Digiqole ad

พรรคเพื่อไทย อภิปรายรายงานการพิจารณาศึกษาและเสนอแนะการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการประมงให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรมกับผู้ประกอบการประมงและกิจการประมงทั้งระบบ

 พรรคเพื่อไทย อภิปรายรายงานการพิจารณาศึกษาและเสนอแนะการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการประมงให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรมกับผู้ประกอบการประมงและกิจการประมงทั้งระบบ
Social sharing

Digiqole ad
พรรคเพื่อไทย อภิปรายรายงานการพิจารณาศึกษาและเสนอแนะการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการประมงให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรมกับผู้ประกอบการประมงและกิจการประมงทั้งระบบ ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายปลอดประสพ สุรัสวดี ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ และ นางเทียบจุฑา ขาวขำ สส.อุดรธานี ร่วมอภิปรายถึงการศึกษาปัญหาและผลกระทบจากการออกและบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงยังได้ศึกษาถึงกฎหมายลำดับรอง รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องรวมถึงอภิปรายถึงข้อสังเกตเพื่อนำความเห็นไปเสนอแนะแก้ไขกฎหมายดังกล่าว
.
นายปลอดประสพ สุรัสวดี ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ กล่าวสรุปผลการรายงานจากข้อเท็จจริงและสภาพปัญหาประมงฯ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้รวบรวมปัญหาจากการบังคับใช้กฏหมายหลัก กฏหมายรอง กฏหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประมวล วิเคราะห์และจัดทำข้อสังเกตเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้สรุปกรอบการพิจารณาใน 4 ขั้นตอนได้แก่
.
ขั้นตอนในการศึกษาปัญหาผลกระทบจากการออกกฎหมายและการบังคับใช้กฏหมาย
– การกำหนดอัตราโทษที่ไม่เหมาะสมรุนแรงเกินสมควร
– การกำหนดเกี่ยวกับแรงงานประมงไม่สอดคล้องกับวิถีการทำประมง
– การจำกัดเครื่องมือทำประมง วันทำประมง และระยะเวลาการทำประมงไม่สอดคล้องกับวิถีประมง
.
กฏหมายในลำดับรองที่เกี่ยวข้องกับกิจการประมง
– แก้ไขกฎหมายรองที่เกี่ยวข้องกับประมง 19 ฉบับ
.
กฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
– กฏหมายเกี่ยวกับประเด็นเรือไทย การเดินเรือ และคนประจำเรือ
– กฏหมายแรงงานประมง
– กฏหมายเกี่ยวกับการรักษาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและความมั่นคงทางทะเล
– การส่งออก นำเข้า และการตรวจสอบสินค้าประมง
.
กฏหมายว่าด้วยประมงที่ต้องแก้ไข
– แก้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558
– แก้ไขร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ฉบับคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่งพระราชบบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
– แก้ไขร่างพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 สภาผู้แทนราษฎรชุด 25 แก้ไขหมวด 10 มาตราทางการปกครองและหมวด 11 การลงโทษ
.
นอกจากนี้ นายปลอดประสพ ยังได้ฝากข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ในด้านกฏหมายและด้านนโยบายว่า
ด้านกฎหมาย ต้องแก้ไขพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยคณะกรรมาธิการได้เสนอแก้ไขทั้งสิ้น 37 มาตรา โดยเฉพาะหมวด 10 เรื่องมาตรการทางปกครอง และ หมวด 11 บทกำหนดโทษ
ด้านนโยบาย ต้องแก้ไขปัญหาแรงงานประมง อาทิ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี face scan system การรักษาทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง และความมั่นคงทางทะเล อาทิ พัฒนาส่งเสริมให้ ศรชล. มีศักยภาพและบทบาทในการเป็น Coast Guard มาตรการส่งเสริมการส่งออก นำเข้า และการตรวจสอบสินค้าประมง อาทิ การหารือและบูรณาการป้องกันและยุติการนำเข้าที่เสี่ยงต่อการประมง IUU และสวมสิทธิเป็นสินค้าไทย
.
นางเทียบจุฑา ขาวขำ สส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่าวันนี้ชาวประมงพื้นบ้าน เริ่มมีความหวังกับการแก้ไขปัญหาประมง แต่ก่อนไทยเคยติดลำดับการขายสินค้าทะเลลำดับโลก แต่เพราะกฏหมายประมงที่ออกมาบังคับใช้ในรัฐบาล คสช. โดยเร่งรีบ ขาดความรอบคอบ ไม่สอบถามความเห็นของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะที่กระทบกับพี่น้องประมงพื้นบ้าน ทั้งในเรื่องการจำกัดเครื่องมือ วันทำประมง ระยะเวลาทำประมง การกำหนดบทลงโทษที่รุนแรงเกินสมควร และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกฏหมายแรงงานประมง ที่มีโทษรุนแรงกว่ากฏหมายแรงงานอื่นทั้งที่เป็นฐานความผิดเดียวกัน ดังนั้น จึงเชื่อว่ารายงานการศึกษาครั้งนี้จะมีประโยชน์ต่อการนำไปปรับปรุงกฏหมายประมงที่กำลังจะนำเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
ที่มา : เพจพรรคเพื่อไทย
Facebook Comments


Social sharing

Related post