Digiqole ad

“ผู้ใหญ่เจี๊ยบ-นงนุช เสลาหอม” เปิดประตูต้อนรับคณะสื่อสู่วิสาหกิจชุมชนเกษตรพอเพียงบ้านห้วยขวาง สวนหลังบ้าน จ.ราชบุรี ใน”โครงการสลากสรรค์สร้างเพื่อชุมชน ปีที่ 4″

 “ผู้ใหญ่เจี๊ยบ-นงนุช เสลาหอม” เปิดประตูต้อนรับคณะสื่อสู่วิสาหกิจชุมชนเกษตรพอเพียงบ้านห้วยขวาง สวนหลังบ้าน จ.ราชบุรี ใน”โครงการสลากสรรค์สร้างเพื่อชุมชน ปีที่ 4″
Social sharing

Digiqole ad

ตลอดช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมาทางสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ได้สร้างสรรค์วิธีการและการดำเนินการ รวมถึงหาช่องทางการค้าให้กับชุมชนต่าง ๆ เพื่อเติมเพื่อช่วยในการ “ซ่อม-สร้าง-เสริม” ชุมชนให้แข็งแกร่งพร้อมที่จะเข้าสู่ยุคต่อไป ของความปกติใหม่ พร้อมทั้งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนชุมชนให้สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งสามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน นอกจากนี้ยังได้สืบสานในเรื่องเอกลักษณ์พื้นถิ่นของตนเองไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา ดังนั้นสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจึงได้เข้าไปช่วยเหลือในเรื่องของการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายและการทำแค็ตตาล็อกสินค้าสลากสรรค์สร้างเพื่อชุมชนออนไลน์ ประชาสัมพันธ์ยูทูบเบอร์ เพื่อช่วยในการสร้างรายได้ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาสังคมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

อย่างไรก็ตามสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้ดำเนิน “โครงการสลากสรรค์สร้างเพื่อชุมชน” มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2562-2564 มีโครงการที่ได้รับการพัฒนาแล้วทั้งหมด 27 ชุมชน สำหรับ ปี 2565 กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาอีก 10 ชุมชน โดยที่ผ่านมาได้รับผลการตอบรับเป็นอย่างดีจากชุมชนที่เข้าร่วมโครงการล่าสุดสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้นำคณะสื่อมวลชนเยือนวิสาหกิจชุมชนเกษตรพอเพียงบ้านห้วยขวาง สวนหลังบ้าน ตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี และเยือนสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ

ผู้ใหญ่เจี๊ยบ-นางสาวนงนุช เสลาหอม ผู้ใหญ่บ้านสายฮา แห่งบ้านห้วยขวาง ตำบลท่าผา อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี และประธานศูนย์การเรียนรู้สวนหลังบ้าน หนึ่งในชุมชุนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วม “โครงการสลากสรรค์สร้างเพื่อชุมชน ปีที่ 4” กล่าวว่า เมื่อหลายปีก่อนพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้สวนหลังบ้านเป็นทุ่งนามีการใช้สารเคมีทั่วไป จึงมีแนวคิดใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 เพื่อชาวบ้านจะได้มีรายได้เสริมเป็นการลดรายจ่ายในครัวเรือน จึงไปโน้มน้าวให้ทุกคนปลูกผักสวนครัวกินเอง แต่ช่วงนั้นชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วย โดยมองว่าเป็นเรื่องที่เหนื่อย ถึงแม้ว่าในแต่ละบ้านมีพื้นที่อยู่หลังบ้านแต่ยังไม่ยอมปลูก จึงได้ตัดสินใจนำร่องหันกลับมาพลิกฟื้นพื้นที่ตัวเองพร้อมกับนำศาสตร์พระราชาในหลวง รัชกาลที่ 9 เกี่ยวกับเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่มาปรับปรุงพื้นที่ โดยเริ่มปลูกพืชผักสวนครัว ปลูกข้าว พอได้ผลผลิตมาแล้วได้นำผลผลิตไปให้ชาวบ้านเพื่อให้เห็นของจริง แล้วจะได้เปลี่ยนความคิดกันใหม่

“กระทั่งในที่สุดทุกคนเริ่มเห็นประโยชน์และเริ่มทำตามทีละบ้าน ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านในหมู่บ้านได้ปลูกพืชผักไว้รับประทานเองแทบทุกหลังคาเรือนแล้ว กลายเป็นศูนย์รวมภูมิปัญญาของทุกคน มีการแนะนำเพิ่มเติมความรู้เข้ามาเรื่อย ๆ ทำให้มีความสุขและยังมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน จนในที่สุดได้มีหลายหน่วยงานเข้ามาศึกษาดูงานตลอด กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำสินค้าที่จะนำมาขาย พร้อมกับให้ชาวบ้านที่ปลูกพืชผัก แปรรูปต่าง ๆ มีการพูดคุยร่วมกันถึงการเปิดพื้นที่นำสินค้ามีการปลูก การแปรรูปมาวางขายกันเอง โดยที่ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางช่วงวันเสาร์-อาทิตย์”

