Digiqole ad

ผู้นำหน่วยงานให้ทุนวิจัยระดับโลกจาก 17 ประเทศเข้าร่วมประชุม “สภาวิจัยโลกระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก” จัดโดยหน่วยงานให้ทุนวิจัยไทย-ญี่ปุ่น

 ผู้นำหน่วยงานให้ทุนวิจัยระดับโลกจาก 17 ประเทศเข้าร่วมประชุม “สภาวิจัยโลกระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก”  จัดโดยหน่วยงานให้ทุนวิจัยไทย-ญี่ปุ่น
Social sharing
Digiqole ad

ผู้นำหน่วยงานให้ทุนวิจัยระดับโลกจาก 17 ประเทศเข้าร่วมประชุม สภาวิจัยโลกระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก”  จัดโดยหน่วยงานให้ทุนวิจัยไทย-ญี่ปุ่น 

หน่วยงานให้ทุนวิจัยไทย-ญี่ปุ่น จับมือเป็นเจ้าภาพจัดประชุม สภาวิจัยโลกระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก”  ครั้งที่ 22 (2022 Global Research Council – Asia Pacific Regional Meeting) โดยมีผู้นำหน่วยงานให้ทุนวิจัยระดับโลกจาก 17 ประเทศเข้าประชุม เพื่อร่วมกำหนดนโยบายและทิศทางการสนับสนุนทุนวิจัยโลก

เมื่อวันที่ 21 พ.ย.65 – .(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในการประชุม สภาวิจัยโลกระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก” ครั้งที่ 22 (2022 Global Research Council – Asia Pacific Regional Meeting) จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และหน่วยบริหารและจัดการทนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) พร้อมด้วยหน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัยรายใหญ่จากประเทศญี่ปุ่น Science and Technology Agency (JST) และ Japan Society for the Promotion of Science (JSPS)ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-23 พ.ย. 65 ที่โรงแรมโนโวเทล สยามแควร์ กรุงเทพมหานคร

ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก (รมว.อว.) กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม โดยกล่าวว่าการประชุมครั้งนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่เกิดขึ้นหลังจากการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคที่ไทยเป็นเจ้าภาพประสบความสำเร็จอย่างงดงาม แสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการจัดประชุมนานาชาติในประเทศไทย โดยการประชุมเรื่องการวิจัยก็นับเป็นเรื่องสำคัญ เพราะประเทศไทยประกาศจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วให้ได้ภายใน 15 ปีข้างหน้า กระทรวง อว. มุ่งสนับสนุนให้คนไทยทุกคนเป็นนักวิจัย ทั้งที่เป็นนักวิจัยมืออาชีพและนักวิจัยมือสมัครเล่น โดยใช้ประโยชน์จากการวิจัยในเรื่องต่างๆ ทั้งในทางวิชาการขั้นสูงและในวิถีชีวิตประจำวัน เหมือนที่ ตนเองได้ฝึกปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่นการวิจัยเรื่องการทำงานให้ดี ประสบความสำเร็จ

นอกจากนั้น รมว.อว.ยังกล่าวปาฐกถาแสดงความสำคัญของความเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ที่จะขับเคลื่อนให้เกิดผลกระทบวงกว้างต่อสังคม โดยเน้นย้ำความสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สามารถโตได้ด้วยเศรษฐกิจสองขา ขาแรกคือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอีกขาคือเศรษฐกิจสร้างสรรค์  ซึ่งทั้งสองขานี้จะนำพาให้ประเทศต่างๆ เจริญก้าวหน้าได้เมื่อเกิดการทำงานร่วมกันที่เป็นสหวิทยาการ  ตัวอย่างเช่น งานวิจัยเรื่องดินแดนสุวรรณภูมิที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมากว่า 2,500-3,000 ปี เป็นการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น เทคโนโลยีภาพถ่ายทางอากาศขั้นสูง (LiDAR) เพื่อวิเคราะห์สภาพทางกายภาพของโบราณสถานทีถูกปกคลุม มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ถือเป็นการพลิกหน้าประวัติศาสตร์ของไทยว่าเราอยู่ในดินแดนที่เก่าแก่มาหลายพันปี มิได้อายุเพียง 700 ปีตามที่เคยรับรู้มาจากหนังสือเรียนทั่วไป

