Digiqole ad

พลิกโฉมเครือข่ายออปติคัลของประเทศไทยเพื่ออนาคต

 พลิกโฉมเครือข่ายออปติคัลของประเทศไทยเพื่ออนาคต
Social sharing

Digiqole ad

นับแต่การเปิดตัวแผนยุทธศาสตร์ชาติ ไทยแลนด์ 4.0 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญอย่างต่อเนื่องในการสร้างเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (value-based economy) ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านการเข้าถึงและความเร็วอินเตอร์เน็ตซึ่งกระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัลแบบยั่งยืนทั่วทุกภาคส่วนต่าง ๆ อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมของผู้บริโภคและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

อุปสงค์ด้านบริการทางดิจิทัลจะเกิดขึ้นทั่วทุกแห่งหน ไม่ว่าจะเพื่อการปรับปรุงประสบการณ์สำหรับผู้ใช้และลูกค้าในภาคส่วนที่ให้ความสำคัญในเรื่องดิจิทัลเป็นอันดับแรก (digital-first sector) อย่าง อีคอมเมิร์ซ หรือการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เป็นต้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการขยายเพื่อส่งมอบการเชื่อมต่อประสิทธิภาพสูงสำหรับการเติบโตในยุคต่อไปของประเทศไทย โดยยังต้องเห็นผลในเรื่องของความยั่งยืนมากขึ้น จึงต้องฝากความหวังไว้กับเครือข่ายออปติคัลรุ่นต่อไปที่เป็นผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSP) ของประเทศไทยซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการส่งมอบบริการเหล่านี้

เปิดประตูสู่พรมแดนใหม่ของการขยายเครือข่ายและความยั่งยืน

เครือข่ายไฟเบอร์ออปติคเป็นรากฐานที่จำเป็นสำหรับสังคมและธุรกิจของประเทศไทยเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตแบบดิจิทัล  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อให้สอดรับกับความต้องการที่สำคัญเกี่ยวกับแบนด์วิดท์ ความหน่วง และความเสถียร ที่ถูกปรับและพัฒนาให้ดีขึ้นเพื่อเสริมศักยภาพอย่างมหาศาลให้กับการใช้งานที่ล้ำสมัยหลาย ๆ อย่าง

ผู้คนและองค์กรมากมายต่างปรารถนาที่จะทำอะไรได้มากขึ้นบนอินเตอร์เน็ต อย่างไรก็ดีความท้าทายที่สำคัญสำหรับผู้ให้บริการด้านการสื่อสารในเรื่องของการจัดการวิวัฒนาการเครือข่าย คือการเพิ่มขยายความจุของเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการให้บริการแบนด์วิดท์สูง ขณะเดียวกันทั้งหมดนี้ก็จะช่วยลดต้นทุนความเป็นเจ้าของ (total cost of ownership: TCO) ที่ประกอบด้วย ค่าอุปกรณ์ ค่าไฟฟ้า และค่าดำเนินการ อีกด้วย

ในขณะเดียวกัน อุปสงค์สำหรับแบนด์วิดท์ยังคงเติบโตขึ้นแบบทวีคูณอย่างต่อเนื่อง และไม่มีสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าจะลดน้อยลงแต่อย่างใด

การเติบโตที่ว่านี้ยังได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากการวางโครงข่ายไฟเบอร์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับระบบเครือข่าย Edge ตลอดจนความเร็วในการให้บริการที่เพิ่มขึ้นสำหรับ 5G, การเชื่อมต่อผู้บริโภคและธุรกิจ และการเติบโตอย่างต่อเนื่องของการบริโภควิดีโอ เช่นเดียวกับการใช้งานเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น เทคโนโลยีเสมือนจริง (VR/ AR) และยานพาหนะอัตโนมัติ ปริมาณการใช้งานเครือข่ายทั้งหมดนี้กระตุ้นความต้องการความเร็ว IP router interface ที่เร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม อย่างเทคโนโลยีเครือข่ายอีเธอร์เน็ต 400 กิกะบิต และ 800 กิกะบิต (400GE/800GE) ในทางกลับกันการใช้งานดังกล่าวจำเป็นต้องมีความยาวคลื่นแบบโคฮีเร้นท์ที่จะทำงานด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นและมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น เพื่อให้การส่งผ่านข้อมูลทั่วทั้งเขตเมืองหลวง เครือข่ายระยะไกล และเครือข่ายใต้ทะเลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไปพร้อม ๆ กัน