ผู้ใหญ่บ้านหญิงคนเก่ง ยังกล่าวด้วยว่า สำหรับศูนย์การเรียนรู้หลังบ้านบนพื้นที่กว่า 7 ไร่ เกิดขึ้นจากความต้องการของผู้นำชุมชนและชาวบ้าน เพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามรอยพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยภายในศูนย์แบ่งพื้นที่ออกเป็นสระน้ำ 30 % สำหรับการเกษตรตลอดทั้งปี และฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ  60 % (นาข้าว 30 %+ปลูกผักและเลี้ยงสัตว์ 30 %) เช่น การเลี้ยงปลาเบญจพรรณ เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงเป็ดไข่ เลี้ยงไก่งวง เลี้ยงไส้เดือน เลี้ยงกบ เลี้ยงหอยขม ปลูกพืชผักสวนครัว ผลไม้ยืนต้น และพื้นที่แปลงนา พร้อมทั้งลานกิจกรรมสันทนาการให้เด็ก ๆ และครอบครัวได้สนุกสนานกันเป็นบรรยากาศที่อบอุ่น  เช่น สไลเดอร์โคลน,หอคอยชมทุ่ง,ซุ้มผักลอยฟ้า,สะพานสายรุ้ง,ทุ่งนาเพลิน,ปั้นดินให้เป็นควาย,การเล่นว่ายน้ำมะพร้าวแห้ง,การละเล่นม้าก้านกล้วยการทำไข่เค็ม,การสานปลาตะเพียน,เก็บไข่เป็ด-ไข่ไก่,เก็บผัก,ทดลองทำนา การพายเรือชมธรรมชาติ และการเล่นมวยทะเล นอกจากนี้อีก 10 % เป็นที่พักอาศัย”

ทั้งนี้โครงการสลากสรรค์สร้างเพื่อชุมชน ปีที่ 4 สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ยังได้นำคณะสื่อมวลชนเดินทางไปไหว้สักการะ “พระอู่ทองทัต” วัดประชารังสรรค์ (วัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย)พระพุทธรูปปูนปั้นที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดราชบุรี ที่มีขนาดหน้าตักกว้าง 14 เมตร สูง 19 เมตร พร้อมชมการแสดง “ฟ้อนลาวเวียง” ที่อ่อนช้อยสวยงาม  โดยลาวเวียงเป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

นอกจากนี้ยังได้เดินทางสู่เมืองโบราณ “โกสินารายณ์” หรือ “เมืองศรีศัมพูกปัฏฏนะ  ถูกสร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 18 เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าริมแม่น้ำแม่กลอง ชื่อเดิมแบบขอมๆของเมืองนี้คือสัมพูกปัฏฏนะ เป็น 1 ใน 6 เมืองที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สร้างขึ้นนอกพื้นที่กัมพุเทศ หลังได้รับชัยชนะเหนือดินแดนต่างๆบริเวณนี้ โดยมีสระน้ำขนาดใหญ่เรียกกันว่า “สระโกสินารายณ์” ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ ปัจจุบันเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นแหล่งปลาน้อยใหญ่หลากหลายสายพันธุ์

อีกทั้งยังได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ชุมชนสระโกสินารายณ์ ก่อสร้างขึ้นโดยเทศบาลเมืองท่าผา  เปิดให้เข้าชมครั้งแรกปี 2557  สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนรู้  ห้องสมุดสำหรับผู้ต้องการศึกษา และแหล่งท่องเที่ยวสำหรับประชาชน   ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเมืองโกสิ นอกจากนี้ภายในยังจัดแสดงเกี่ยวกับอารยธรรมเขมรในลุ่มน้ำแม่กลอง และเหตุการณ์ที่สระโกสินารายณ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมฟรี

ทางด้าน อ.ดร.เรืองลดา ปุณยลิขิต ผู้จัดการโครงการสลากสรรค์สร้างเพื่อชุมชนปีที่ 4 อาจารย์ประจำหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตสาขาศิลปะการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า นับเป็นความร่วมมือครั้งแรกระหว่างสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลกับมหาวิทยาลัยศิลปากร ในโครงการสลากสรรค์สร้างเพื่อชุมชน ปีที่ 4 ทางมหาวิทยาลัยฯ ทำหน้าที่ในการคัดเลือกชุมชนจาก 40 กว่าชุมชน ผ่านคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขา เพื่อให้เหลือ 10 ชุมชน คือ 1.ชุมชนนางเลิ้ง กรุงเทพมหานคร 2.ชุมชนเกาะเกร็ด จ.นนทบุรี 3.ชุมชสมหวังที่วังยาง จ.สุพรรณบุรี 4.ชุมชนบ้านแหลมใหญ่ จ.สมุทรสงคราม 5.วิสาหกิจชุมชนเกษตรพอเพียงบ้านห้วยขวาง สวนหลังบ้าน จ.ราชบุรี 6.ชุมชนบางตะบูน จ.เพชรบุรี 7.วิสาหกิจชุมชนวัลลภาฟาร์ม จ.ลพบุรี 8.ชุมชนบ้านทุ่งศรี จ.แพร่ 9.ชุมชนต้นแบบวิถีโบราณบ้านปลักแรด จ.พิษณุโลก และ 10.ชุมชนบ้านโนนดู่ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งมีอัตลักษณ์ที่น่าสนใจ

