Digiqole ad

“พุทธบูชานาคสัมพัจฉร์ ๒๕๖๗” พระพุทธรูปที่มีคติการสร้างเกี่ยวข้องกับพญานาค ต้อนรับปีนักษัตร “มะโรง”    

 “พุทธบูชานาคสัมพัจฉร์ ๒๕๖๗” พระพุทธรูปที่มีคติการสร้างเกี่ยวข้องกับพญานาค ต้อนรับปีนักษัตร “มะโรง”    
Social sharing

Digiqole ad

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 413 ระหว่างวันที่ 5-11 มกราคม 2567

หน้า 34-35 สกู๊ปพิเศษ

พุทธบูชานาคสัมพัจฉร์ ๒๕๖๗

คติการสร้างพระพุทธรูป เป็นการสร้างขึ้นเพื่อแทนคุณแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกอบด้วย พระมหากรุณาธิคุณ (มีคุณด้วยความเมตตากรุณาต่อสัตว์โลก) พระวิสุทธิคุณ (มีคุณด้วยจิตวิสุทธิ์) และพระปัญญาธิคุณ (มีคุณด้วยปัญญา) พระพุทธรูปจึงมิใช่รูปเสมือนจริง แต่สร้างขึ้นตามอุดมคติ ตามลักษณะของมหาบุรุษ ผู้บำเพ็ญบารมีพร้อมสมบูรณ์ กอปรด้วยความงาม ตามสุนทรียภาพหรือความรู้สึกถึงความงดงามของช่างฝีมือแต่ละสมัย พระพุทธรูปแต่ละองค์ที่สร้างขึ้น ต่างมีคุณลักษณะเปี่ยมด้วยสรรพสิริสวัสดิมงคลต่าง ๆ อันเป็นเครื่องน้อมนำให้พุทธศาสนิกชนยึดมั่น ศรัทธาต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นกุศโลบายให้ตรึกถึงพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงอันเป็นหนทางพ้นทุกข์ภัยในวัฏสงสาร

เนื่องในเทศกาลปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๗ ปีมะโรงนักษัตร กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้อัญเชิญพระพุทธรูปที่มีคติการสร้างเกี่ยวข้องกับพญานาค  มีพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ตามตำนานปั้นหล่อจากต้นแบบพญานาคแปลงนิมิตสำแดงพระพุทธลักษณะ เป็นพระประธาน พร้อมด้วยพระพุทธรูปอีก ๙ องค์ ที่จัดแสดงและสงวนรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จำนวน ๗ องค์ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี ๑ องค์ และวัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ จำนวน ๑ องค์ มาประดิษฐานให้ประชาชนได้สักการบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคลในวาระแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันพฤหัสบดีที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ถึงวันอาทิตย์ที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗  พระพุทธรูปทั้ง ๑๐ องค์ ประกอบด้วย

๑. พระพุทธสิหิงค์

แบบศิลปะ/อายุสมัย        ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๑ (๕๐๐ ปีมาแล้ว)

ชนิด                              สัมฤทธิ์  กะไหล่ทอง

ขนาด                            สูงพร้อมฐาน ๑๓๕ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๖๓ เซนติเมตร องค์พระสูง ๗๙ เซนติเมตร

ประวัติ                          สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (วังหน้ารัชกาลที่ ๑) ทรงอัญเชิญมาจากเมืองเชียงใหม่เมื่อ พุทธศักราช ๒๓๓๘  ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล

๒. พระพิมพ์ปางมหาปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี

แบบศิลปะ/อายุสมัย        ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ (๑,๒๐๐-๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว)

ชนิด                              ดินเผา  ปิดทอง

ขนาด                            สูงพร้อมฐาน ๑๙.๕ เซนติเมตร  กว้าง ๒๑.๕ เซนติเมตร

ประวัติ                          สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

สถานที่เก็บรักษา ห้องทวารวดี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

๓. พระไภษัชยคุรุนาคปรก

แบบศิลปะ/ยุคสมัย          ศิลปะลพบุรี  พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ (๘๐๐-๙๐๐ ปีมาแล้ว)

