Digiqole ad

มจพ. เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืน ครั้งที่ 8

 มจพ. เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืน ครั้งที่ 8
Social sharing

Digiqole ad

วันที่ 15 ก.พ.67 เวลา 09.30 น. ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ  เซี่ยงฉิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เป็นประธานกล่าวต้อนรับผู้บริหารและผู้แทนมหาวิทยาลัยเครือข่ายยั่งยืนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8  (The 8th  Annual Conference of Sustainable University Network of Thailand) ภายใต้ “Theme : Actions toward a carbon neutral society” รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพงศ์ มกระธัช ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาสิ่งแวดล้อมและกายภาพ มจพ. กล่าวรายงาน  โดยมีคุณอภิชัย  อร่ามศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ให้เกียรติเปิดการประชุมวิชาการประจำปีเครือข่ายฯ พร้อมด้วย ดร.ชนะ ภูมี Vice President Sustainability SCG นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) คุณชัยวุฒิ หลักเมือง ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.กิตติคุณ รุ่งเรือง ประธานคณะกรรมการบริหารเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษชัย ศรีบุญมา รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนากิจการมหาวิทยาลัยเพื่อความยั่งยืน ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม ชั้น 3 อาคาร 50 ปี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จังหวัดนนทบุรี

 

 

ช่วงบ่ายศึกษาดูงาน “โครงการสามคลอง สามราชธานี” ได้แก่ 1. พระพุทธบาทลอยฟ้า พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดบางอ้อยช้าง ตามรอยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชุมชนบ้านส่วยอ้อย 2. สำเร็จบุญหนักศักดิ์ใหญ่ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ แดนอารยธรรมลุ่มน้ำสามคลอง สามราชธานี 3. แปลงใหญ่ทุเรียน อำเภอบางกรวย ความหลากหลายทางชีวภาพ จ.นนทบุรี 4. นกแก้วโม่ง วัดสวนใหญ่ การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่านอกเขตอุทยาน ความหลากหลายทางชีวภาพ จ.นนทบุรี 5. ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ณ สำนักงานกลาง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

 

โดยในปีนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงานระหว่างวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2567 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย เป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรม ที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภาคส่วนการศึกษา โดยเป็นต้นแบบให้กับภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคมไทย และการประกาศเจตนารมณ์ของสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทยในการขับเคลื่อนนโยบาย Carbon Neutrality โดยตั้งเป้าหมายการดำเนินการภายในปี ค.ศ. 2040 ร่วมกัน

ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหาสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลงมาก และรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาวิกฤติสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำและขยะ ส่งเสริมการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเพิ่มพื้นที่ป่า ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงถือกำเนิดเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยในขณะนั้น มีมหาวิทยาลัยจำนวน 16 แห่ง เป็นสมาชิกและเป็นมหาวิทยาลัยผู้ก่อตั้ง ได้ลงนามความร่วมมือเข้าร่วมเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย ปัจจุบันมีเครือข่ายรวมทั้งหมด 47 มหาวิทยาลัย ที่ผ่านมาเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายในมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง การจัดประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืน แห่งประเทศไทยครั้งนี้ ทีมงาน Green KMUTNB และเครือข่ายมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง มีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมให้เกิดการ จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยทั่วประเทศ มีกิจกรรมจัดการประชุมเครือข่ายและนำเสนอผลงานด้านความยั่งยืน การประกวดโครงงานและนวัตกรรมความยั่งยืนของ นิสิต นักศึกษา กิจกรรมการบรรยายเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมการพัฒนาที่ยั่งยืนจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และกิจกรรมการศึกษา ดูงานตามเส้นทาง “โครงการ      3 คลอง 3 ราชธานี” และมีพิธีปิดการประชุม เพื่อส่งมอบธงให้กับเจ้าภาพการจัดประชุมวิชาการประจำปีเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 9 โดยมีผู้เข้าร่วมงานทั้ง คณาจารย์ บุคลากร นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชน เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ของชาติ และ Sustainable Development Goals, SDGs ขององค์การสหประชาชาติ และยังเป็นการช่วยให้ประเทศไทยบรรลุการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero CO2 2050) ตามนโยบายของประเทศไทยและสหประชาติ ในปี ค.ศ. 2050 เพื่อให้เป็นต้นแบบแก่สังคมและประเทศชาติต่อไป

Facebook Comments


Social sharing

Related post