“เมื่อได้ครบ 10 ชุมชนแล้วก็ได้จัดตั้งคณะทำงานของทางมหาวิทยาลัยขึ้นมาซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญแต่ละศาสตร์มาทำงานร่วมกัน เช่น ด้านการบริหาร ดูแลการจัดการ ด้านการออกแบบ เช่น ดูแลป้ายบอกทาง การออกแบบบรรจุภัณฑ์  ด้านอาหารที่จะช่วยปรับรสชาติให้ดีขึ้นพร้อมทั้งสร้างสูตรอาหารที่มีความร่วมสมัยและทันสมัย และด้านการท่องเที่ยว ช่วยยกระดับการท่องเที่ยวของชุมชนให้ดียิ่งขึ้น มีการทำวันเดย์ทริป จากนั้นได้ลงพื้นที่ชุมชนเก็บข้อมูลและปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงร่วมกับฝ่ายสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และชุมชน กระทั่งตกผลึกเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ปรับปรุงใหม่ และเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่กลายเป็นเสน่ห์ก่อให้เกิดการสืบสานและส่งเสริม พร้อมออกสู่สายตานักท่องเที่ยว โดยเน้นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ใช้ทุกอย่างที่สามารถรียูสและรีไซเคิลได้ อีกทั้งโครงการนี้เราไม่ได้เน้นเงินสนับสนุนเป็นหลัก แต่เน้นการให้องค์ความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดความยั่งยืนได้”

อ.รัฐวิชญ์ ชัยศิริพานิช ผู้เชี่ยวชาญทางการท่องเที่ยวชุมชน วิทยากรประจำโครงการสลากสรรค์สร้างเพื่อชุมชน ปีที่ 4 กล่าวว่า ในส่วนหน้าที่หลักของตนเองจะเน้นที่การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โดยเน้นการพัฒนาภูมิปัญญาของคนชุมชนในด้านต่าง ๆ ให้เกิดเป็นองค์ความรู้อย่างเป็นระบบและสร้างอัตลักษณ์ให้โดดเด่น เพื่อที่จะยกระดับการท่องเที่ยวของชุมชนให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริหารในด้านบริการหรือด้านของสินค้าที่ปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย พร้อมทั้งเน้นเกี่ยวกับชีวภาพปลอดสารพิษและขยะรีไซเคิล ด้วย ทำให้เกิดมีรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืนเข้ามามากยิ่งขึ้น หาทางที่จะทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจแล้วเข้ามาท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง  และจะได้ดึงดูดคนที่เคยอยู่ในชุมชนแล้วออกไปทำงานนอกพื้นที่ให้กลับมารวมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันสร้าง พัฒนาบ้านของเกิดของตนเอง สามารถส่งต่อการจัดการจากรุ่นสู่รุ่นได้ นอกจากนี้ยังสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวระหว่างชุมชนอีกด้วย

อ.ภัทรนิษฐ์ ศรีบุรีรักษ์ หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการธุรกิจอาหาร คณะการจัดการธุรกิจอาหาร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ วิทยากรประจำโครงการสลากสรรค์สร้างเพื่อชุมชน ปีที่ 4 กล่าววว่า โดยหน้าที่หลักแล้วจะช่วยยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารของชุมชุนนั้น ๆ ให้มีมาตรฐานสากลให้มากขึ้น โดยจะมีการอบรมเชิงปฏิบัติการของคนในชุมชนที่เข้าร่วมในโครงการ เพื่อเก็บข้อมูลอัตลักษณ์ของอาหารในชุมชนต่าง ๆ  อย่างของชุมชนบ้านห้วยขวาง ราชบุรี พัฒนาขนมเทียนสลัดงาสมัยก่อนจะมีน้ำตาลเยิ้มออกมาที่ตัวขนมก็ได้ใส่องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์อาหารเข้าไป ซึ่งก็ได้ยืดอายุของอาหารออกไปด้วย  หอยขมหรือหอยจุ๊บเมนูยอดนิยมของชาวบ้าน ได้พัฒนาเป็นสปาเก็ตตี้ราดซอสหอยขม เป็นทางเลือกใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าได้อีกทางหนึ่ง ส่วนเครื่องดื่มมีการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากแก้วมาเป็นโอ่งมังกรเล็ก ๆ เพราะเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ของจังหวัดราชบุรี นอกจากนี้ยังปรับภูมิทัศน์ให้เกิดความประทับใจอีกด้วย เช่น สถานที่รับประทานอาหาร

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post