Digiqole ad

“ร้อยเอ็ด”  หนุน “Smart Tambol ตำบลคำพอง” ต้นแบบในการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน

 “ร้อยเอ็ด”  หนุน “Smart Tambol ตำบลคำพอง” ต้นแบบในการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน
Social sharing

Digiqole ad

นายชยันต์  ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ลงพื้นที่ติดตามผลความก้าวหน้าและเพิ่มศักยภาพ (Upside Potential) โครงการ SMART TAMBON ตำบลคำพอง อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด  เยี่ยมชมเกษตรกรต้นแบบที่ประสบความสำเร็จทั้งด้านการปลูกพืชและปศุสัตว์  เล็งประกาศเป็นตำบลต้นแบบในการแก้ไขปัญหาความยกจน  หลังพบว่าผลการดำเนินโครงการมาสามารถช่วยยกระดับรายได้และเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ได้ พร้อมเตรียมขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆให้ครอบคลุม

นายชยันต์ ศิริมาศ  ผู้ว่าาราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า โครงการ Smart Tambol Model ตำบลคำพอง ถือว่าเป็นต้นแบบในความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนให้กับเกษตรกร  โดยได้เน้นความร่วมมือกับผู้ประกอบการภาคเอกชน  เพื่อหาช่องทางการตลาดและการบริหารจัดการ เพราะปัญหาของเกษตรกรคือการหาตลาดว่าผลิตแล้วจะขายให้ใคร  จึงต้องส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชตามความต้องการของตลาดจะทำให้เกิดรายได้อย่างแท้จริงและทำให้ผู้บริโภคมั่นใจถึงการผลิตอาหารที่ปลอดภัย  ซึ่งถือเป็นโมเดลตำบลต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการเพิ่มรายได้ที่จะหลุดพ้นความยากจนและพัฒนาขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  โดยจะนำโมเดลนี้ปขยายผลยังพื้นที่อื่นๆในจังหวัดเพิ่มเติม

 

 

“ทางจังหวัดจะประกาศให้ตำบลคำพองเป็นตำบลต้นแบบในการพัฒนาอย่างยั่งยืน  โดยการร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่  ทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานและมหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมทั้งได้ร่วมมือกับกระทรวง อว.ในการดำเนินโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลอีก 18 ตำบล และจะมีโครงการพัฒนาต่อในปี 2565 – 2566 โดยในเฟสต่อไปจะให้มีโครงการ Smart Tambol เกิดขึ้นอย่างน้อย 1 ตำบล และจะขยายให้ตำบลอื่นๆที่มีความพร้อมหรืออยากพัฒนาให้เป็น Smart Tambol เข้ามาร่วมโครงการได้” ผู้ว่าาราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าว

ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวต่อว่าในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 ทำให้การทำการเกษตรกลับมาฟื้นคืนชีพจากเดิมที่คนเดินทางออกไปทำงานต่างถิ่น ปัจจุบันคนรุ่นใหม่เริ่มเดินทางกลับมายังไร่นา การทำเกษตรยุคใหม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์มและแหล่งน้ำ ซึ่งขณะนี้เรามีความพร้อมทั้งในส่วนภาควิชาการ ภาคราชการ ที่จะมาสนับสนุนให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีด้านการเกษตรและเข้าถึงแหล่งน้ำ แม้น้ำน้อยก็ปลูกพืชได้ ดังนั้นเกษตรกรต้องเลือกปลูกพืชให้เข้ากับทรัพยากรที่มีอยู่และสิ่งที่สำคัญคือด้านการตลาดโดยเฉพาะโลกตลาดออนไลน์ที่จะต้องสร้างแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์เพื่อให้เข้าถึงสินค้าด้านการเกษตร และในอนาคตจะมีการจัดตั้งบริษัทพัฒนาจังหวัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีและการตลาดมากขึ้น

ด้านนางศิริกัลยา  คำพรมมา  เกษตรผู้ปลูกมันสำปะหลัง กล่าวว่า ในอดีตเคยทำเกษตรปลูกมันสำปะหลังในแบบเดิมๆมาหลายปี ได้ผลผลิตปีละ 4-7 ตันต่อไร่ แต่หลังจากเข้าร่วมโครงการ Smart Tambol ก็ได้รับการส่งเสริมองค์ความรู้และเทคนิคการปลูกใหม่ๆ โดยเฉพาะการปรับปรุงคุณภาพของดินที่จากเดิมมีค่าความเป็นกรดสูงรวมไปถึงองค์ความรู้การคัดพันธุ์  การบริการจัดการพื้นที่ว่าจะปลูกอย่างไรให้ได้ผลผลิตต่อไรที่มากขึ้น  จนปัจจุบันสามารถที่จะปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตปีละ 10 – 11 ตันต่อไร่ได้

สำหรับโครงการ Smart Tambol ตำบลคำพอุง อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด  เป็นโครงการที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกความร่วมมือกับจังหวัดร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และเครือเบทาโกร ในปี พ.ศ.2562  จัดทำโครงการ Smart Tambol Model นำร่องที่เทศบาลตำบลคำพอุง พัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม 5 ด้านด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม  ได้แก่ อาชีพ สุขภาพ การศึกษา สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิดการทำงานพัฒนาพื้นที่แบบองค์รวม (Holistic Area-based Community Development) หรือ HAB

 

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post