สภาวิจัยโลกเป็นการรวมตัวของหน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัยจากทั่วโลกที่ริเริ่มมาจาก US National Science Foundation (NSF) เมื่อปี พ.ศ.2555 ปีนี้ถือเป็นปีแรกในหน้าประวัติศาสตร์ที่หน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัยของประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการจัดประชุมสภาวิจัยโลกระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีผู้นำจากหน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัยชั้นนำระดับโลกจาก 17 ประเทศ ได้แก่ กาตาร์ สาธารณรัฐเกาหลี ซาอุดอารเบีย ญี่ปุ่น ติมอร์-เลสเต ไทย นิวซีแลนด์ บราซิล ฟิลิปปินส์สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ เวียดนาม ศรีลังกา อินโดนีเซีย อิหร่าน และอิตาลี เข้าร่วมประชุม โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเตรียมความพร้อมของหัวข้อและกรอบการประชุมสำหรับการประชุมประจำปีที่ผู้นำหน่วยงานให้ทุนจากทั่วโลกจะรวมตัวกันที่ประเทศเนเธอร์แลนด์กลางปีหน้า  โดยเน้น 2 หัวข้อหลักได้แก่ 1.เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และ 2.เรื่องรางวัลและกระบวนการในการให้การยอมรับนักวิจัยที่มีบทบาทในการสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ(Reward and Recognition Mechanism for Researchers)

ขณะที่ รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่าสำหรับประเทศไทยได้มีการปฏิรูประบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมาตั้งแต่ปี 2562 หรือประมาณ 3 ปีที่แล้ว โดยตอนนี้มีหน่วยบริหารและจัดการทุน 9 แห่ง ซึ่ง สกสว.เป็นผู้ประสานงานในระดับประเทศ และจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงาน ประเทศไทยได้มุ่งเน้นการขับเคลื่อนในด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือBCG การประชุมในครั้งนี้ประกอบด้วยหน่วยงานให้ทุนหลักด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมจากทั่วโลก ที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานร่วมกัน ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดระหว่างหน่วยงานจัดหาเงินทุนทั่วโลก การประชุมระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของสภาวิจัยโลกได้กลายเป็นเวทีสำคัญสำหรับหน่วยงานที่ให้ทุนสนับสนุนในการทำงานร่วมกัน เปิดโอกาสให้ร่วมอภิปรายถึงหัวข้อที่น่าสนใจร่วมกันและประเด็นที่มีความสำคัญในระดับภูมิภาค ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์ ข้อมูล และแนวคิด ที่จะชี้ให้เห็นทิศทางในอนาคตของการวิจัยและนวัตกรรมของภูมิภาค และความสามารถในการวิจัยนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับภูมิภาคและระดับโลกที่ต้องก้าวไปในทิศทางเดียวกัน

โดยในที่ประชุมในครั้งนี้ ประเทศไทยได้ยกตัวอย่างการทำงานของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ของการสนับสนุนที่เน้นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้เสียทุกระดับลงไปถึงเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่ สร้างผู้ประกอบการในพื้นที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากกว่า 6,000 ราย สร้างรายได้กว่าสองร้อยล้านบาทให้แก่ชุมชนทั่วประเทศ โดยหวังว่าโมเดลการสนับสนุนทุนแบบสหวิทยาการที่ยึดโยงการทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกระดับนี้จะเป็นอีกหนึ่งโมเดลที่หน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัยทั่วโลกจะได้หยิบยกไปพิจารณา และขยายผลในที่ประชุมประจำปีสภาวิจัยโลกที่ประเทศเนเธอร์แลนด์กลางปีหน้าได้ และเห็นได้ชัดเจนว่าการเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดประชุมครั้งนี้ของสกสว.พร้อมด้วย วช.และบพค. ตอกย้ำให้เห็นถึงศักยภาพและบทบาทของประเทศไทยในเวทีโลก เป็นประโยชน์และโอกาสอันดีต่อระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ที่จะได้เรียนรู้จากประเทศสมาชิกรวมถึงได้แบ่งปันประสบการณ์ให้กับประเทศสมาชิกอื่น วิธีการทำงานร่วมกันเช่นนี้ จะทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหาที่ประสบร่วมกันในระดับโลได้ดียิ่งขึ้นอีกทั้งจะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการประชุมประจำปี GRC ครั้งที่ 11 ในปี 2023 ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ต่อไป

