายภายใต้ชื่อ “CUD Hackathon 2023” เป็นครั้งแรก
Social sharing

Digiqole ad

โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม จัดการแข่งขันและประกวดออกแบบนวัตกรรมที่ท้าทายภายใต้ชื่อ “CUD Hackathon 2023” เป็นครั้งแรก โดยคัดเลือกทีมนักเรียนระดับมัธยมศึกษากว่า 150 ทีมจากโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ มีทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศจำนวน 30 ทีม การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศจัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 28 – วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม 2566 ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดการแข่งขัน พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.ศิริเดช สุชีวะ คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์พรพรหม ชัยฉัตรพรสุข ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม อาจารย์วราเดช กัลยาณมิตร ประธานจัดการแข่งขัน คุณกนิษฐ์ สารสิน นายกสมาคมนักเรียนเก่าสาธิตจุฬาฯ คุณกำพล โชติปทุมวรรณ นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสาธิตจุฬาฯและคุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท เทคซอล มีเดียจำกัด
ซึ่งตลอดระยะเวลา 2 วันของการแข่งขัน ทีมผู้เข้าแข่งขันได้ระดมความคิดเพื่อเรียนรู้ จากการสนุกคิดและมิตรภาพที่ดี ผ่านกิจกรรม Workshop การเสวนาและการบรรยาย ที่มีการบูรณาการเทคโนโลยีมาใช้พัฒนานวัตกรรม เช่น IoT, AI, Robotics, Software on Devices หรือ Application Software ต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการออกแบบและพัฒนางานจนเกิดเป็นนวัตกรรมสุดสร้างสรรค์ที่ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Innovation for good health & well-being)
ทั้งนี้ทีมชนะเลิศจะได้รับโล่และเหรียญรางวัลพร้อมเกียรติบัตรและเงินรางวัลรวมกันกว่ามูลค่า 50,000บาท และรางวัลพิเศษจากผู้สนับสนุนอีกมากมาย

ซึ่งผลการแข่งขันปรากฎว่า…
>> ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ทีม Narcolepsycue (Inno19) จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม กรุงเทพฯ ภายใต้ผลงานประเภท Application&Product “แก้ไขปัญหาการหลับในบนท้องถนน” โดยสมาชิกได้แก่ น.ส.ปริณ จุลนวล, น.ส.ชุติรดา ศานติวรพงษ์, นายวีรวิน ไวฑูรเกียรติ และนายยสินทร ปุญญวานิช

>>ทีมที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ทีม RECiSE (Inno09) จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ผลงานประเภท Application&Product “แอปพลิเคชันและอุปกรณ์ตรวจจอประสาทตาด้วยเครื่องส่องดูตาเพื่อการตรวจสอบโรคต้อกระจกตาในผู้สูงอายุด้วยปัญญาประดิษฐ์” โดยสมาชิกได้แก่ นายณัฐวัฒน์ ฝันดีกรเกียรติ, นายปัณณวัฒน์ ทองปรอน, นายคมเนตร นามพรม และนายคุณานนต์ อินทรพล

>> ทีมที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ทีม Hedthong (Inno15) จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ภายใต้ผลงานประเภท Application“แอปพลิเคชันเพื่อสังคมผู้สูงอายุ…shine..sky” โดยสมาชิกได้แก่ นายฐิติพันธ์ุ รักษ์ม่วงศรี, น.ส.พิณญาภา เเช่ฉั่ว, น.ส.ณัชชา สิงหะผลิน และ น.ส.พิชชาพร ตั๊นเจริญ

>> ทีมที่ได้รับรางวัลชมเชยมี 3 ทีม ซึ่งได้รับรางวัลพิเศษชุดฝึกการเขียนโปรแกรมควบคุมระบบสมองกลฝังตัวด้วยหุ่นยนต์อัตโนมัติ mikrorover Robot Kit Standard Version จากบริษัท อินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์ (INEX) จำกัด ได้แก่
– รางวัลชมเชยทีมที่ 1 ได้แก่ทีม Stand up (Inno03) จากโรงเรียนกำเนิดวิทย์ จังหวัดระยอง ภายใต้ผลงาน “เครื่องช่วยลดการออกแรงบริเวณหัวเข่าที่ควบคุมด้วยสัญญาณไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อ”
– รางวัลชมเชยทีมที่ 2 ได้แก่ทีม EIPCA (Inno 08) จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ผลงาน “โปรแกรมเพื่อช่วยวิเคราะห์โรคหัวใจและหลอดเลือดผ่านกราฟของคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วยปัญญาประดิษฐ์”
– รางวัลชมเชยทีมที่ 3 ได้แก่ทีม Wbrain (Inno 18) จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม กรุงเทพฯ ภายใต้ผลงาน “การแก้ปัญหาโรคสมองเสื่อมและโรคสมาธิสั้นเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี

Facebook Comments


Social sharing

Related post