Digiqole ad

มาดามโอเมาธ์ระเบิด “ป๋าดัน-เจ๊ดันต้องปลง นี่แหละเด็กยุคดิจิทัล” (อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 407 วันที่ 24-30 พ.ย.66)

 มาดามโอเมาธ์ระเบิด “ป๋าดัน-เจ๊ดันต้องปลง  นี่แหละเด็กยุคดิจิทัล” (อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 407 วันที่ 24-30 พ.ย.66)
Social sharing

Digiqole ad

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 407 วันที่ 24-30 พฤศจิกายน 2566

หน้า 36 มาดามโอ/เมาธ์ระเบิด

ป๋าดัน-เจ๊ดันต้องปลง

นี่แหละเด็กยุคดิจิทัล

            เด็กสมัยนี้แทบไม่ต้องง้อหรือพึ่งพาให้ผู้ใหญ่ “ป๋าดัน-เจ๊ดัน” พาเข้าวงการบันเทิงเหมือนแต่ก่อนเพราะเดี๋ยวนี้อาศัยสื่อ “โซเชี่ยลมีเดีย” เป็นใบเบิกทาง เพียงโชว์รูปร่างหน้าตาให้ดูแนวเซ็กซี่หรือแมน ๆ ทำกิจกรรมและสร้างคอนเทนต์อะไรที่เก๋ ๆ ขี้คร้านถนนบันเทิงทุกสายจะมุ่งสู่น้อง ๆ กันแบบหน้าบ้านคึกคัก

หากย้อนกลับไปดู นักแสดง และนักร้อง ดัง ๆ ในยุคนี้ก็จะเป็น เน็ตไอดอล ยูทูบเบอร์ ติ๊กต๊อกเกอร์ อินฟลูเอนเซอร์ ฯลฯ กันแทบทั้งนั้น แทนการมาจากเวทีประกวด นั่น นี่ โน่น

เวลาที่ “ป๋าดัน-เจ๊ดัน” เจอเด็กหน้าตาดีก็มักจะมีสังกัด คอก ค่าย กันไปหมดแล้ว ไม่เพียงแค่หนุ่มสาวเท่านั้น แม้แต่เด็กประถม-มัธยม ต่างก็มีสังกัดกันหมด

ตัดวงจร “ตันน้ำ” กับ “กลางน้ำ” ไปได้เลย เพราะท้ายที่สุด “ปลายน้ำ” เป็นผู้หนุนเข้าสู่วงการแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ไม่ต้องไปเป็นหนี้บุญคุณใคร เว้นแต่กลุ่มคน “ปลายน้ำ”

ที่น่า “ป๋าดัน-เจ๊ดัน” ปวดใจ คือเด็ก ๆ ที่เคยดูแล แต่จับพลัดจับผลูไปเล่นโซเชี่ยลมีเดียแล้วเกิดไปเข้าตาแมวมองขึ้นมา คราวนี้ก็ถีบหัวส่งกันไปเลย ในรายที่เป็นเด็กดีมีความกตัญญูเราก็ไม่ว่ากัน…ขอชื่นชม

เด็กที่ลืมตัวลืมคุณจะไม่มีการพูดถึงคนต้นน้ำและการน้ำเลย…แบบสื้นสวาทกันเสียที รักไม่มีเหมือนดั่งเคย.. ว่าใครเป็นผู้ชักนำ ใครเคยสอน ใครเคยให้คำแนะนำ สิ่งทำประจำเช่น ส่งไลน์ทักทายกันทุกเช้าค่ำ ก็ลืมและไม่อ่านไลน์เลยแม้แต่น้อยนิด

กระทั่งว่า………..ถึงทีตนเองและพรรคพวกเดือดร้อน นั่นแหละจึงนึกถึง กลีกุจอติดต่อมา ไลน์ไม่เคยอ่านเป็นปีเป็นชาติก็พิมพ์ข้อความมาทักทาย จากนั้นก็ระบุข้อความขอความช่วยเหลือ (กรูว่าแล้ว…) ถ้าหากไลน์เรายังไม่ทันได้อ่านก็รีบโทรศัพท์มาหา

ปัญหาส่วนใหญ่ที่ “ป๋าดัน-เจ๊ดัน” เจอมาคือ 1.ขอยืมเงิน 2. มีปัญหากับชาวบ้านเขาให้เราไปช่วยเคลียร์ 3. ให้ค้ำประกัน แบบว่า อาทิ จะซื้อรถ จะผ่อนบ้าน จะไปทำธุรกรรมการเงินใด ๆ  4. ขอใช้สิทธิพิเศษ หรือ ขอที่พักพิงอิงแอบ

โดยผู้ใหญ่บางคนพอเจอลูกอ้อนขึ้นมา เด็กเคยทำเจ็บช้ำน้ำใจอะไรไว้ลืมหมด สุดท้ายก็กลับมาเจ็บอีกรอบหนึ่ง โดยเฉพาะเด็กไม่เคยแม้จะเอ่ยปาก “ขอบคุณ” แต่อย่างใด จึงมักได้ยินเสียงบ่นกันว่า “ขอบคุณสักคำยังไม่มี” (ควรสม…..มั้ย)

แต่ผู้ใหญ่หลายคนก็ท่องให้จำขึ้นใจเลยคือ “เจ็บแล้วจำคือคน เจ็บแล้วทนคือควาย” เจ้าค่ะ!

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 407 วันที่ 24-30 พฤศจิกายน 2566

หน้า 36 มาดามโอ/เมาธ์ระเบิด

ป๋าดัน-เจ๊ดันต้องปลง

นี่แหละเด็กยุคดิจิทัล

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 407 ระหว่างวันที่ 24-30 พฤศจิกายน 2566
https://book.bangkok-today.com/books/yexo/
(สามารถพลิกอ่านได้เหมือนหนังสือปกติ)

 

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post