 

การประชุม “สภาวิจัยโลกระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก” จัดโดยหน่วยงานให้ทุนวิจัยไทย-ญี่ปุ่น มีผู้นำหน่วยงานให้ทุนวิจัยระดับโลกจาก 17 ประเทศเข้าประชุม

Global funding leaders convene to discuss global funding directions at the

2022 Global Research Council Asia-Pacific Regional Meeting on 21st – 22nd November 2022, Bangkok, Thailand

Thailand Science Research and Innovation (TSRI) together with the National Research Council of Thailand (NRCT), the Program Management Unit for Human Resources & Institutional Development, Research and Innovation (PMU-B) and in collaboration with two Japanese research funding agencies namely Japan Science and Technology Agency (JST) and Japan Society for the Promotion of Science (JSPS) jointly host the 2022 Global Research Council Asia-Pacific Regional Meeting from 21st -23rd November 2022 in Bangkok.  For the first time, Thailand selected to be the host country of the GRC Asia Pacific Regional Meeting. A hundred of the global funding leaders from seventeen countries convene at this event. These include but not limited to Brazil, China, Indonesia, Iran, Italy, Japan, Myanmar, New Zealand, the Philippines, Qatar, Saudi Arabia,Singapore, South Korea, Sri Lanka, Thailand, Timor Leste, and Viet Nam.

The goal of the meeting is to provide a platform where global funding leaders in particular from Asia-Pacific region could share and exchange their practice. The participants will go through the topics that are carried out from the Global Research Council Annual General Meeting in Panama last June. These include the issues like the climate changes, impact oriented reward and recognition mechanism for researchers in particular during the post-COVID 19, and multilateral collaboration workstreams. As the national budget policy body to promote Thailand’s science, research, and innovation, TSRI together with NRCT, the current GRC Asia-Pacific Governing Board; and the PMU-B will assure that Thailand could plug in to their multilateral collaboration workstreams.

At the meeting, His Excellency Prof. Dr. Anek Laothamatas, Minister of Higher Education, Science, Research, and Innovation (MHESI) highlighted the importance of research and the policy of MHESI to support Thailand’s goal of becoming a developed country within 15 years with the strategy of promoting Thailand to be a “researching nation” – Thai people should be able to reap the benefits of research both academically and in everyday life. The Minister also emphasized how science, social science, humanity and arts should go hand in hand to drive high-impact research. He also touched on the Suvarnabhumi studies, one of the five pillars under the Thailand Academy of Social Sciences, funded mainly by NRCT. Through the Suvarnabhumi Studies, it allows us to reconceive and find more of our history. Thailand’s history could date back to 2,500-3,000 years ago, not 700 years as we often see in high school textbooks. Without science and technology such as LiDAR or Carbon dating technology, it would not be possible to trace back to where we were, said the Minister.

Another highlight that the Thai host demonstrated is a showcase of the Program Management Unit for Area-Based Development (PMU-A) that discusses the success of our funding scheme to promote the transdisciplinary research. PMU-A has partnered with universities, local administrative officers and other stakeholders to develop a culture-based economy, resulting in the creation of 6,000 cultural community enterprises, contributing to THB 200 million revenue to communities across the country.

The input from this meeting will be shared and reported at the next Annual Meeting scheduled on May 29th – June 3rd, 2023 in the Netherlands. Thus, this GRC Asia Pacific Regional meeting becomes a good opportunity for the funding agencies and key stakeholders under our national science, research, and innovation ecosystem to learn and share our experiences with other member countries. After all, this could lead to a global policy framework resulting in higher-impact research in the future..

 

Facebook Comments

Related post