
มาดามโอเม้าธ์ระเบิด “สัจธรรมเมืองมายา มหกรรมเชิดแห่งชาติ” (อีบุ๊กบางกอกทูเดย์ ฉบับที่ 384 วันที่ 16-22 มิ.ย. 66)


อีบุ๊กวันที่ 16-22 มิถุนายน 2566 (ฉบับที่ 384)
หน้า 36 มาดามโอเม้าธ์ระเบิด
สัจธรรมเมืองมายา
มหกรรมเชิดแห่งชาติ
“จะเชิดกันไปถึงไหน!?!”
“เชิดกันเข้าไป”
“เชิดจนคอเคล็ด”
“เชิด 8 เชิด 9” ฯลฯ
นี่คือประโยคจากปากบรรดาผู้ถูกกระทำจากบุคคลที่ได้ดีแล้ว “ลืมตัว” เจอหน้ากันทำเหมือนเป็นคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาเลย ไม่ว่าชาติไหน ๆ ก็ตามที
คำว่า “เชิด” จึงเกิดขึ้นใน “พจนานุกรมวงการเนรคุณ” ซึ่งนอกจากความหมายที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้นแล้ว ยังหมายถึง บุคคลซึ่งเคยให้ความเกื้อหนุน ช่วยเหลือ อุปถัมภ์ค้ำชู ด้วยความรักความเอ็นดู อยู่ ๆมาวันหนึ่งเมื่อได้ดีมีชื่อเสียงกลับลืมตัว ลืมบุญคุณผู้ที่ เคยหนุน เคยดัน เคยผลัก ให้ได้ดีกระทั่งมีวันนี้
และในเวลาต่อมาเมื่อคนนั้น ๆ ได้พบเจอกับผู้ให้การสนับสนุนอีกครั้ง กลับทำคอตั้ง คอแข็งใส่ แล้วแกล้งทำเป็นไม่เห็น เดินผ่านไป หรือเดินหลบไปไกล ๆ เหมือนคนแปลกหน้าหรือหน้าแปลก ไม่รู้จักกันมาก่อน
ทั้ง ๆ ที่ตนเองเคยอยู่ กิน นอน เรียน เที่ยว ถูกส่งไปเข้าคอร์สในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเอง ผู้สนับสนุนบางคนหมดไปเป็นแสนเป็นล้านบาท แค่ยกมือไหว้สวัสดี กล่าวคำทักทายเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ไม่มีแม้แต่น้อยนิด ก็เชิดกันเข้าไป!
เพราะโลกมันกลม แม้จะเชิดใส่ หรือถูกเชิด บางคู่ก็ยังได้เจอกันในงานในอีเว้นท์ต่าง ๆ โดยที่บุคคลที่สาม เป็นผู้แนะนำ ซึ่งตัวบุคคลที่สามก็ไม่รู้อิโหน่อิโหน่ว่าทั้งฝ่ายที่แนะนำให้รู้จักกัน เขารู้จักเคยเกื้อหนุนกันมาก่อน
แต่ต้องไปตามน้ำ ทำเป็นยกมือไหว้กัน โดยไม่บอกว่ารู้จักกันมาก่อน ซึ่งฝ่ายผู้ส่งเสริมก็ไม่อยากจะรู้จักอีกหนเสียด้วยซ้ำ แต่ด้วยเพราะมีมารยาท (ซึ่งมรึงอีกฝ่ายไม่มีมารยาทไปแล้ว)
สุดท้ายหากเจอคนที่อยากแก้เผ็ดให้บทเรียน อาจบอกรู้จักมาก่อนแล้วหลังไมค์กับบุคคลที่สามว่า “คน ๆนี้ไม่โอเค” หากเจอผู้ส่งเสริมที่ไม่ถือโกรธให้อภัย คน ๆ นั้นก็รอดตัวไป
นี่แหละคือสัจธรรมเมืองมายา หากเข้ามาอยู่ในเมืองนี้ สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกคือ “ทำใจ” แล้วจะได้อยู่ในเมืองไปได้อีกนาน ๆ จ้า
อีบุ๊กวันที่ 16-22 มิถุนายน 2566 (ฉบับที่ 384)
หน้า 36 มาดามโอเม้าธ์ระเบิด
สัจธรรมเมืองมายา
มหกรรมเชิดแห่งชาติ
https://book.bangkok-today.com/books/kyuk/
(สามารถใช้นิ้วพลิกอ่านได้เหมือนหนังสือปกติ)