ชนิด                             สัมฤทธิ์

ขนาด                            สูงพร้อมฐาน ๖๐ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๒๗.๕ เซนติเมตร

ประวัติ                          กรมศิลปากรซื้อมาจากพิพิธภัณฑ์ของหม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ สุประดิษฐ์ เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙

สถานที่เก็บรักษา ห้องศิลปะลพบุรี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

๔. พระรัตนตรัยมหายาน

แบบศิลปะ/ยุคสมัย    ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๘ (๘๐๐ ปีมาแล้ว)

ชนิด                        ศิลา

ขนาด                      สูง ๓๕.๕ เซนติเมตร กว้าง ๓๑ เซนติเมตร

ประวัติ                     สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

สถานที่เก็บรักษา        คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี

๕. พระพุทธรูปปางมารวิชัย

แบบศิลปะ/ยุคสมัย          ศิลปะอยุธยาตอนกลาง พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ (๔๐๐-๕๐๐ ปีมาแล้ว)

ชนิด                             สัมฤทธิ์

ขนาด                            สูงพร้อมฐาน ๔๓ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๑๑.๒ เซนติเมตร

ประวัติ                          เป็นของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เดิมอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร

สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

๖. พระบัวเข็ม

แบบศิลปะ/ยุคสมัย          ศิลปะพม่า พุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๔ (๒๐๐-๔๐๐ ปีมาแล้ว)

ชนิด                             ไม้ลงรักปิดทอง

ขนาด                            สูงพร้อมฐาน ๑๕ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๗.๓ เซนติเมตร

ประวัติ                          สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

๗. พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์นาคปรก

แบบศิลปะ/ยุคสมัย          ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ (๑๐๐ ปีมาแล้ว)

ชนิด                             งาช้าง ไม้ลงรักปิดทองประดับกระจก

ขนาด                            สูง ๑๒๓ เซนติเมตร

ประวัติ                          สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

๘. พระพุทธรูปนาคปรกไม้จันทน์

แบบศิลปะ/ยุคสมัย          ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕ (ประมาณ ๑๐๐-๒๐๐ ปีมาแล้ว)

ชนิด                             ไม้ ลงรักปิดทอง ประดับกระจก

ขนาด                            สูงพร้อมฐาน ๔๐.๕ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๙ เซนติเมตร

ประวัติ                          ราชบัณฑิตยสภานำมาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานเมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๙

สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

๙. พระพุทธรูปนาคปรกนอระมาด

แบบศิลปะ/ยุคสมัย          ศิลปะรัตนโกสินทร์ (ท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) พุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕

(ประมาณ ๑๐๐-๒๐๐ ปีมาแล้ว)

ชนิด                             นอระมาด

ขนาด                            สูงพร้อมฐาน ๑๘.๕ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๖.๕ เซนติเมตร

ประวัติ                          นายซาทองยศ ภูดวงศรี บ้านเสียว ตำบลอุ่มเม่า อำเภอตลาด จังหวัดมหาสารคาม มอบให้เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๕

สถานที่เก็บรักษา พระตำหนักแดง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

๑๐. พระนิรโรคันตราย

แบบศิลปะ/ยุคสมัย          ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช ๒๕๔๕

ชนิด                             โลหะผสมปิดทอง

ขนาด                            สูงพร้อมฐาน ๓๗ เซนติเมตร  หน้าตักกว้าง ๑๕ เซนติเมตร

ประวัติ                          สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพันณวดี ทรงพระราชศรัทธา พระราชทานประจำวัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร เมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๖

สถานที่เก็บรักษา วัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 413 ระหว่างวันที่ 5-11 มกราคม 2567

หน้า 34-35 สกู๊ปพิเศษ

พุทธบูชานาคสัมพัจฉร์ ๒๕๖๗

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ ๔๑๓ ระหว่างวันที่ ๕-๑๑ มกราคม ๒๕๖๗
https://book.bangkok-today.com/books/dyuq/index.html#p=34
(สามารถพลิกอ่านได้เหมือนหนังสือปกติ)

 

 

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post