ท้ายที่สุด ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารยังต้องพิจารณาอย่างจริงจังในมิติด้านความยั่งยืนด้วย อนึ่ง โลกของเราอยู่ภายใต้แรงกดดันด้านสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ประสิทธิภาพของเครือข่ายที่เพิ่มขึ้นควรต้องลดการบริโภคพลังงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณาต่อความตื่นตัวอย่างมากจากทั่วโลกต่อประเด็นการจัดหาพลังงาน ซึ่งยังนำไปสู่ความไม่แน่นอนของการกำหนดราคา โซลูชันที่ช่วยลด “การใช้พลังงานต่อบิต” (power per bit) ที่กลายเป็นประเด็นสำคัญมากขึ้น ด้วยเหตุปัจจัยเหล่านี้ จำเป็นต้องลดต้นทุนการดำเนินการเครือข่ายลงอย่างมากขณะที่ยังต้องคำนึงถึงการลดความเสี่ยงด้วย

เร็วขึ้น ไกลขึ้น รักษ์โลกมากขึ้น

ชิป super-coherent Photonic Service Engine รุ่นที่หกของโนเกีย ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ในด้านการเพิ่มขยายเครือข่าย รวมทั้งประสิทธิภาพและความยั่งยืนให้กับเครือข่ายการขนส่งแบบออปติคัล

โดยชิปล่าสุดนี้ช่วยให้การเชื่อมต่อแบบ chip-to-chip interface ที่สามารถปรับใช้เป็นคู่เพื่อจ่ายไฟให้กับโซลูชัน 2.4Tb/s coherent transport solution (เครือข่ายออปติคัลแรกในอุตสาหกรรม) รวมถึงเทคโนโลยีเครือข่ายอีเธอร์เน็ต 400 กิกะบิต และ800 กิกะบิต มีประสิทธิภาพมากขึ้นทำให้ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารสามารถมอบบริการแบบความเร็วสูงให้แก่ลูกค้าได้ ด้วยสมรรถนะที่เพิ่มขึ้นถึงสามเท่าและความสามารถในการเชื่อมต่อได้ไกลถึง 2,000 กิโลเมตรขึ้นไปจึงทำให้ครอบคลุมทั้งเครือข่ายระยะไกลและเคเบิ้ลข้ามมหาสมุทร ทำให้แพลตฟอร์มที่เปิดใช้งานด้วยชิปประมวลผลใหม่นี้สามารถส่งข้อมูลของบริการ 800GEในเมืองหลวง ไปยังแอปพลิเคชันการเชื่อมต่อระหว่างศูนย์ข้อมูล (Data Center Interconnect: DCI) ได้

โดยสรุป ชิปใหม่ของโนเกียนี้จะช่วยลดจำนวน Coherent Optic ซึ่งเป็นที่ต้องการสำหรับการขนส่งระยะไกลลงได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ผู้ดำเนินการเครือข่ายสามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและต้นทุนความเป็นเจ้าของลงได้ (Total cost of ownership หรือ TCO)

