Digiqole ad

มรภ.สุราษฎร์ธานี พัฒนาห้องเรียน“วิศวกรสังคม” วช.หนุนการนำวิจัยและนวัตกรรม ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม

 มรภ.สุราษฎร์ธานี พัฒนาห้องเรียน“วิศวกรสังคม” วช.หนุนการนำวิจัยและนวัตกรรม ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม
Social sharing

Digiqole ad

มรภ.สุราษฎร์ธานี พัฒนาห้องเรียน“วิศวกรสังคม” วช.หนุนการนำวิจัยและนวัตกรรม ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการบ่มเพาะวิศวกรสังคมด้วยวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัยแก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในการบ่มเพาะวิศวกรสังคมด้วยกระบวนการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อแก้โจทย์ปัญหาเชิงพื้นที่ โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เลือกประเด็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทักษะกระบวนการวิศวกรสังคมเพื่อนำความรู้มาพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยวิศวกรสังคมเข้ามามีส่วนร่วมกันพัฒนาโจทย์และการปฏิบัติงานร่วมกับท้องถิ่นได้อย่างมีส่วนร่วม เป็นต้นแบบที่ดีในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่

 

ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่า หัวหน้าโครงการวิจัย ได้กล่าวถึง การดำเนินงานวิจัยโครงการห้องเรียนวิศวกรสังคม สำหรับพัฒนานักศึกษาและการยกระดับ นวัตกรรมชุมชนท้องถิ่น ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม ว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ส่งเสริมและพัฒนาให้นักศึกษามีคุณลักษณะที่สำคัญ 4 ประการตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ได้แก่
1. มีทัศนคติที่ดีและถูกต้องต่อบ้านเมือง
2. มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง
3. มีงานทำมีอาชีพ
4. เป็นพลเมืองดี

เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะวิศวกรสังคม 4 ประการ คือ นักคิด นักสื่อสาร นักประสาน และนักนวัตกร และสร้างนวัตกรรมให้แก่ชุมชนท้องถิ่นโดยการขับเคลื่อนของนักศึกษาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นของ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

พร้อมนี้ คณะได้เยี่ยมชมผลงานของวิศวกรสังคมในโครงการที่ร่วมดำเนินการกับวิสาหกิจชุมชน ได้แก่
– ยาดมสมุนไพรจากบ้านคีรีสมุนไพร ตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัด สุราษฎร์ธานี
– ผลิตภัณฑ์ก้านปาล์มจักสาน ตำบล บ้านยาง อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ทั้งนี้ คณะผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. คณะนักวิจัย และนักศึกษาได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากการดำเนินของโครงการเพื่อให้มีการต่อยอดความรู้ที่ยั่งยืนในอนาคต

Facebook Comments


Social sharing

Related post