
ม.มหิดลเตรียมต่อยอดผลิตวัคซีนไข้เลือดออกเดงกี ทั้ง 4 ชนิด สู่ระดับอุตสาหกรรม

SONY DSC
วิกฤติ COVID-19 ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทำให้ผู้คนให้ความสำคัญอย่างยิ่ งกับปัญหาโรคติดเชื้อ ซึ่งการพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกั นและรักษาโรคติดเชื้อ กำลังกลายเป็นความหวังของมวลมนุ ษยชาติอยู่ในขณะนี้
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์สุธี ยกส้าน ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและพัฒนาวั คซีน สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล (MB) มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ริเริ่มวิจัยและพัฒนาวัคซี นโรคติดเชื้อที่สำคั ญในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชี ยมานานนับ 40 ปีจากผลงานวิจัยและพัฒนาวัคซี นไข้เลือดออกเดงกี (Dengue) ทั้ง 4 ชนิด วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (JE) วัคซีนไข้ซิกา (Zika) และวัคซีนไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya) ซึ่งในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้ านการวิจัยและพัฒนาวัคซีนมาอย่ างยาวนาน ได้อธิบายการแพร่ระบาดของโรคติ ดเชื้อ รวมถึงโควิด-19 (COVID-19) ว่า มีระดับความรุนแรง ตั้งแต่โรคประจำถิ่น (Endemic) จนเกิดการแพร่ขยายในวงกว้าง (Outbreak) กระทั่งกลายเป็นโรคระบาด (Epidemic) และเกิดการแพร่กระจายไปทั่วโลก (Pandemic) ซึ่งเป็นการระบาดขั้นสูงสุด จากนั้นก็อาจกลับกลายเป็ นโรคประจำถิ่นต่อไปได้
Advertisement
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์สุธี ยกส้าน ยังได้กล่าวถึงความสำคั ญของการวิจัย และพัฒนาวัคซีนว่า เป็นการพัฒนาเชิงรุก ซึ่งการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 มีหลักการพื้นฐานเช่นเดียวกั บโรคติดเชื้อที่มีความรุ นแรงโดยทั่วไป นอกจากนี้ยังอาจช่วยผู้ติดเชื้ อได้โดยนำสารภูมิต้านทาน (Antibody) ของผู้ป่วย หรือผู้ติดเชื้อที่หายแล้ว มาผ่านกระบวนการในห้องปฏิบัติ การแล้วฉีดให้แก่อาสาสมัคร แต่ก็ยังอาจพบข้อจำกัดบ้าง เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละรายมี ระบบภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกัน จึงมีผลต่อวัคซีน หรือสารภูมิต้านทานที่ได้รับไม่ เหมือนกัน ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาวัคซี นประสบผลสำเร็จ จึงควรมีการศึกษาถึงปัจจัยด้ านวิทยาภูมิคุ้มกันร่วมด้วย
ซึ่งนวัตกรรมนั้นสร้างได้ หากเราสามารถพัฒนาวัคซีนป้องกั นและรักษาโรคติดเชื้อชนิดใดชนิ ดหนึ่งประสบผลสำเร็จแล้ว ในอนาคตอาจสามารถพัฒนาต่อยอด เป็นนวัตกรรม โดยรวมเอาวัคซีนป้องกันโรคติ ดเชื้อชนิดอื่นไว้ในเข็มเดียวกั นได้ ดังนั้นจึงควรมีการวิจัยและพั ฒนาวัคซีนอย่างต่อเนื่อง ซี่งระหว่างรอให้วัคซีนโควิด-19 ประสบผลสำเร็จ ประชาชนควรปฏิบัติตามมาตรการเฝ้ าระวังอย่างเคร่งครัด แต่ก็ไม่ควรตื่นตระหนกกันจนเกิ นไป จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิ ตประจำวัน ไม่เช่นนั้นอาจส่งผลกระทบต่อสั งคมและเศรษฐกิจของประเทศชาติ โดยรวมด้วยได้
สำหรับก้าวต่อไปของมหาวิทยาลั ยมหิดล โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีน สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล (MB) จะร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยี และนวัตกรรม (iNT) พัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกเดงกีทั้ ง 4 ชนิดออกไปสู่อุตสาหกรรม โดยจะทำให้ประเทศไทยได้เป็นศู นย์กลางระดับโลกในการผลิตวัคซี นชนิดนี้ ซึ่งนอกจากวัคซีนในคนแล้ว ทางศูนย์วิจัยฯ ยังได้มีการวิจัยและพัฒนาวัคซี นในเป็ดพันธุ์ไข่ จากการศึกษาเชื้อไวรัสเป็ดที่ นำโดยยุงลาย เพื่อดูแลเป็ดที่อยู่ในอุ ตสาหกรรมการผลิตไข่เป็ดในระดั บประเทศต่อไปอีกด้วย
Advertisement
Facebook Comments
ลิงค์สำหรับแชร์: https://bangkok-today.com/pzErF