ชิปประมวลผลตัวใหม่นี้นอกจากจะช่วยให้เครือข่ายใช้พลังงานในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นแล้ว ยังยั่งยืนและรักษ์โลกอีกด้วย ชิปตัวใหม่นี้จะลดการจ่ายไฟฟ้าต่อบิตลงได้มากกว่ารุ่นปัจจุบันถึง 40 เปอร์เซ็นต์ เมื่อใช้ประโยชน์จาก Digital Signal Processor (DSP) หรือเครื่องประมวลผลสัญญาณแบบดิจิทัลรุ่นล่าสุด ที่ทำงานแบบบูรณาการร่วมกับชิปซิลิคอนที่ส่งข้อมูลด้วยแสง (Silicon Photonics) นอกจากนี้ยังสามารถนำไปปรับใช้งานให้มีความจุเพิ่มขึ้นและใช้ Coherent Optic จำนวนน้อยลงได้อีกด้วย จึงทำให้ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารสามารถลดการบริโภคพลังงานในเครือข่ายระดับภูมิภาคและเครือข่ายระยะไกลลงได้ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ด้วยชิปตัวใหม่นี้ จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารของประเทศไทยว่าจะสามารถใช้เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการผลักดันประเทศเพื่อเพิ่มความครอบคลุมและความจุของเครือข่ายไฟเบอร์ออปติคให้สามารถตามทันความต้องการในการเชื่อมต่อความเร็วสูงที่เพิ่มมากขึ้นได้

หนทางข้างหน้า

อนาคตของประเทศไทยขึ้นอยู่กับเครือข่ายที่กำลังเกิดขึ้นว่าจะมีความจุที่มากพอและสามารถรองรับการขยายตัวในการใช้งานที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ควบคู่ไปกับการทิ้งฟุตพริ้นท์ด้านสิ่งแวดล้อมให้น้อยลงได้อย่างไร ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารสามารถตอบโจทย์ความต้องการเหล่านั้นได้ผ่านการเปิดใจสู่ขอบเขตใหม่ ๆ ของการใช้งานแบนด์วิดท์ระดับสูงที่กำลังเกิดขึ้นใหม่ โดยชิป Super-coherent optical engine รุ่นต่อไปของเรากำลังนำพาพวกเราสู่เขตแดนใหม่ของการเชื่อมต่อ ขณะเดียวกันก็ยังอยู่ในขอบเขตที่ถูกกำหนดไว้ในด้านเศรษฐศาสตร์และสิ่งแวดล้อม

ทั่วทั้งภูมิภาค ชิปเซ็ตหลากหลายรุ่นของเราได้ถูกนำไปใช้งานโดยผู้ให้บริการด้านการสื่อสารเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในอนาคตให้แก่ลูกค้าของผู้ประกอบการเหล่านั้นในด้านความหน่วงต่ำ ความจุสูง และเครือข่ายขนาดใหญ่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความเกี่ยวเนื่องกับ 5G แอปพลิเคชันคลาวด์ การเชื่อมต่อระหว่างศูนย์ข้อมูล (Data Center Interconnect: DCI) และการเชื่อมต่อของผู้ให้บริการสร้างระบบฐานข้อมูล (Webscaler connectivity) นอกจากนี้ ก็เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่ใช้วิดีโอออนไลน์และการใช้งานอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นอยู่เรื่อย ๆ

ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารของประเทศไทยกำลังเตรียมพร้อมที่จะพัฒนาเพื่อเสริมขีดความสามารถของออปติคไฟเบอร์ขั้นสูงให้สังคมและเศรษฐกิจของประเทศมีความพร้อมเพียงพอต่อยุคดิจิทัลที่กำลังจะมาถึง ความพยายามของผู้ให้บริการด้านการสื่อสารจะได้รับการสนับสนุนให้เป็นจริงได้ด้วยชิป super-coherent Photonic Service Engine รุ่นต่อไปที่จะเอื้อต่อการเติบโตในด้านการครอบคลุมและการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้งานทั่วประเทศ รวมทั้งประสิทธิภาพขั้นสูงของปฏิบัติการห่วงโซ่อุปทาน  สิ่งเหล่านี้จะช่วยปูทางสำหรับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ไทยแลนด์ 4.0 ที่การเชื่อมต่อความเร็วสูงและการเติบโตแบบองค์รวมสามารถเกิดขึ้นได้จริง ขณะเดียวกันยังช่วยลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมอีกด้วย

โดย อาเจย์ ชาร์มา ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท โนเกีย ประจำประเทศไทยและกัมพูชา

Facebook Comments


Social sharing

Related post