Digiqole ad

มาดามโอ/เมาธ์ระเบิด “2567 พ่อแม่ยังรังแกฉันอยู่ โลกแห่งความจริงที่หายไป (อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 414 วันที่ 12-18 ม.ค.67)

 มาดามโอ/เมาธ์ระเบิด “2567 พ่อแม่ยังรังแกฉันอยู่ โลกแห่งความจริงที่หายไป (อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 414 วันที่ 12-18 ม.ค.67)
Social sharing

Digiqole ad

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 414 วันที่ 12-18 มกราคม 2567

หน้า 36 มาดามโอ/เมาธ์ระเบิด

2567 พ่อแม่ยังรังแกฉันอยู่

โลกแห่งความจริงที่หายไป

            สัปดาห์นี้ตรงกับวันเด็ก 13 มกราคม ขอเขียนเรื่องเกี่ยวกับเด็ก ๆ สักหน่อยเถอะ พฤติกรรม “พ่อแม่รังแกฉัน” ก็ยังคงมีในสังคมไทยมาจวบจนถึงปัจจุบัน แม้จะขึ้นปี พ.ศ.ใหม่แล้วก็ตามที จะเห็นได้จาก

1.พาเหรดนางงามมีมง : จะว่าไปแล้วในสมัยก่อนกว่าที่มีใครสักคนได้สวมมงกุฎเป็นเรื่องที่ยากยิ่งนัก อีกทั้งเวทียังมีน้อยมาก แต่เดี๋ยวนี้เวทีใหม่ ๆ ผุดขึ้นราวดอกเห็ด โดยเฉพาะเวทีสำหรับเด็ก ๆ หลายเวทีซื้อขายตำแหน่ง สนมราคาก็ลดหลั่นกันลงไป ตั้งแต่ ตำแหน่งชนะเลิศลงไล่ลงไปถึงตำแหน่งรอง ๆ แต่ทุกตำแหน่งมีมงกุฎ สายสะพาย และถ้วยรางวัลเหมือนกันหมด จึงทำให้เวทีดูไม่ศักดิ์สิทธิ์ ใครทุ่มเงินมากก็ได้มงใหญ่ไป จึงทำให้แทนที่จะได้เด็กหน้าตาดีมีความสามารถ กลับได้ในทางตรงกันข้าม

เวลาเกณฑ์เด็กไปร่วมงานอีเว้นท์ที่เขาไม่ได้เชิญ (บางงานไปวุ่นวายเขา โดยเขาไล่แห่ออกจากนี้ก็มีนะ)  เหมือนจะเป็นการประจานเด็กไปในตัว ส่วนเด็ก ๆ ก็ไม่รู้หรอกว่าตัวเองสวยไม่สวย เพราะพ่อแม่ไม่ได้จับให้อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริวก

2.ไม่รู้จักแพ้หรือชนะให้เป็น : จากการที่มีเวทีประกวดกันเกร่อ หนูน้อยกะปิน้ำปลาอะไรก็จัดกันไป เวลาที่ลูกตัวเองชนะ (ที่อาจซื้อหรือไม่ซื้อตำแหน่ง) ก็จะใช้โซเชี่ยลมีเดีย โดยเฉพาะเฟสบุ๊กอวยยศลูกกันเข้าไป 3 วัน 7 วัน ยิ่งกว่าถูกล็อตเตอรี่รางวัลใหญ่ มีการโพสต์ข้อความและภาพเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมา พ่อแม่ก็จะคอยเฝ้านับยอดไลค์และดูเม้นต์ชื่นชม (แบบมีมารยาท) ส่วนคุณลูกก็คิดการชนะในครั้งนี้คือที่สุดของชีวิต รู้จักคำว่า “ชนะ” แต่ไม่รู้จักคำว่า “แพ้”

ฝ่ายพวกที่แพ้ ก็โพสต์ข้อความเห็นกัน แต่เป็นการด่าสาดเทสาดเสีย ล็อกมงบ้างล่ะ เด็กเส้นบ้างล่ะ  ซื้อตำแหน่งบ้างล่ะ ผู้จัดหรือกรรมการเหม็นขี้หน้าบ้างล่ะ ฯลฯ สารพัดจัดด่าเต็ม ส่วนลูกพอรู้ว่าตกรอบก็ร้องไห้กระจองอแงกันยกใหญ่ ทั้งด้านหลัง ด้านข้างเวที เด็กบางคนมีพี่กะเทยมาช่วยเป็นทีมงานด้วยก็ออกโรงเหวี่ยงวีนกรี้ด ๆ กร้าด ๆ อยู่ด้านหลังกรรมการในทันที

 

3.มหกรรมลูกฉันลูกเธอ : ข้ามจากฟากนางงามไปที่กองถ่ายละครกองหนังที่ ซื้อเวลาของช่องออนแอร์ ซึ่งคนจัดก็ไปเคลมเอากับพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กว่าเป็นละครของช่อง ประมาณว่าช่องผลิตเองว่างั้นเถอะ งานนี้ไม่ต่างจากการประกวดนางงาม ใครจ่ายเงินมาก รับว่านักแสดงนำไปได้ประกบนักแสดงมืออาชีพชื่อดัง ใครเบี้ยน้อยหอยน้อยก็รับบทรอง ๆ ไป คราวนี้เวลาอยู่ในกองถ่ายเรื่องว้าวุ่นจึงเกิดขึ้น ทำไมลูกเธอได้มากกว่าลูกฉัน กระทั่งผู้จัดต้องออกมาเคลียร์ว่า เขาจ่ายเงินเยอะค่ะ ยังได้บทเด่นก็จ่ายเงินเพิ่มสิคะ…จบมั้ย! พวกที่ซื้ออาหารและเครื่องดื่มมาให้กองถ่ายเอง (ของเซ่น) หากจ่ายเงินน้อยก็หมดสิทธิ์ได้บทเด่นเจ้าค่ะ รวมไปถึงเรื่องกิริยามารยาทในกองถ่าย มีทั้งเด็กน่ารักและเด็กไม่น่ารัก  ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการอบรมเลี้ยงดูจากพ่อแม่

            …จะว่าไปแล้วพฤติกรรมพ่อแม่รังแกฉันควรจะเลิกไปจากสังคมไทยสักที เพราะเด็กบางคนก็ไม่ได้ปรารถนาอยากเป็นในสิ่งที่พ่อแม่ให้เป็นเลยแม้แต่น้อยนิด..จึงไม่แปลกที่เรามักจะได้ยินคำพูดที่ว่า “เด็กถูกบังคับให้มาประกวดหรือเป็นนักแสดงเหรอ!?!…

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 414 วันที่ 12-18 มกราคม 2567

หน้า 36 มาดามโอ/เมาธ์ระเบิด

2567 พ่อแม่ยังรังแกฉันอยู่

โลกแห่งความจริงที่หายไป

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ ๔๑๔ ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๘ มกราคม ๒๕๖๗
https://book.bangkok-today.com/books/mqlf/#p=36
(สามารถพลิกอ่านได้เหมือนหนังสือปกติ)

 

           

Facebook Comments


Social sharing

Related post