Digiqole ad

มะเร็งปอดคร่าชีวิต”ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์” นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ชื่อดังของเมืองไทย วัย 83 ปี

 มะเร็งปอดคร่าชีวิต”ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์” นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ชื่อดังของเมืองไทย วัย 83 ปี
Social sharing
Digiqole ad

“ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์” นักวิชาการด้านประัวิตศาสตร์ชื่อดังของเมืองไทย เสียชีวิตแล้วด้วยโรคมะเร็งปอด เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 11.47 น. สิริอายุ 83 ปี ทั้งนี้  ศ.ดร.นิธิได้บริจาคร่างกายไว้ก่อนหน้านี้แล้วให้โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

ศาสตรา​จารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งเจ้าตัวมักเรียกตัวเองว่าเป็น เจ๊กปนลาว (จ.ป.ล.) (มาจากการที่เป็นคนจีนที่เกิดในเชียงใหม่ ซึ่งมีวัฒนธรรมร่วมกับลาว) จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และสำเร็จการศึกษาสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ระดับปริญญาตรีและปริญญาโทจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ต่อมาเข้ารับราชการในตำแหน่งอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้ลาศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐ และสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2519 กลับมารับราชการตามเดิมโดยรับตำแหน่งกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อีกตำแหน่งหนึ่ง จนได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ ในปี พ.ศ. 2541 สภามหาวิทยาลัยบูรพาได้มอบปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาประวัติศาสตร์ แก่ ศาสตราจารย์ นิธิ เอียวศรีวงศ์

ศ.ดร.นิธิ เข้าโครงการลาเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดใน พ.ศ. 2543 หลังจากสิ้นภาระการสอนในระบบมหาวิทยาลัยปกติ เขายังคงเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการแสดงความคิดสู่สังคมผ่านมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งได้บุกเบิกมาก่อนหน้านี้แล้ว และผ่านรูปแบบบทความทางหนังสือพิมพ์ นิตยสารอยู่เป็นประจำ ในการออกเสียงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นิธิยังเป็นผู้หนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว (ที่มาประวัติ : วิกิพีเดีย/ภาพ : ประชาไท,อินเทอร์เน็ต)

ทางด้าน ส.ศิวรักษ์ (สุลักษณ์ ศิวรักษ์)  นักวิชาและนักคิดชื่อดัง ได้โพสต์ข้อความอาลัยในเฟซบุ๊กว่า

[ แด่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ]
นิธิ เอียวศรีวงศ์ ไม่ได้เป็นเพียงนักประวัติศาสตร์ ซึ่งมีลูกศิษย์ลูกหามาก และลูกศิษย์เขาแต่ละคนก็มีความรอบรู้ประวัติศาสตร์
นิธิเขียนหนังสือหลายเล่มอย่างน่าอ่าน น่าทึ่ง น่าวิจารณ์
นอกเหนือไปจากการเป็นอาจารย์ เป็นนักเขียนแล้ว นิธิยังเป็นปัญญาชน ซึ่งอาจารย์ที่เป็นปัญญาชนนั้นมีน้อย นิธิเป็นปัญญาชนซึ่งยอมเสี่ยงชื่อเสียงเกียรติยศ เพื่อแสดงทัศนะต่อต้านเผด็จการ ยืนหยัดอยู่ฝ่ายประชาธิปไตย
นิธิเป็นคนสำคัญที่ตั้งมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขึ้น อุดหนุนชาวบ้านร้านตลาดให้เขาได้รับปริญญาเอกไม่แพ้กับคนอื่นๆ น่าเสียดายที่มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนนั้นมีอันเป็นไป เพราะเหตุผลส่วนตัว
นิธิได้ใช้ชีวิตทั้งหมดเพื่อส่วนรวม เพื่อลูกศิษย์ลูกหา และเพื่อประชาชน ไม่เฉพาะคนไทย คนใดก็ตามที่สนใจเรื่องเมืองไทย สนใจเรื่องอดีตของไทย สนใจในความเป็นไปของไทย จะต้องนึกถึงนิธิตลอดไป
ส. ศิวรักษ์

 

Facebook Comments

Related post